เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ แตกธุรกิจผู้จัดจำหน่ายครบวงจร หลังซุ่มปรับโครงสร้างร่วมปี ชูจุดเด่นต้นน้ำยันปลายน้ำลดต้น 10% ชงทีมการตลาด-ขาย แก้เกมสมรภูมิค้าปลีกแข่งเดือด พฤติกรรมผู้บริโภคซับซ้อน ระมัดระวังการใช้เงิน ลั่น 2 ปี ขยายร้านค้า 1 แสนแห่ง เสริมแนวรบรุกจัดจำหน่ายต่างประเทศ ตั้งเป้า 5 ปี กวาดรายได้จาก 350 ล้านบาทปีที่ผ่านมา เป็น 4,200- 7,000 ล้านบาท
นายปฐพงษ์ เอี่ยมสุโร รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดเผยว่า บริษัทวางแผนรุกธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างครบวงจร หรือดูแลตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยดูแลด้านการตลาดเพื่อการสร้างแบรนด์
การขายและจัดจำหน่ายสินค้าในทุกช่องทาง บริการขนส่งและกระจายสินค้า บริการคลังสินค้าและบริหารจัดการคลังสินค้า บริการด้านศุลกากร และยื่นจดทะเบียนสินค้า ซึ่งนับว่าเป็นบริษัทที่พร้อมให้บริการในลักษณะวันสตอปเซอร์วิสสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค
ทั้งนี้ปัจจัยที่บริษัทหันมาดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายอย่างจริงจัง เนื่องจากการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ทั้งคู่แข่งจากสินค้าเฮาส์แบรนด์ และจากการทำลอยัลตี้โปรแกรม การเพิ่มของแหล่งชอปปิ้งตามไลฟ์สไตล์ หรือกระทั่งการชอปปิ้งทางอินเทอร์เน็ต อีกทั้งการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปีที่ผ่านมา ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป
โดยมีความระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย ต้องการสินค้าคุ้มค่า และแหล่งชอปปิ้งราคาถูก มีการแสวงหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ทำให้การทำตลาดของสินค้าแต่ละแบรนด์มีความยากมากขึ้น ประกอบกับผู้จัดจำหน่ายมีไม่มากนัก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีกำไรเป็นตัวเลขหลักเดียว
ก่อนหน้านี้บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างภายในบริษัทใหม่เมื่อปลายปี 2551 เพื่อรองรับกับการขยายธุรกิจจัดจำหน่าย โดยเดิมบริษัทมีด้วยกัน 5 ยูนิต ได้แก่ บีเจซี ฟู้ดส์ ,บีเจซี เซลล็อกซ์ ,บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง ,รูเบีย อุตสาหกรรม และบีเจซี โลจิสติกส์ ซึ่งได้แยกนำกลุ่มบีเจซี มาร์เก็ตติ้ง ดูแลด้านการตลาดและขายออกมาตั้งเป็นยูนิตใหม่
โดยมีทีมการตลาดที่มีความเชี่ยวชาญ และทีมขายที่ผลักดันสินค้าเข้าช่องทางจำหน่าย ซึ่งแบ่งการดูแลสินค้า 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มสินค้าบริโภค 2.กลุ่มของใช้ส่วนบุคคลและเครื่องสำอาง และ 3.กลุ่มของใช้ในครัวเรือน พร้อมกันนี้บริษัทยังมีศูนย์กระจายสินค้า 18 แห่งทั่วประเทศ มีหน่วยขายปลีก 56 หน่วย
อย่างไรก็ตาม บริษัทวางแผนการกระจายสินค้าไปสู่ร้านค้า 1 แสนแห่งทั่วประเทศ ไม่เกินภายใน 2 ปี จากปัจจุบันครอบคลุมกว่า 3 หมื่นร้านค้าทั่วประเทศ โดยด้านโมเดิร์นเทรดสัดส่วน 55% และเทรดิชันนัลเทรด 45% ขณะเดียวกันยังบริการจัดจำหน่ายสินค้าครอบคลุมไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า และวางแผนตั้งสำนักงาน โรงงานผลิตสินค้า
เพื่อรองรับการเปิดเขตเสรีการค้าอาเซียนหรืออาฟตา จากปัจจุบันมีโรงงานในประเทศมาเลเซีย และสำนักงานในเวียดนาม ขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเจ้าของสินค้า 3-4 ราย ทั้งในกลุ่มของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน
นายปฐพงษ์ กล่าวว่า การใช้บริการจัดจำหน่ายสามารถช่วยลดต้นทุน 10% สำหรับการดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายของบริษัท นับว่ามีความโดดเด่นโฟกัสสินค้า มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยก่อนหน้านั้นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็น รายได้สินค้าบริษัท 50% และ 50% เป็นการรับจัดจำหน่าย สำหรับการรุกขยายธุรกิจจัดจำหน่ายบริษัทตั้งเป้า 5 ปี เพิ่มรายได้รวมจากเมื่อปีที่ผ่านมา 7,000 ล้านบาท เป็น 14,000 ล้านบาท ในปี 2558 ซึ่งรายได้มาจากธุรกิจจัดจำหน่ายเพิ่มจาก 5% หรือ 350 ล้านบาท เป็น 30-50% หรือราว 4,200-7,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 50-70% เป็นรายได้สินค้าของบริษัท
