มอบ“กอร์ปศักดิ์” วิเคราะห์จุดอ่อนความสามารถในการแข่งขันไทย หลังพบเรตติ้งสองสถาบันลดฮวบ
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.เศรษฐกิจ รับทราบรายงานสถานภาพความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยปี 2552 ซึ่งจัดทำโดยเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum : WEF) โดยเปรียบเทียบผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ที่จัดทำโดยสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development : IMD) โดยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันในปี 2552 WEF ได้จัดอันดับของประเทศไทยลดลง 2 อันดับ จากอันดับที่ 34 ในปี 2551 มาเป็นอันดับที่ 36 ในปี 2552 จากการจัดอันดับทั้งหมด 131 ประเทศ ในขณะที่ IMD ได้ประกาศตัวเลขอันดับความสามารถของการแข่งขันปี 2552 โดยได้จัดอันดับให้ประเทศไทยดีขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 27 ในปี 2551 มาเป็นอันดับ 26 ในปี 2552 จากการจัดอันดับทั้งหมด 55 ประเทศ
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ยังมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้อันดับลดลงอย่างมาก เช่น ผลกระทบจากโรคร้ายแรง เป็นต้น ดังนั้น จึงควรจัดส่งเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยในระยะสั้นควรเน้นการแก้ไขปัญหาด้าน Business Operation เป็นลำดับแรก นอกจากนี้ ควรให้สถาบันการศึกษาในภูมิภาคร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาจุดอ่อนในเรื่องนวัตกรรมของไทยด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่า ควรนำรายงานในลักษณะเดียวกันของเจโทร และหอการค้าต่างประเทศมาพิจารณาด้วย
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาว เช่น ประสิทธิภาพในการผลิต และการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของแรงงานไทย ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร เป็นต้น และจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดที่เป็นจุดอ่อนของประเทศ และจัดส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นอกจากนี้ มอบหมายให้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวะสุ รองนายกฯ เป็นประธาน คณะกรรมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมข้อมูลให้กับ WEF และ IMD และดำเนินการวิเคราะห์จุดอ่อนด้านความสามารถในการแข่งขันของไทยให้ชัดเจน เพื่อดำเนินการจัดทำแนวทางการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.เศรษฐกิจ รับทราบรายงานสถานภาพความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยปี 2552 ซึ่งจัดทำโดยเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum : WEF) โดยเปรียบเทียบผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ที่จัดทำโดยสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development : IMD) โดยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันในปี 2552 WEF ได้จัดอันดับของประเทศไทยลดลง 2 อันดับ จากอันดับที่ 34 ในปี 2551 มาเป็นอันดับที่ 36 ในปี 2552 จากการจัดอันดับทั้งหมด 131 ประเทศ ในขณะที่ IMD ได้ประกาศตัวเลขอันดับความสามารถของการแข่งขันปี 2552 โดยได้จัดอันดับให้ประเทศไทยดีขึ้น 1 อันดับ จากอันดับ 27 ในปี 2551 มาเป็นอันดับ 26 ในปี 2552 จากการจัดอันดับทั้งหมด 55 ประเทศ
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ยังมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้อันดับลดลงอย่างมาก เช่น ผลกระทบจากโรคร้ายแรง เป็นต้น ดังนั้น จึงควรจัดส่งเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยในระยะสั้นควรเน้นการแก้ไขปัญหาด้าน Business Operation เป็นลำดับแรก นอกจากนี้ ควรให้สถาบันการศึกษาในภูมิภาคร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาจุดอ่อนในเรื่องนวัตกรรมของไทยด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่า ควรนำรายงานในลักษณะเดียวกันของเจโทร และหอการค้าต่างประเทศมาพิจารณาด้วย
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาว เช่น ประสิทธิภาพในการผลิต และการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของแรงงานไทย ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร เป็นต้น และจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดที่เป็นจุดอ่อนของประเทศ และจัดส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นอกจากนี้ มอบหมายให้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวะสุ รองนายกฯ เป็นประธาน คณะกรรมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมข้อมูลให้กับ WEF และ IMD และดำเนินการวิเคราะห์จุดอ่อนด้านความสามารถในการแข่งขันของไทยให้ชัดเจน เพื่อดำเนินการจัดทำแนวทางการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง