“ซาเล้ง” เข็นแอร์พอร์ตลิงก์วิ่ง เม.ย.ให้ประชาชนใช้ฟรีจนกว่าจะเปิดเดินรถจริง ยันปลอดภัยได้มาตรฐานแน่นอน ไม่สนเสียงค้านที่ปรึกษาติงระบบหนีไฟตัวสถานีไม่ได้มาตรฐาน
นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.53 จะเปิดให้ประชาชนใช้บริการ โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ แน่นอน แม้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะรายงานว่ายังไม่สามารถเปิดให้บริการแบบเชิงพาณิชย์ในเดือน เม.ย.53 ได้ ดังนั้นจะเป็นการเปิดเดินรถตามตาราง โดยไม่เก็บค่าโดยสาร
ทั้งนี้ ระบบความปลอดภัยของแอร์พอร์ตลิงก์ไม่มีปัญหา สามารถเปิดให้ประชาชนใช้บริการในเดือน เม.ย.ได้ แม้ว่าขณะนี้ที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ หรือ ICE ยังไม่ได้รับรองความปลอดภัย เนื่องจากยังมีงาน 3 ส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ ทั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบการสื่อสาร และระบบไฟฟ้า ที่ยังไม่มีความพร้อม แต่ยืนยันว่าในเรื่องของความปลอดภัยของการเดินรถนั้น มีความปลอดภัยอย่างแน่นอน และประชาชนสามารถที่จะมาใช้บริการได้ เนื่องจากขณะนี้ระบบต่างๆ มีความพร้อมถึง 80% แล้ว เพราะงานที่เหลือ มีข้อติดขัดเล็กน้อย
“ระบบบางส่วนเท่านั้นที่ยังไม่พร้อม แต่ในเดือน เม.ย.นี้จะเปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการฟรี และ ร.ฟ.ท.จะมีการทดลองตารางการเดินรถให้ชัดเจนด้วย ส่วนการส่งงานล่าช้านั้น การปรับกลุ่มผู้รับเหมา ก็เป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้” นายโสภณกล่าว
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า หลังจาก ICE เข้าไปตรวจสอบ ระบบความปลอดภัยของโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ พบว่า มีปัญหาหลายจุดและไม่สามารถปรับแก้ได้ทำให้ ICE ไม่สามารถให้การรับรองได้ โดยร.ฟ.ท.จะต้องรับความเสี่ยงเองกรณีที่เกิดเหตุขึ้น เช่น การออกแบบการหนีไฟในสถานีที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น ซึ่ง ICE เข้ามาตรวจสอบ หลังจากที่มีการออกแบบและก่อสร้างไป
ทั้งนี้ เนื่องจาก ร.ฟ.ท.ว่าจ้าง ICE เข้ามาทำงานล่าช้า จากเดิมที่ต้องจ้าง ICE เข้ามาทำงานพร้อมกับที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง วงเงินรวมประมาณ 700 ล้านบาทเศษ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ แต่ถูกปรับลดวงเงินเหลือเพียงค่าจ้าง CSC เท่านั้นโดยได้จ้าง ICE เข้ามาหลังจากที่งานก่อสร้างไปแล้ว 70% ดังนั้น การตรวจสอบของ ICEในบางเรื่องจึงเป็นการตรวจสอบจากเอกสารซึ่งเมื่อพบปัญหาก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทัน
กรณีการออกแบบการหนีไฟในสถานีที่ไม่ได้มาตรฐานนั้น แม้จะมีการปรับแก้ภายหลังแต่ ICE ก็จะไม่ให้การรับรอง โดยจะมีการระบุว่า ให้ Operator หรือผู้รับผิดชอบด้านการเดินรถรับรู้ว่าในหัวข้อดังกล่าวมีประเด็นความเสี่ยงอยู่ ดังนั้นการรับรองระบบความปลอดภัยโครงการแอร์พอร์ลิ้งก์ของ ICE จะเป็นการรับรองแต่ไม่เต็ม 100%
ด้าน นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการฯ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า หลังจากที่บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเหมางานระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนดในเดือน ก.พ. 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งถึงขณะนี้ประเมินค่าปรับตามสัญญาประมาณ 17 ล้านบาท โดยไม่รวมงานที่ยังมีปัญหาอีก 3 ส่วน โดยสัญญากำหนดค่าปรับไว้ที่ 0.05% ของงานที่เหลือ
สำหรับสัญญาก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงก์นั้น กำหนดให้กลุ่มกิจการร่วมค้า บี.กริมม์ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโครงสร้าง และบริษัท ซีเมนส์ จำกัด รับผิดชอบงานระบบ ต้องส่งมอบงานก่อสร้างและงานติดตั้งระบบให้ ร.ฟ.ท.ในวันที่ 6 ส.ค. 2552จากนั้นจะใช้เวลาในการทดสอบและเชื่อมระบบทั้งหมด (Integrated Test) อีก 3 เดือน หรือแล้วเสร็จใน 4 พ.ย. 2552 แต่เนื่องจากการก่อสร้างและติดตั้งระบบล่าช้า ทำให้การทดสอบระบบล่าช้าไปด้วย
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจรับงาน ซึ่งคาดว่าจะสามารถการเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ ได้ช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. 2553 เพราะนอกจากICE จะต้องให้การรับรองความปลอดภัยของระบบทั้งหมดแล้วในเรื่องความพร้อมด้านบุคลากรการเดินรถการให้บริการต่างๆ รวมถึงการจัดทำคู่มือการเดินรถ ตามมาตรฐาน จะต้องพร้อมและผ่านการรับรองจาก ICE ด้วย โดยขณะนี้ คู่มือจัดทำไปแล้วประมาณ 60% ส่วน เรื่องบุคลากรนั้น ร.ฟ.ท.จ้าง สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดหาและจ้าง Deutsche Bahn International (DBI) ฝึกอบรมให้ ซึ่งในส่วนพนักงานขับรถหลัก มีจำนวน 8 คน
นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.53 จะเปิดให้ประชาชนใช้บริการ โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ แน่นอน แม้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะรายงานว่ายังไม่สามารถเปิดให้บริการแบบเชิงพาณิชย์ในเดือน เม.ย.53 ได้ ดังนั้นจะเป็นการเปิดเดินรถตามตาราง โดยไม่เก็บค่าโดยสาร
ทั้งนี้ ระบบความปลอดภัยของแอร์พอร์ตลิงก์ไม่มีปัญหา สามารถเปิดให้ประชาชนใช้บริการในเดือน เม.ย.ได้ แม้ว่าขณะนี้ที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ หรือ ICE ยังไม่ได้รับรองความปลอดภัย เนื่องจากยังมีงาน 3 ส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ ทั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบการสื่อสาร และระบบไฟฟ้า ที่ยังไม่มีความพร้อม แต่ยืนยันว่าในเรื่องของความปลอดภัยของการเดินรถนั้น มีความปลอดภัยอย่างแน่นอน และประชาชนสามารถที่จะมาใช้บริการได้ เนื่องจากขณะนี้ระบบต่างๆ มีความพร้อมถึง 80% แล้ว เพราะงานที่เหลือ มีข้อติดขัดเล็กน้อย
“ระบบบางส่วนเท่านั้นที่ยังไม่พร้อม แต่ในเดือน เม.ย.นี้จะเปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการฟรี และ ร.ฟ.ท.จะมีการทดลองตารางการเดินรถให้ชัดเจนด้วย ส่วนการส่งงานล่าช้านั้น การปรับกลุ่มผู้รับเหมา ก็เป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้” นายโสภณกล่าว
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า หลังจาก ICE เข้าไปตรวจสอบ ระบบความปลอดภัยของโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ พบว่า มีปัญหาหลายจุดและไม่สามารถปรับแก้ได้ทำให้ ICE ไม่สามารถให้การรับรองได้ โดยร.ฟ.ท.จะต้องรับความเสี่ยงเองกรณีที่เกิดเหตุขึ้น เช่น การออกแบบการหนีไฟในสถานีที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น ซึ่ง ICE เข้ามาตรวจสอบ หลังจากที่มีการออกแบบและก่อสร้างไป
ทั้งนี้ เนื่องจาก ร.ฟ.ท.ว่าจ้าง ICE เข้ามาทำงานล่าช้า จากเดิมที่ต้องจ้าง ICE เข้ามาทำงานพร้อมกับที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง วงเงินรวมประมาณ 700 ล้านบาทเศษ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ แต่ถูกปรับลดวงเงินเหลือเพียงค่าจ้าง CSC เท่านั้นโดยได้จ้าง ICE เข้ามาหลังจากที่งานก่อสร้างไปแล้ว 70% ดังนั้น การตรวจสอบของ ICEในบางเรื่องจึงเป็นการตรวจสอบจากเอกสารซึ่งเมื่อพบปัญหาก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทัน
กรณีการออกแบบการหนีไฟในสถานีที่ไม่ได้มาตรฐานนั้น แม้จะมีการปรับแก้ภายหลังแต่ ICE ก็จะไม่ให้การรับรอง โดยจะมีการระบุว่า ให้ Operator หรือผู้รับผิดชอบด้านการเดินรถรับรู้ว่าในหัวข้อดังกล่าวมีประเด็นความเสี่ยงอยู่ ดังนั้นการรับรองระบบความปลอดภัยโครงการแอร์พอร์ลิ้งก์ของ ICE จะเป็นการรับรองแต่ไม่เต็ม 100%
ด้าน นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการฯ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า หลังจากที่บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเหมางานระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนดในเดือน ก.พ. 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งถึงขณะนี้ประเมินค่าปรับตามสัญญาประมาณ 17 ล้านบาท โดยไม่รวมงานที่ยังมีปัญหาอีก 3 ส่วน โดยสัญญากำหนดค่าปรับไว้ที่ 0.05% ของงานที่เหลือ
สำหรับสัญญาก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงก์นั้น กำหนดให้กลุ่มกิจการร่วมค้า บี.กริมม์ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโครงสร้าง และบริษัท ซีเมนส์ จำกัด รับผิดชอบงานระบบ ต้องส่งมอบงานก่อสร้างและงานติดตั้งระบบให้ ร.ฟ.ท.ในวันที่ 6 ส.ค. 2552จากนั้นจะใช้เวลาในการทดสอบและเชื่อมระบบทั้งหมด (Integrated Test) อีก 3 เดือน หรือแล้วเสร็จใน 4 พ.ย. 2552 แต่เนื่องจากการก่อสร้างและติดตั้งระบบล่าช้า ทำให้การทดสอบระบบล่าช้าไปด้วย
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจรับงาน ซึ่งคาดว่าจะสามารถการเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ ได้ช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. 2553 เพราะนอกจากICE จะต้องให้การรับรองความปลอดภัยของระบบทั้งหมดแล้วในเรื่องความพร้อมด้านบุคลากรการเดินรถการให้บริการต่างๆ รวมถึงการจัดทำคู่มือการเดินรถ ตามมาตรฐาน จะต้องพร้อมและผ่านการรับรองจาก ICE ด้วย โดยขณะนี้ คู่มือจัดทำไปแล้วประมาณ 60% ส่วน เรื่องบุคลากรนั้น ร.ฟ.ท.จ้าง สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดหาและจ้าง Deutsche Bahn International (DBI) ฝึกอบรมให้ ซึ่งในส่วนพนักงานขับรถหลัก มีจำนวน 8 คน