นายปฐพงษ์ เอี่ยมสุโร รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดเผยว่า บริษัทวางแผนรุกธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างครบวงจร หรือดูแลตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยดูแลด้านการตลาดเพื่อการสร้างแบรนด์
การขายและจัดจำหน่ายสินค้าในทุกช่องทาง บริการขนส่งและกระจายสินค้า บริการคลังสินค้าและบริหารจัดการคลังสินค้า บริการด้านศุลกากร และยื่นจดทะเบียนสินค้า ซึ่งนับว่าเป็นบริษัทที่พร้อมให้บริการในลักษณะวันสตอปเซอร์วิสสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค
ทั้งนี้ปัจจัยที่บริษัทหันมาดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายอย่างจริงจัง เนื่องจากการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ทั้งคู่แข่งจากสินค้าเฮาส์แบรนด์ และจากการทำลอยัลตี้โปรแกรม การเพิ่มของแหล่งชอปปิ้งตามไลฟ์สไตล์ หรือกระทั่งการชอปปิ้งทางอินเทอร์เน็ต อีกทั้งการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปีที่ผ่านมา ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป
โดยมีความระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย ต้องการสินค้าคุ้มค่า และแหล่งชอปปิ้งราคาถูก มีการแสวงหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ทำให้การทำตลาดของสินค้าแต่ละแบรนด์มีความยากมากขึ้น ประกอบกับผู้จัดจำหน่ายมีไม่มากนัก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีกำไรเป็นตัวเลขหลักเดียว
ก่อนหน้านี้บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างภายในบริษัทใหม่เมื่อปลายปี 2551 เพื่อรองรับกับการขยายธุรกิจจัดจำหน่าย โดยเดิมบริษัทมีด้วยกัน 5 ยูนิต ได้แก่ บีเจซี ฟู้ดส์ ,บีเจซี เซลล็อกซ์ ,บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง ,รูเบีย อุตสาหกรรม และบีเจซี โลจิสติกส์ ซึ่งได้แยกนำกลุ่มบีเจซี มาร์เก็ตติ้ง ดูแลด้านการตลาดและขายออกมาตั้งเป็นยูนิตใหม่
โดยมีทีมการตลาดที่มีความเชี่ยวชาญ และทีมขายที่ผลักดันสินค้าเข้าช่องทางจำหน่าย ซึ่งแบ่งการดูแลสินค้า 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มสินค้าบริโภค 2.กลุ่มของใช้ส่วนบุคคลและเครื่องสำอาง และ 3.กลุ่มของใช้ในครัวเรือน พร้อมกันนี้บริษัทยังมีศูนย์กระจายสินค้า 18 แห่งทั่วประเทศ มีหน่วยขายปลีก 56 หน่วย
อย่างไรก็ตาม บริษัทวางแผนการกระจายสินค้าไปสู่ร้านค้า 1 แสนแห่งทั่วประเทศ ไม่เกินภายใน 2 ปี จากปัจจุบันครอบคลุมกว่า 3 หมื่นร้านค้าทั่วประเทศ โดยด้านโมเดิร์นเทรดสัดส่วน 55% และเทรดิชันนัลเทรด 45% ขณะเดียวกันยังบริการจัดจำหน่ายสินค้าครอบคลุมไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า และวางแผนตั้งสำนักงาน โรงงานผลิตสินค้า
เพื่อรองรับการเปิดเขตเสรีการค้าอาเซียนหรืออาฟตา จากปัจจุบันมีโรงงานในประเทศมาเลเซีย และสำนักงานในเวียดนาม ขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเจ้าของสินค้า 3-4 ราย ทั้งในกลุ่มของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน
นายปฐพงษ์ กล่าวว่า การใช้บริการจัดจำหน่ายสามารถช่วยลดต้นทุน 10% สำหรับการดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายของบริษัท นับว่ามีความโดดเด่นโฟกัสสินค้า มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยก่อนหน้านั้นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็น รายได้สินค้าบริษัท 50% และ 50% เป็นการรับจัดจำหน่าย สำหรับการรุกขยายธุรกิจจัดจำหน่ายบริษัทตั้งเป้า 5 ปี เพิ่มรายได้รวมจากเมื่อปีที่ผ่านมา 7,000 ล้านบาท เป็น 14,000 ล้านบาท ในปี 2558 ซึ่งรายได้มาจากธุรกิจจัดจำหน่ายเพิ่มจาก 5% หรือ 350 ล้านบาท เป็น 30-50% หรือราว 4,200-7,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 50-70% เป็นรายได้สินค้าของบริษัท