ปตท.จับมือเชฟรอนเข็นโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมฯเข้าตลาดหุ้นได้ทันปีนี้ โดยจะนำหุ้นที่ถืออยู่ 30%ออกขายให้กับประชาขนโดยไม่มีการออกหุ้นเพิ่มทุนเพิ่มเติม ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนจะใช้ในโครงการยูโร 4 ส่วนแผนควบรวมกิจการบริษัทลูกปตท. มั่นใจพ.ค.นี้ได้ข้อสรุปก่อนควบรวมเสร็จในปลายปีนี้ หลังปัญหามาบตาพุดเริ่มคลี่คลาย
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าการนำบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน))(SPRC)เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ขณะนี้บริษัทฯกับบริษัท เชฟรอน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของSPRCได้มีการเตรียมการแก้ไขสัญญาต่างๆที่ทำไว้กับหน่วยงานรัฐและเอกชน อาทิ การรับผลิตภัณฑ์น้ำมันจากSPRC ของผู้ถือหุ้นเป็นต้น โดยจะนำสัดส่วนหุ้นบริษัทฯ 30%เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯตามเงื่อนไขสัญญาที่บริษัทฯได้ทำไว้กับหน่วยงานรัฐ เชื่อว่าหากไม่ติดปัญหาใดๆจะเข้าตลาดหุ้นได้ทันในปีนี้
การนำบริษัท SPRC เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯนี้จะไม่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเพิ่มเติม แต่จะนำหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมออกขายให้กับประชาชนทั่วไปสัดส่วน 30% ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของSPRC หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯเปลี่ยนแปลงดังนี้ คือ เชฟรอนฯถือหุ้นจากเดิม 64%เป็น 45% ปตท.จากเดิม 36% ลดลงเหลือ 25% โดยปตท.ไม่มีนโยบายที่จะซื้อหุ้นจากสตาร์ปิโตรเลียมฯเพิ่มขึ้นด้วย
นายประเสริฐ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าแผนการควบรวมกิจการบริษัทในเครือปตท. 4 บริษัทอาทิ บริษัทไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน)บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาแผนการควบรวมกิจการอยู่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือนพ.ค.นี้เนื่องจากปัญหามาบตาพุดมีความชัดเจนขึ้นมาระดับหนึ่ง ทำให้สามารถประเมินผลกระทบได้ แต่ยืนยันว่าการควบรวมกิจการนี้ทุกฝ่ายจะต้องได้ประโยชน์
นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลาย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เบื้องต้นการควบรวมกิจการนี้จะทยอยทำเป็นเฟส โดยเบื้องต้นจะควบรวมกิจการ 2 บริษัทก่อน หากผลการศึกษาทุกอย่างแล้วเสร็จในไตรมาส 2 นี้เชื่อว่าปีนี้จะเห็นการควบรวมกิจการของบริษัทในเครือปตท.ได้ โดยยอมรับว่าปัญหามาบตาพุดมีความชัดเจนขึ้นมาก เนื่องจากมีบางบริษัทในเครือฯต้องระงับกิจการภายใต้คำสั่งศาลฯ ซึ่งขณะนี้บริษัทได้ทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ประเมินว่าทุกอย่างจะจบได้ภายใน 10เดือน
ส่วนการนำบริษัท SPRC เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น เงินที่ได้จากการระดมทุนส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้ได้ตามมาตรฐานยุโรป(ยูโร 4) ลงทุนประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรัฐกำหนดบังคับใชัน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ในต้นปี 2555 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาว่าบริษัทฯมีทิศทางการเติบโตอย่างไร เบื้องต้นจุดเด่นของโรงกลั่นสตาร์ฯเมื่อเทียบกับโรงกลั่นอื่นๆพบว่าเป็นโรงกลั่นที่มีกำลังการกลั่น 1.45 แสนบาร์เรล/วัน ได้น้ำมันเบนซินมาก และมีความเป็นได้ที่จะลงทุนต่อเนื่องในธุรกิจปิโตรเคมี เนื่องจากมีวัตถุดิบที่ใช้ป้อนในปิโตรเคมีได้ หรือจะขายเป็นฟีดสต็อกก็ได้
"บริษัทฯมั่นใจว่าโครงการยูโร 4ของSPRC จะเสร็จทันตามที่รัฐกำหนดไว้ เนื่องจากบริษัทฯได้มีการสั่งซื้ออุปกรณ์ต่างๆเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งความจริงบริษัทมีการเตรียมเม็ดเงินลงทุนไว้ ซึ่เงินที่ได้จากการขายหุ้นเข้าตลาดก็จะนำมาใช้ในโครงการนี้ด้วย และไม่เคยได้ยินว่าเชฟรอนจะขายทิ้งหุ้นSPRC"
สำหรับภาวะโรงกลั่นน้ำมันในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ พบว่า ค่าการกลั่นดีกว่าไตรมาส 4/2552 เพราะไตรมาสแรกปีนี้ หลายโรงกลั่นมีการหยุดซ่อมบำรุงกันมาก ทำให้ซัปพลายมันหายไปจากตลาด
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าการนำบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน))(SPRC)เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ขณะนี้บริษัทฯกับบริษัท เชฟรอน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของSPRCได้มีการเตรียมการแก้ไขสัญญาต่างๆที่ทำไว้กับหน่วยงานรัฐและเอกชน อาทิ การรับผลิตภัณฑ์น้ำมันจากSPRC ของผู้ถือหุ้นเป็นต้น โดยจะนำสัดส่วนหุ้นบริษัทฯ 30%เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯตามเงื่อนไขสัญญาที่บริษัทฯได้ทำไว้กับหน่วยงานรัฐ เชื่อว่าหากไม่ติดปัญหาใดๆจะเข้าตลาดหุ้นได้ทันในปีนี้
การนำบริษัท SPRC เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯนี้จะไม่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเพิ่มเติม แต่จะนำหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมออกขายให้กับประชาชนทั่วไปสัดส่วน 30% ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของSPRC หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯเปลี่ยนแปลงดังนี้ คือ เชฟรอนฯถือหุ้นจากเดิม 64%เป็น 45% ปตท.จากเดิม 36% ลดลงเหลือ 25% โดยปตท.ไม่มีนโยบายที่จะซื้อหุ้นจากสตาร์ปิโตรเลียมฯเพิ่มขึ้นด้วย
นายประเสริฐ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าแผนการควบรวมกิจการบริษัทในเครือปตท. 4 บริษัทอาทิ บริษัทไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน)บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาแผนการควบรวมกิจการอยู่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือนพ.ค.นี้เนื่องจากปัญหามาบตาพุดมีความชัดเจนขึ้นมาระดับหนึ่ง ทำให้สามารถประเมินผลกระทบได้ แต่ยืนยันว่าการควบรวมกิจการนี้ทุกฝ่ายจะต้องได้ประโยชน์
นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลาย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เบื้องต้นการควบรวมกิจการนี้จะทยอยทำเป็นเฟส โดยเบื้องต้นจะควบรวมกิจการ 2 บริษัทก่อน หากผลการศึกษาทุกอย่างแล้วเสร็จในไตรมาส 2 นี้เชื่อว่าปีนี้จะเห็นการควบรวมกิจการของบริษัทในเครือปตท.ได้ โดยยอมรับว่าปัญหามาบตาพุดมีความชัดเจนขึ้นมาก เนื่องจากมีบางบริษัทในเครือฯต้องระงับกิจการภายใต้คำสั่งศาลฯ ซึ่งขณะนี้บริษัทได้ทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ประเมินว่าทุกอย่างจะจบได้ภายใน 10เดือน
ส่วนการนำบริษัท SPRC เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น เงินที่ได้จากการระดมทุนส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้ได้ตามมาตรฐานยุโรป(ยูโร 4) ลงทุนประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรัฐกำหนดบังคับใชัน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ในต้นปี 2555 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาว่าบริษัทฯมีทิศทางการเติบโตอย่างไร เบื้องต้นจุดเด่นของโรงกลั่นสตาร์ฯเมื่อเทียบกับโรงกลั่นอื่นๆพบว่าเป็นโรงกลั่นที่มีกำลังการกลั่น 1.45 แสนบาร์เรล/วัน ได้น้ำมันเบนซินมาก และมีความเป็นได้ที่จะลงทุนต่อเนื่องในธุรกิจปิโตรเคมี เนื่องจากมีวัตถุดิบที่ใช้ป้อนในปิโตรเคมีได้ หรือจะขายเป็นฟีดสต็อกก็ได้
"บริษัทฯมั่นใจว่าโครงการยูโร 4ของSPRC จะเสร็จทันตามที่รัฐกำหนดไว้ เนื่องจากบริษัทฯได้มีการสั่งซื้ออุปกรณ์ต่างๆเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งความจริงบริษัทมีการเตรียมเม็ดเงินลงทุนไว้ ซึ่เงินที่ได้จากการขายหุ้นเข้าตลาดก็จะนำมาใช้ในโครงการนี้ด้วย และไม่เคยได้ยินว่าเชฟรอนจะขายทิ้งหุ้นSPRC"
สำหรับภาวะโรงกลั่นน้ำมันในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ พบว่า ค่าการกลั่นดีกว่าไตรมาส 4/2552 เพราะไตรมาสแรกปีนี้ หลายโรงกลั่นมีการหยุดซ่อมบำรุงกันมาก ทำให้ซัปพลายมันหายไปจากตลาด