แผนปรับยุทธศาสตร์ท่องเที่ยววาระแห่งชาติ เล็งอ้าแขนรับนักลงทุนกระเป๋าหนัก ทั้งคนไทยและต่างชาติ บูมธีมปาร์คเมืองไทย พัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแบบบูรณาการ สร้างเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 11 แต่ทั้งนี้การดำเนินงานยังไม่คืบทั้งที่มีเวลาปรับปรุงเพียง 2 เดือน เหตุ “ชุมพล” ยังไม่เซ็นแต่งตั้งคณะทำงานอย่างเป็นทางการ
แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการดำเนินการปรับร่างแผนท่องเที่ยววาระแห่งชาติ (Revise) เบื้องต้นคาดว่า จะมีการปรับปรุงแผนใน 1-2 ประเด็นหลัก ให้แผนมีความทันสมัยเป็นปัจจุบันและมองไปในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ที่เตรียมประกาศใช้ในปีหน้า
โดยผลการศึกษาเบื้องต้น คาดว่าจะต้องปรับในเรื่องของการเขียนแผนกลยุทธ์เชิงรุกให้มากขึ้นจากของเดิม เช่น แผนส่งเสริมการลงทุน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการลงทุนขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นรูปแบบการเปิดกว้างรับแหล่งเงินทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่สนใจเข้ามาลงทุน เนื่องจากปัจจุบัน ไทยยังมีแหล่งท่องเที่ยวแมนเมด และการลงทุนขนาดใหญ่ด้านท่องเที่ยวน้อยมาก เช่น การลงทุนในรูปแบบธีมปาร์ค เป็นต้น
“แผนเดิมที่เขียนไว้ ก็มีด้านส่งเสริมการลงทุนบ้าง แต่ที่ประเมินเบื้องต้น ไม่เอื้อให้เกิดอิมแพค หรือผลตอบรับมากพอที่จะฉายภาพให้ต่างชาติ หรือนักลงทุนรายใหญ่ สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้มากเพียงพอ โดยแผนท่องเที่ยววาระแห่งชาตินี้ จะต้องฉายภาพของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เป็นอุตสาหกรรมที่เข้ามาช่วยพัฒนาเศรษบกิจของประเทศไทย”
นอกจากนั้น จะปรับปรุงในเรื่องของแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม เพื่อรองรับการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวใน 4 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม จากการที่ นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อมาดำเนินการปรับปรับร่างแผนท่องเที่ยววาระแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น น.ส.วิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ ผู้อำนวยการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) อดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการเศรษบกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นต้น ล่าสุด ยังไม่มีการเซ็นคำสั่งแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้การดำเนินการปรับร่างแผนท่องเที่ยววาระแห่งชาติในครั้งนี้ยังไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้
ทั้งนี้ แผนท่องเที่ยววาระแห่งชาติฉบับที่จะแก้ไขนี้ ได้ปรับเปลี่ยนจากระยะเวลา 4 ปี คือ ปี 52-55 เป็น 5 ปี คือ ปี 54-58 พร้อมเพิ่มโครงการใหม่ คาดว่าแต่ละปีจะใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท ปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ฯ รวม 5 ปีใช้งบประมาณทั้งสิ้น 50,000 ล้านบาท ซึ่งกระบวนการจัดทำต้องให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน นับจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ มีมติให้ปรับปรุงตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ส่วนสาเหตุที่ต้องปรับปรุงแผนให้ทันสมัคร เนื่องจากการร่างแผนที่ผ่านมา อยู่ในช่วงที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอยู่ในภาวะวิกฤต อันเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตเศรษบกิจโลก และ ปัญหาการเมืองภายในประเทศ ทำให้ รัฐบาลเยียวยาด้วยการออกมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวระยะสั้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวกลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด
ขณะเดียวกัน กรอบยุทธศาสตร์ภายในแผน จะต้องเพิ่มในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขภาพร่างกายของนักท่องเที่ยว โดยทุกแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญควรมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องการให้บริการด้านสาธารณสุข เพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติกรณีที่มีปัญหาสุขภาพแบบฉับพลัน หรือ กรณีที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นผู้สูงวัย หรือมีโรคประจำตัว รวมถึงการทำงานแบบบูรณาการกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) โดยให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการดำเนินการปรับร่างแผนท่องเที่ยววาระแห่งชาติ (Revise) เบื้องต้นคาดว่า จะมีการปรับปรุงแผนใน 1-2 ประเด็นหลัก ให้แผนมีความทันสมัยเป็นปัจจุบันและมองไปในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ที่เตรียมประกาศใช้ในปีหน้า
โดยผลการศึกษาเบื้องต้น คาดว่าจะต้องปรับในเรื่องของการเขียนแผนกลยุทธ์เชิงรุกให้มากขึ้นจากของเดิม เช่น แผนส่งเสริมการลงทุน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการลงทุนขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นรูปแบบการเปิดกว้างรับแหล่งเงินทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่สนใจเข้ามาลงทุน เนื่องจากปัจจุบัน ไทยยังมีแหล่งท่องเที่ยวแมนเมด และการลงทุนขนาดใหญ่ด้านท่องเที่ยวน้อยมาก เช่น การลงทุนในรูปแบบธีมปาร์ค เป็นต้น
“แผนเดิมที่เขียนไว้ ก็มีด้านส่งเสริมการลงทุนบ้าง แต่ที่ประเมินเบื้องต้น ไม่เอื้อให้เกิดอิมแพค หรือผลตอบรับมากพอที่จะฉายภาพให้ต่างชาติ หรือนักลงทุนรายใหญ่ สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้มากเพียงพอ โดยแผนท่องเที่ยววาระแห่งชาตินี้ จะต้องฉายภาพของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เป็นอุตสาหกรรมที่เข้ามาช่วยพัฒนาเศรษบกิจของประเทศไทย”
นอกจากนั้น จะปรับปรุงในเรื่องของแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม เพื่อรองรับการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวใน 4 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม จากการที่ นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อมาดำเนินการปรับปรับร่างแผนท่องเที่ยววาระแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น น.ส.วิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ ผู้อำนวยการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) อดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการเศรษบกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นต้น ล่าสุด ยังไม่มีการเซ็นคำสั่งแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้การดำเนินการปรับร่างแผนท่องเที่ยววาระแห่งชาติในครั้งนี้ยังไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้
ทั้งนี้ แผนท่องเที่ยววาระแห่งชาติฉบับที่จะแก้ไขนี้ ได้ปรับเปลี่ยนจากระยะเวลา 4 ปี คือ ปี 52-55 เป็น 5 ปี คือ ปี 54-58 พร้อมเพิ่มโครงการใหม่ คาดว่าแต่ละปีจะใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท ปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ฯ รวม 5 ปีใช้งบประมาณทั้งสิ้น 50,000 ล้านบาท ซึ่งกระบวนการจัดทำต้องให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน นับจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ มีมติให้ปรับปรุงตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ส่วนสาเหตุที่ต้องปรับปรุงแผนให้ทันสมัคร เนื่องจากการร่างแผนที่ผ่านมา อยู่ในช่วงที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอยู่ในภาวะวิกฤต อันเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตเศรษบกิจโลก และ ปัญหาการเมืองภายในประเทศ ทำให้ รัฐบาลเยียวยาด้วยการออกมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวระยะสั้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวกลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด
ขณะเดียวกัน กรอบยุทธศาสตร์ภายในแผน จะต้องเพิ่มในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขภาพร่างกายของนักท่องเที่ยว โดยทุกแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญควรมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องการให้บริการด้านสาธารณสุข เพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติกรณีที่มีปัญหาสุขภาพแบบฉับพลัน หรือ กรณีที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นผู้สูงวัย หรือมีโรคประจำตัว รวมถึงการทำงานแบบบูรณาการกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) โดยให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน