คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ รับข้อเสนอเอกชน เตรียมพิจารณาปรับเงื่อนไขผู้ขอรับบัตรมัคคุเทศก์อาชีพเหลือแค่อนุปริญญา หวังขยายฐานการผลิตบุคลากรที่มีความชำนาญด้านภาษาให้เพิ่มขึ้นรองรับตลาดนักท่องเที่ยวเติบโต กระทรวงท่องเที่ยวฯรับลูก เตรียมส่งฝ่ายกฎหมายตีความ ก่อนพิจารณาข้อสรุปเดือนหน้า
ในการประชุมคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งมี นายสมบัติ คุรุพันธ์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เป็นประธาน มีกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม นายวิชิต ประกอบโกศล นายกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว สัมพันธ์ไทย-จีน และกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กล่าวว่า ในที่ประชุมภาคเอกชนได้เสนอให้มีการผ่อนปรนวุฒิการศึกษาให้แก่ผู้ต้องการสอบรับบัตรมัคคุเทศก์ให้เริ่มต้นที่ระดับอาชีวศึกษา หรือ อนุปริญญา โดยมีใบรับรองการศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของภาษาต่างประเทศ ซึ่งเป็นการปรับลดวุฒิลงจากปัจจุบันที่จะต้องใช้วุฒิขั้นต่ำปริญญาตรี
***ส่งฝ่ายกฎหมายตีความเตรียมสรุปครั้งหน้า***
ทั้งนี้ เพราะเห็นว่า อาชีพมัคคุเทศก์ หรือ ไกด์ ไม่จำเป็นต้องเรียนสูงถึงระดับปริญญาตรี แต่ควรดูเรื่องของความชำนาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะเรื่องความเชี่ยวชาญภาษา และ มีหัวใจที่รักงานบริการ ซึ่งหากกระทรวงการท่องเที่ยวสามารถผ่อนปรนกฎบังคับประเด็นนี้ได้ จะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ผู้จบระดับอนุปริญญาอีกมากมาย และยังสามารถทำให้มีบุคลากรที่ชำนาญด้านภาษามาให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ประชุมได้รับไว้พิจารณา โดยจะนำบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ในเรื่องของวุฒิการศึกษาไปให้ฝ่ายกฎหมายตีความ และนำกลับมาหารืออีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 21 ก.พ.54 หากสามารถแก้ไขโดยกระทรวงได้ รวมถึงพิจารณาถึงผลดีผลเสียเรียบร้อยก็จะดำเนินการทันที เพื่อเปิดกว้างแรงงานด้านนี้ให้มีเพิ่มมากขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น
สำหรับเหตุผลที่ภาคเอกชนต้องการให้ปรับลดวุฒิขั้นต่ำดังกล่าวก็เพื่อเป็นการขยายโอกาสฐานแรงงานที่จะเข้ามาสู่แรงงานด้านนี้ให้มีมากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่จบไม่ถึงปริญญาตรี แต่มีความสามารถด้านภาษา ได้มีทางเลือกในการทำงาน เพียงขอให้มีประกาศนียบัตรรับรองด้านภาษามายื่นสมัครพร้อมวุฒิการศึกษาก็เพียงพอ
“อาชีพมัคคุเทศก์ไม่มีตำแหน่งก้าวหน้าเหมือนงานบริษัท หรือข้าราชการ และอายุที่พอจะทำงานด้านนี้ได้ก็ไม่ควรเกิน 40-45 ปี คนที่จบปริญญาตรี เขาจะมีทางเลือกมากกว่า ทำให้หลายคนทำอาชีพนี้เพียง 2-3 ปี แล้วก็ลาออกไปทำงานอื่นแทน”
***ประสานกระทรวงศึกษาฯช่วยแนะเรียนภาษา***
นอกจากนั้น ยังได้มีการเสนอให้กรมการท่องเที่ยว เร่งพัฒนาบุคลากรมัคคุเทศก์ในภาษาที่ขาดแคลน เช่น ภาษารัสเซีย จีน เกาหลี อินเดีย อินโดนีเซีย และ สแกนดิเนเวียน ให้เพียงพอแก่ความต้องการ โดยระยะสั้นที่สามารถทำได้รวดเร็ว คือการจัดคอร์สฝึกอบรมภาษาให้แก่มัคคุเทศก์ และควรประสานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ให้มอบหมายให้สถานศึกษาทุกสังกัด เช่น อาชีวศึกษา มหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ จัดแนะแนวแก่นักเรียนที่มีความสนใจด้านภาษา ได้เลือกเรียกภาษาที่แตกต่างออกไปจากภาษาอังกฤษ โดยเน้นนำเสนอภาษาที่ไทยยังขาดแคลน เพื่อเป็นทางเลือกในการมีงานทำเมื่องจบการศึกษา เพราะไม่ใช่แค่มัคคุเทศก์เท่านั้นที่ขาดแคลนแรงงานด้านภาษาที่มีคุณภาพ แต่หมายถึง โรงแรม และเจ้าหน้าที่ประจำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ก็ต้องการผู้มีความสามารถด้านภาษา ไว้คอยบริการแก่นักท่องเที่ยวเช่นกัน โดยเฉพาะภาษาที่ขาดแคลนดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่อง
***เชือด 3 บริษัททัวร์นอกรีต***
อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมยังมีรายงานจากสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวทั้งสิ้น 9,029 ราย แบ่งเป็น Inbound 1,629 ราย Outbound 2,282 ราย ในประเทศ 1,128 ราย เฉพาะพื้นที่ 3,990 ราย ส่วนผู้ได้รับใบอนุญาตบัตรมัคคุเทศก์รวมทั้งสิ้น 42,792 ราย แบ่งเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไป 35,653 ราย และจำนวนมัคุเทศก์เฉพาะ 7,139 ราย ซึ่งทางสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ จะต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่า ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์ผู้จดทะเบียนไปประกอบอาชีพธุรกิจนำเที่ยว หรือมัคคุเทศก์ จริงหรือไม่ เนื่องจากตัวเลขการร้องเรียนที่เกี่ยวกับการหลอกลวงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากเป็นอันดับต้นๆ ส่งผลให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น พร้อมกันนี้ ยังมีมติถอนใบอนุญาติประกอบธุรกิจนำเที่ยว 3 ราย ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิภาพร เทรเวลแอนด์คอนทรัคชั่น (นิภาพรทัวร์) เนื่องจากรายการนำเที่ยวไม่เป็นไปตามประเภทของใบอนุญาต, บริษัท เว็บสวัสดี จำกัด และบริษัท ไอคิว ดว์ จำกัด เพราะทั้งสองบริษัทได้ยินยอมให้ชาวต่างชาติเป็นผู้มีอำนาจลงนามผูกพันกับบริษัท
ในการประชุมคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งมี นายสมบัติ คุรุพันธ์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เป็นประธาน มีกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม นายวิชิต ประกอบโกศล นายกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว สัมพันธ์ไทย-จีน และกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กล่าวว่า ในที่ประชุมภาคเอกชนได้เสนอให้มีการผ่อนปรนวุฒิการศึกษาให้แก่ผู้ต้องการสอบรับบัตรมัคคุเทศก์ให้เริ่มต้นที่ระดับอาชีวศึกษา หรือ อนุปริญญา โดยมีใบรับรองการศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของภาษาต่างประเทศ ซึ่งเป็นการปรับลดวุฒิลงจากปัจจุบันที่จะต้องใช้วุฒิขั้นต่ำปริญญาตรี
***ส่งฝ่ายกฎหมายตีความเตรียมสรุปครั้งหน้า***
ทั้งนี้ เพราะเห็นว่า อาชีพมัคคุเทศก์ หรือ ไกด์ ไม่จำเป็นต้องเรียนสูงถึงระดับปริญญาตรี แต่ควรดูเรื่องของความชำนาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะเรื่องความเชี่ยวชาญภาษา และ มีหัวใจที่รักงานบริการ ซึ่งหากกระทรวงการท่องเที่ยวสามารถผ่อนปรนกฎบังคับประเด็นนี้ได้ จะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ผู้จบระดับอนุปริญญาอีกมากมาย และยังสามารถทำให้มีบุคลากรที่ชำนาญด้านภาษามาให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ประชุมได้รับไว้พิจารณา โดยจะนำบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ในเรื่องของวุฒิการศึกษาไปให้ฝ่ายกฎหมายตีความ และนำกลับมาหารืออีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 21 ก.พ.54 หากสามารถแก้ไขโดยกระทรวงได้ รวมถึงพิจารณาถึงผลดีผลเสียเรียบร้อยก็จะดำเนินการทันที เพื่อเปิดกว้างแรงงานด้านนี้ให้มีเพิ่มมากขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น
สำหรับเหตุผลที่ภาคเอกชนต้องการให้ปรับลดวุฒิขั้นต่ำดังกล่าวก็เพื่อเป็นการขยายโอกาสฐานแรงงานที่จะเข้ามาสู่แรงงานด้านนี้ให้มีมากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่จบไม่ถึงปริญญาตรี แต่มีความสามารถด้านภาษา ได้มีทางเลือกในการทำงาน เพียงขอให้มีประกาศนียบัตรรับรองด้านภาษามายื่นสมัครพร้อมวุฒิการศึกษาก็เพียงพอ
“อาชีพมัคคุเทศก์ไม่มีตำแหน่งก้าวหน้าเหมือนงานบริษัท หรือข้าราชการ และอายุที่พอจะทำงานด้านนี้ได้ก็ไม่ควรเกิน 40-45 ปี คนที่จบปริญญาตรี เขาจะมีทางเลือกมากกว่า ทำให้หลายคนทำอาชีพนี้เพียง 2-3 ปี แล้วก็ลาออกไปทำงานอื่นแทน”
***ประสานกระทรวงศึกษาฯช่วยแนะเรียนภาษา***
นอกจากนั้น ยังได้มีการเสนอให้กรมการท่องเที่ยว เร่งพัฒนาบุคลากรมัคคุเทศก์ในภาษาที่ขาดแคลน เช่น ภาษารัสเซีย จีน เกาหลี อินเดีย อินโดนีเซีย และ สแกนดิเนเวียน ให้เพียงพอแก่ความต้องการ โดยระยะสั้นที่สามารถทำได้รวดเร็ว คือการจัดคอร์สฝึกอบรมภาษาให้แก่มัคคุเทศก์ และควรประสานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ให้มอบหมายให้สถานศึกษาทุกสังกัด เช่น อาชีวศึกษา มหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ จัดแนะแนวแก่นักเรียนที่มีความสนใจด้านภาษา ได้เลือกเรียกภาษาที่แตกต่างออกไปจากภาษาอังกฤษ โดยเน้นนำเสนอภาษาที่ไทยยังขาดแคลน เพื่อเป็นทางเลือกในการมีงานทำเมื่องจบการศึกษา เพราะไม่ใช่แค่มัคคุเทศก์เท่านั้นที่ขาดแคลนแรงงานด้านภาษาที่มีคุณภาพ แต่หมายถึง โรงแรม และเจ้าหน้าที่ประจำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ก็ต้องการผู้มีความสามารถด้านภาษา ไว้คอยบริการแก่นักท่องเที่ยวเช่นกัน โดยเฉพาะภาษาที่ขาดแคลนดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่อง
***เชือด 3 บริษัททัวร์นอกรีต***
อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมยังมีรายงานจากสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวทั้งสิ้น 9,029 ราย แบ่งเป็น Inbound 1,629 ราย Outbound 2,282 ราย ในประเทศ 1,128 ราย เฉพาะพื้นที่ 3,990 ราย ส่วนผู้ได้รับใบอนุญาตบัตรมัคคุเทศก์รวมทั้งสิ้น 42,792 ราย แบ่งเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไป 35,653 ราย และจำนวนมัคุเทศก์เฉพาะ 7,139 ราย ซึ่งทางสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ จะต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่า ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์ผู้จดทะเบียนไปประกอบอาชีพธุรกิจนำเที่ยว หรือมัคคุเทศก์ จริงหรือไม่ เนื่องจากตัวเลขการร้องเรียนที่เกี่ยวกับการหลอกลวงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากเป็นอันดับต้นๆ ส่งผลให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น พร้อมกันนี้ ยังมีมติถอนใบอนุญาติประกอบธุรกิจนำเที่ยว 3 ราย ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิภาพร เทรเวลแอนด์คอนทรัคชั่น (นิภาพรทัวร์) เนื่องจากรายการนำเที่ยวไม่เป็นไปตามประเภทของใบอนุญาต, บริษัท เว็บสวัสดี จำกัด และบริษัท ไอคิว ดว์ จำกัด เพราะทั้งสองบริษัทได้ยินยอมให้ชาวต่างชาติเป็นผู้มีอำนาจลงนามผูกพันกับบริษัท