ปธ.แบงก์ EXIM ฟันธงค่าเงินบาทปี 53 แข็งค่าต่ำกว่า 33 บาท/ดอลลาร์ คาดปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวขึ้นซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยมีการค้ากับกลุ่มประเทศในเอเชียมากขึ้น บวกกับมีการใช้จ่ายภายในที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมกับฐานตัวเลข ศก.ปี 52 ที่ยังเป็นลบ ส่งผลให้ปี 53 ศก.โตเป็นบวกได้ 3% แน่นอน
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การค้าการเงินโลกยุคใหม่ AEC และเศรษฐกิจประเทศไทย” โดยระบุว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจการค้าโลกที่เกิดขึ้นส่งผลให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีความสำคัญมากขึ้นในขณะนี้ ด้านการค้าจะพบว่า ตู้คอนเทนเนอร์สินค้าส่งออกจากภูมิภาคนี้เมื่อปีที่แล้ว มีจำนวนมากเกินกว่า 200 ล้านตู้ สูงกว่าทวีปอเมริกาเหนือส่งออกประมาณ 5 เท่า ในขณะที่ประเทศไทยส่งออกสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศประมาณ 5-6 ล้านตู้ เวียดนามที่ส่งออกสินค้าประมาณ 2 ล้านกว่าตู้คอนเทนเนอร์
ส่วนด้านการเงินการเปลี่ยนแปลงการเงินโลก ขณะนี้การออมเอเชียมากกว่าการลงทุน ซึ่งภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นติดต่อกันหลายปี ซึ่งภาวะนี้รวมถึงประเทศไทยด้วย ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า ซึ่งเงินดังกล่าว กลายเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ โดยประเทศไทยคาดว่าปีนี้จะมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าความต้องการของไทย และปีนี้คาดว่า ประเทศไทยจะเกินดุลการค้าอีกปีนี้ไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเงินออมเหล่านี้ ประเทศในเอเชียได้นำไปลงทุนในตราสารสกุลเงินดอลลาร์ เงินออมจากเอเชียจึงไปลงทุนในตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐ ในขณะที่ตลาดเงิน ตลาดทุนโลก ยังกระจุกตัวที่ตะวันตก และจะยังทรงอิทธิพลต่อเนื่องไปอีกหลายปี และจะยังเน้นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอยู่ แต่ตลาดจะมีความสมดุลมากขึ้น โดยที่ตลาดทุนเอเชีย ก็จะมีการลงระหว่างกันมากขึ้น ตลาดจะขยายตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ความสำคัญของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง และส่งผลต่อเนื่องทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐลดลงตามไปด้วย
สำหรับอาเซี่ยนคอมมูนิตี้ หรือ AEC ที่จะเริ่มในปี ค.ศ. 2015 นับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุด และส่งผลให้การเดินหน้าของ AEC เข้ารูปร่างมากขึ้น เพราะสอดคล้องเข้าจังหวะกับเศรฐษกิจโลกที่เปลี่ยนมายังภูมิเอเชียแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียมากขึ้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการรวมเศรษฐกิจจีนและอินเดียเข้ามาไว้ด้วย
ดังนั้น ลำพังการค้าขายในกลุ่มอาเซี่ยนจะไม่เพียงพอ จะต้องขยายความร่วมมือทางการค้าออกไปเป็นข้อตกลงการค้าในลักษณะอาเซี่ยน บวก 3 คือ ผนวกเศรษฐกิจใหญ่ประกอบด้วย จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้าไปด้วย และการค้าอาเซี่ยนก็จำเป็นต้องขยายบวก 6 โดยเพิ่มอีก 3 เศรษฐกิจเข้าไปด้วยคือ เพิ่มออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งจะส่งผลให้ขนาดเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของอาเซียน ของอาเซี่ยน บวก 3 และบวก 6 เติบโตขึ้นได้อีกมาก ส่วนเศรษฐกิจไทย ยังขยายตัวได้ดีในปีนี้และปีหน้า
นายณรงค์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวตัดสินคือโครงสร้างเศรฐษกิจโลกและโครงสร้างการเงินโลกเป็นตัวกำหนด โดยเศรษฐกิจไทยปีหน้า 2553 และปี 2554 จะอยู่ภายใต้ โครงสร้างเศรษฐกิจโลก การเงินโลกที่ปรับเปลี่ยนจนทำให้เอเซียมีบทบาทนำ การรวมกลุ่มในเอเซีย โดยเฉพาะอาเซี่ยนบวก 3 บวก 6 จะเป็นประโยชน์กับไทยมากขึ้น โดยมี AEC เป็นกลไกผลักดันสำคัญ ทว่า ปัจจัยภายในประเทศโดยเฉพาะการเมือง จะยังไม่นิ่งอีกระยะหนึ่ง ดังนั้น ธุรกิจต้องปรับตัวเองมากขึ้น โดยการค้า และการส่งออกยังสำคัญ แต่ต้องปรับพึ่งตลาดเอเซียมากขึ้นโดยค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น
นายณรงค์ชัย กล่าวว่า ปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวขึ้นซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยมีการค้ากับกลุ่มประเทศในเอเชียมากขึ้น บวกกับมีการใช้จ่ายภายในที่เพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากปีนี้ เศรษฐกิจไทยเติบโตโดยรวมติดลบ ร้อยละ 3 เศษ แต่ปีหน้าคาดว่า เศรษฐกิจไทยจะโตเป็นบวกแน่ โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 3-5 เหตุเพราะการลงทุนของภาครัฐ โดย ธปท.คาด ว่า รัฐบาลจะลงทุนเพิ่มมากขึ้น จากที่ปีนี้รัฐบาลลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.5-7.5 และปีหน้าการลงทุนของรัฐจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 3-5 ส่วนอัตราดอกเบี้ยคาดว่า จะปรับขึ้นได้เล็กน้อยในช่วงท้ายปี ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนคาดว่า เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนคาดว่าจะต่ำกว่า 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแน่
ด้านนายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือ กล่าวถึงแนวโน้มการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารของไทยว่า มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากวิกฤตดูไบเวิล์ดและวิกฤตเศรษฐกิจโลกคลี่คลายลงระดับหนึ่ง ส่งผลให้การส่งออกสามารถพึ่งพิงตลาดหลักเดิมๆ อย่างสหรัฐ ได้มากขึ้น แต่ตลาดหลักจะเป็นตลาดในอาเซียนมากขึ้น เพราะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปีหน้า การเปิดเสรีการค้าของกลุ่มอาเซียนจะทำให้ปริมาณการค้าระหว่างกันเพิ่มสูงขึ้น บวกกับอาเซียนยังทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก 3 และอาเซียนบวก 6 อีกด้วย ปัจจัยเหล่านี้ จะทำให้การค้าในกลุ่ม GMS เพิ่มมากขึ้นในขณะที่แต่ละอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบและผลประโยชน์ต่างกันออกไป
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การค้าการเงินโลกยุคใหม่ AEC และเศรษฐกิจประเทศไทย” โดยระบุว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจการค้าโลกที่เกิดขึ้นส่งผลให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีความสำคัญมากขึ้นในขณะนี้ ด้านการค้าจะพบว่า ตู้คอนเทนเนอร์สินค้าส่งออกจากภูมิภาคนี้เมื่อปีที่แล้ว มีจำนวนมากเกินกว่า 200 ล้านตู้ สูงกว่าทวีปอเมริกาเหนือส่งออกประมาณ 5 เท่า ในขณะที่ประเทศไทยส่งออกสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศประมาณ 5-6 ล้านตู้ เวียดนามที่ส่งออกสินค้าประมาณ 2 ล้านกว่าตู้คอนเทนเนอร์
ส่วนด้านการเงินการเปลี่ยนแปลงการเงินโลก ขณะนี้การออมเอเชียมากกว่าการลงทุน ซึ่งภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นติดต่อกันหลายปี ซึ่งภาวะนี้รวมถึงประเทศไทยด้วย ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า ซึ่งเงินดังกล่าว กลายเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ โดยประเทศไทยคาดว่าปีนี้จะมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าความต้องการของไทย และปีนี้คาดว่า ประเทศไทยจะเกินดุลการค้าอีกปีนี้ไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเงินออมเหล่านี้ ประเทศในเอเชียได้นำไปลงทุนในตราสารสกุลเงินดอลลาร์ เงินออมจากเอเชียจึงไปลงทุนในตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐ ในขณะที่ตลาดเงิน ตลาดทุนโลก ยังกระจุกตัวที่ตะวันตก และจะยังทรงอิทธิพลต่อเนื่องไปอีกหลายปี และจะยังเน้นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอยู่ แต่ตลาดจะมีความสมดุลมากขึ้น โดยที่ตลาดทุนเอเชีย ก็จะมีการลงระหว่างกันมากขึ้น ตลาดจะขยายตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ความสำคัญของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง และส่งผลต่อเนื่องทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐลดลงตามไปด้วย
สำหรับอาเซี่ยนคอมมูนิตี้ หรือ AEC ที่จะเริ่มในปี ค.ศ. 2015 นับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุด และส่งผลให้การเดินหน้าของ AEC เข้ารูปร่างมากขึ้น เพราะสอดคล้องเข้าจังหวะกับเศรฐษกิจโลกที่เปลี่ยนมายังภูมิเอเชียแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียมากขึ้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการรวมเศรษฐกิจจีนและอินเดียเข้ามาไว้ด้วย
ดังนั้น ลำพังการค้าขายในกลุ่มอาเซี่ยนจะไม่เพียงพอ จะต้องขยายความร่วมมือทางการค้าออกไปเป็นข้อตกลงการค้าในลักษณะอาเซี่ยน บวก 3 คือ ผนวกเศรษฐกิจใหญ่ประกอบด้วย จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้าไปด้วย และการค้าอาเซี่ยนก็จำเป็นต้องขยายบวก 6 โดยเพิ่มอีก 3 เศรษฐกิจเข้าไปด้วยคือ เพิ่มออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งจะส่งผลให้ขนาดเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของอาเซียน ของอาเซี่ยน บวก 3 และบวก 6 เติบโตขึ้นได้อีกมาก ส่วนเศรษฐกิจไทย ยังขยายตัวได้ดีในปีนี้และปีหน้า
นายณรงค์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวตัดสินคือโครงสร้างเศรฐษกิจโลกและโครงสร้างการเงินโลกเป็นตัวกำหนด โดยเศรษฐกิจไทยปีหน้า 2553 และปี 2554 จะอยู่ภายใต้ โครงสร้างเศรษฐกิจโลก การเงินโลกที่ปรับเปลี่ยนจนทำให้เอเซียมีบทบาทนำ การรวมกลุ่มในเอเซีย โดยเฉพาะอาเซี่ยนบวก 3 บวก 6 จะเป็นประโยชน์กับไทยมากขึ้น โดยมี AEC เป็นกลไกผลักดันสำคัญ ทว่า ปัจจัยภายในประเทศโดยเฉพาะการเมือง จะยังไม่นิ่งอีกระยะหนึ่ง ดังนั้น ธุรกิจต้องปรับตัวเองมากขึ้น โดยการค้า และการส่งออกยังสำคัญ แต่ต้องปรับพึ่งตลาดเอเซียมากขึ้นโดยค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น
นายณรงค์ชัย กล่าวว่า ปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวขึ้นซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยมีการค้ากับกลุ่มประเทศในเอเชียมากขึ้น บวกกับมีการใช้จ่ายภายในที่เพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากปีนี้ เศรษฐกิจไทยเติบโตโดยรวมติดลบ ร้อยละ 3 เศษ แต่ปีหน้าคาดว่า เศรษฐกิจไทยจะโตเป็นบวกแน่ โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 3-5 เหตุเพราะการลงทุนของภาครัฐ โดย ธปท.คาด ว่า รัฐบาลจะลงทุนเพิ่มมากขึ้น จากที่ปีนี้รัฐบาลลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.5-7.5 และปีหน้าการลงทุนของรัฐจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 3-5 ส่วนอัตราดอกเบี้ยคาดว่า จะปรับขึ้นได้เล็กน้อยในช่วงท้ายปี ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนคาดว่า เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนคาดว่าจะต่ำกว่า 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแน่
ด้านนายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือ กล่าวถึงแนวโน้มการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารของไทยว่า มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากวิกฤตดูไบเวิล์ดและวิกฤตเศรษฐกิจโลกคลี่คลายลงระดับหนึ่ง ส่งผลให้การส่งออกสามารถพึ่งพิงตลาดหลักเดิมๆ อย่างสหรัฐ ได้มากขึ้น แต่ตลาดหลักจะเป็นตลาดในอาเซียนมากขึ้น เพราะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปีหน้า การเปิดเสรีการค้าของกลุ่มอาเซียนจะทำให้ปริมาณการค้าระหว่างกันเพิ่มสูงขึ้น บวกกับอาเซียนยังทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก 3 และอาเซียนบวก 6 อีกด้วย ปัจจัยเหล่านี้ จะทำให้การค้าในกลุ่ม GMS เพิ่มมากขึ้นในขณะที่แต่ละอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบและผลประโยชน์ต่างกันออกไป