xs
xsm
sm
md
lg

กอน.นัดถก11มี.ค.จัดสรรเพิ่มโควตาน้ำตาล1ล้านกระสอบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กอน.นัดถก 11 มี.ค.นี้หากประธานกน.ส่งเรื่องขอจัดสรรน้ำตาลประเคน “เจ๊วา” ก็พร้อมเปิดทางให้ 1 ล้านกระสอบ พร้อมจัดสรรโควตา ก เพิ่มอีก 1 ล้านกระสอบ พบโรงงานผลิตอาหารเครื่องดื่มเพื่อการส่งออกเสี่ยงถูกตัดสิทธ์ 5 ปี ถึง 34 โรงงาน ราคาโลกเริ่มลดหวังจะหันกลับไปใช้โควตาค

นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) วันที่11 มี.ค.นี้ซึ่งหากนายวิจักร วิเศษน้อย อภิบดีกรมการค้าต่างประเทศในฐานะประธานคณะกรรมการน้ำตาลทราย(กน.)จะนำข้อเสนอนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ที่จะขอจัดสรรน้ำตาล 1แสนตัน(1ล้านกระสอบ/กระสอบละ 100 ก.ก.)
เพื่อไปทำเป็นสต็อกฉุกเฉินกรณีการขาดแคลนน้ำตาลในอนาคตเข้าสู่การพิจารณากอน.ก็พร้อมจะพิจารณา

“ ขณะนี้ยังไม่มีวาระดักล่าวของกระทรวงพาณิชย์ก็อยู่ที่ประธานกน.ว่าจะนำเข้าหารือหรือไม่ แต่ยอมรับว่าการประชุมกน.เมื่อวันที่ 5 มี.ค.มีการพูดคุยเรื่องนี้ก็ถือว่าจะเป็นความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานซึ่งทางโรงงานและชาวไร่ก็ไม่ได้ขัดข้องซึ่งข้อเสนอจริงอยู่ที่ 4 ล้านกระสอบแต่ทางชาวไร่และโรงงานขอจัดสรรให้เพียง 1 ใน 4และคงไม่สามารถจัดสรรให้ในราคาต่ำกว่าหน้าโรงงานได้”นายประเสริฐกล่าว
นอกจากนี้การประชุมกน.เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ผ่านมานั้นนยังมีมติร่วมกันในเรื่องการเพิ่มโควตาน้ำตาลเพื่อการบริโภคในประเทศ หรือ โควตา ก อีก 1 ล้านกระสอบ เป็น 22 ล้านกระสอบจากโควตาเดิม 21 ล้านกระสอบ ซึ่งทางฝ่ายโรงงานน้ำตาลไม่ขัดข้องที่จะดึงน้ำตาลโควตาส่งออก หรือ โควตา ค กลับมาเป็นโควตา ก คงต้องดูว่านายวิจักร จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมกอน.หรือไม่เช่นกัน

สำหรับการแก้ปัญหาน้ำตาลตึงตัวในรอบ 10 วันที่ผ่านมาเบื้องต้นเปลี่ยนวันขึ้นงวดน้ำตาลใหม่จากเดิมทุกวันจันทร์ เป็นวันศุกร์ เริ่มตั้งแต่ศุกร์ที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา และจากการที่สอน.เข้าไปตรวจสอบโรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่มเพื่อการส่งออกที่ขอใช้สิทธิ์น้ำตาลโควตา ค ที่มีแนวโน้มจะไปใช้สิทธิ์น้ำตาลโควตา ก จำนวน 34 แห่ง จากทั้งหมด 106 แห่ง พบว่าโรงงานทั้ง 34 แห่งขอรับสิทธิ์ 8 แสนกระสอบ แต่ทำสัญญาเพียง 4 แสนกระสอบ ซึ่งโรงงานทั้ง 34 แห่งนี้หันมาใช้น้ำตาลโควตา ก ไปแล้ว 5 หมื่นกระสอบ ดังนั้นมีโอกาสที่จะถูกตัดสิทธิ์การใช้น้ำตาลโตวตา ค เป็นเวลา 5 ปี

อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำตาลตึงตัวคงจะบรรเทาลงหลังจากที่ราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะขยับสูงต่อเนื่องนั้นได้ปรับลดลงค่อนข้างแรงโดยน้ำตาลทรายทรายขาวงวดส่งมอบเดือนพ.ค.อยู่ที่ 592 เหรียญสหรัฐต่อตันจากที่เคยสูงถึง 750 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนงวดส่งมอบเดือนส.ค.เหลือเพียง 470 เหรียญสหรัฐต่อ หลังกองทุนเก็งกำไรหรือเฮดจ์ฟันด์มีการเทขายทำกำไรเนื่องจากเล็งเห็นปริมาณน้ำตาลจะเพิ่มขึ้นจากผู้ผลิตรายใหญ่อย่างบราซิลการปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น ส่วนอินเดียที่เคยมีปัญหาภัยแล้งเริ่มได้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นเมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้นโรงงานเหล่านี้คงจะหันมาใช้สิทธิโควตาค ตามเดิม
กำลังโหลดความคิดเห็น