สทท.เตรียมจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระตุ้นท่องเที่ยวรายภูมิภาค เน้นรูปแบบเครือข่ายท่องเที่ยวเชื่อมโยง เผยการจัดประชุมกรรมการนอกสถานที่ พบปัญหา นักท่องเที่ยวกระจุกตัวแค่จังหวัดหลัก จึงต้องเร่งจัดการ พร้อมโปรยเงิน 10 ล้านบาท จ้างจุฬาฯทำโมเดลดัชนีตัวเลขนักท่องเที่ยว ฟันธงสิ้นปียอดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ 13.6 ล้านคน
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) เปิดเผยว่า สทท.เตรียมตั้งคณะทำงานบริหารและพัฒนาโครงการ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์แผนท่องเที่ยวให้แก่ภาคเอกชนเป็นรายภูมิภาค โดยจะเริ่มต้นจากภาคเหนือเป็นอันดับแรก คาดว่าจะเริ่มโครงการได้ในเดือน ม.ค.53
**จัดทำยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวภูมิภาค
ทั้งนี้จากการจัดประชุมคณะกรรมการสทท.นอกสถานที่ โดยเริ่ม จ.ลำปางเป็นแห่งแรก พบว่าภาคเอกชนที่ต้องการให้ สทท. ช่วยคิดหาวิธีโปรโมตท่องเที่ยวในจังหวัดรอง หรือเมืองรองบ้าง เนื่องจากปัจจุบันนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ส่วนใหญ่กระจุกตัวแต่ในแหล่งท่องเที่ยวของเมืองหลัก เช่น เชียงใหม่ มีนักท่องเที่ยวต่อปี 4-5 ล้านคน
ส่วนเมืองรอง อย่าง ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ มีจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ถึง 10% ของจังหวัดหลักหรือราว 5 แสนคน และเกือบ 100% เป็นคนไทย ซึ่งสทท.จะร่วมกับหน่วยงานอื่นๆบูรณาการแผนงานนี้ร่วมกัน เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ช่วยเรื่องคิดนวัตกรรม แนวคิดใหม่ๆด้านท่องเที่ยว กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะช่วยเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศให้แก่ผู้ประกอบการ ส่วนกระทรวงแรงงานช่วยเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน
“แผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว จะคล้ายกับแผนยุทธศาสตร์ของสภาหอการค้าฯ โดยเราต้องมีทีมงานไปร่วมกับเอกชนและหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ ในการจัดเก็บข้อมูลแล้วนำมาประมวล จุดแข็ง จุดอ่อน ความเสี่ยง และโอกาสทางธุรกิจ โดยรวมถึงการพยากรณ์เพื่อวางแผนงานไปข้างหน้า รวมถึงจัดทำกรณีศึกษาด้วย ซึ่งจะต่างกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาระกิจของสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อแผนนี้เสร็จจะทำให้ภาคเอกชนมีความแข็งแกร่งในการทำธุรกิจรู้หลักที่จะลดความเสี่ยงของตัวเองได้”
**เน้นท่องเที่ยวเชื่อมโยงให้จังหวัดรองได้อานิสงส์
ผู้ประกอบการในภาคเหนือยังต้องการให้สทท.วางยุทธศาสตร์เป็นการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยง เป็นการเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด และ การเชื่อโยงระหว่างประเทศ เช่น พม่า และ ลาว ซึ่งมีดินแดนติดกับประเทศไทย ปัจจุบันก็มีถนนเชื่อมระหว่างกัน ซึ่ง สทท.จะจัดเป็นกิจกรรม เช่นการแข่งแรลลี่จักรยาน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการเดินทางของนักท่องเที่ยวเชื่อมถึงกัน
นายกงกฤช กล่าวอีกว่า จากโครงการดังกล่าวข้างต้น สทท.ได้เตรียมขยายผลให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาบุคคลากร โดยเตรียมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในระดับบริหาร เพื่อเปลี่ยนทัศนคติและเตรียมรับมือกับการแข่งขันที่เป็นผลจากการเปิดเสรีอาเซียนที่จะเริ่มตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป โดยเน้นกลุ่มผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย(เอสเอ็มอี) ซึ่งยอมรับว่าส่วนใหญ่ยังมีความรู้เพียงพอว่า เอฟทีเอจะให้ผลดีอย่างไร เพราะมองเห็นแต่ข้อเสียเปรียบ ซึ่งในความเป็นจริงสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้อย่างมากมาย เช่น การใช้วิธีปกป้องโดยไม่ใช้กฎหมายเพราะจะขัดกับข้อตกลงเอฟทีเอ รูปแบบนี้ยุโรปได้ใช้การแพร่หลาย เช่น การประกาศเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดข้อจำกัดของนักท่องเที่ยวเองว่า สมควรจะเลือกใช้บริการท่องเที่ยวจากแหล่งที่รักสิ่งแวดล้อมหรือทำลบายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
**เท 10 ลบ.ทำโมเดลดัชนีนักท่องเที่ยว
ด้านการจัดทำดัชนีตัวเลขนักท่องเที่ยว ล่าสุดได้ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาทมาจากการช่วยเหลือของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยส่วนหนึ่ง และ ของ สทท.อีกส่วนหนึ่ง โดยว่าจ้างให้จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จัดทำเป็นโมเดลการพยากรณ์ตัวเลขนักท่องเที่ยว และสถานการณ์นักท่องเที่ยว
โดยจะมีการคำนวนโดยเก็บข้อมูล มาประกอบกับปัจจัยผันแปรต่างๆ ที่จะมีผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มหรือลดลงในแต่ละปี เป็นโมเดลที่จะใช้พยายกรณ์ความเสี่ยงในปีต่อๆ เพื่อให้ภาพเอกชนใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ เช่น หากคำนวณพบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวไฮซีซั่นนี้จะเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซนต์ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ของที่ระลึก และอื่นๆ ก็สามารถเตรียมสต็อกสินค้าได้เพียงพอสำหรับจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการโรงแรม และทัวร์ ก็เตรียมจัดการบริการเพื่ออำนวยความสะดวกได้เพียงพอ เป็นต้น
“ที่ผ่านเป็นการบอกเพียงตัวเลขที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนการมองไปข้างหน้าเป็นเรื่องของการคาดการณ์จากความรู้สึก จากการประมาณการ ไม่ได้เกิดจากการคิดคำนวณ จากปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทำให้กระทบต่อการเตรียมความพร้อมในด้านการให้บริการ ตรงนี้จึงเป็นสูญญากาศสำคัญที่ สทท.ต้องตีออกมาให้เป็นข้อมูลที่เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยว” นายกงกฤชกล่าว
อย่างไรก็ตาม แผนงานที่กล่าวมาทั้งหมด สทท.จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่มกราคม 2553 และทยอยเห็นเป็นรูปธรรมในไตรมาสที่สอง โดยเฉพาะเรื่องแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวระดับภูมิภาค และ ดัชนีตัวเลขนักท่องเที่ยว โดยแต่ละโครงการจะเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลเป็นรายโครงการ เนื่องจากสทท.ไม่ได้เป็นองค์กรที่ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี
สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้ ประเมินว่าจะได้ 13.6 ล้านคน เพิ่มจากเดิมที่เคยประเมินว่าจะได้ 13.18 ล้านคน เป็นเพราะทิศทางเศรษบกิจเริ่มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และการเมืองไทยก็สงบ ส่วนตัวเลข 14 ล้านคน ตามที่ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวตั้งไว้ คงเป็นไปไม่ได้ ซึ่ง 13.6 ล้านคน ถือเป็นตัวเลขที่ดีมาก เมื่อเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี โดยลดลงจากปีก่อน เพียง 1 ล้านคน
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) เปิดเผยว่า สทท.เตรียมตั้งคณะทำงานบริหารและพัฒนาโครงการ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์แผนท่องเที่ยวให้แก่ภาคเอกชนเป็นรายภูมิภาค โดยจะเริ่มต้นจากภาคเหนือเป็นอันดับแรก คาดว่าจะเริ่มโครงการได้ในเดือน ม.ค.53
**จัดทำยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวภูมิภาค
ทั้งนี้จากการจัดประชุมคณะกรรมการสทท.นอกสถานที่ โดยเริ่ม จ.ลำปางเป็นแห่งแรก พบว่าภาคเอกชนที่ต้องการให้ สทท. ช่วยคิดหาวิธีโปรโมตท่องเที่ยวในจังหวัดรอง หรือเมืองรองบ้าง เนื่องจากปัจจุบันนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ส่วนใหญ่กระจุกตัวแต่ในแหล่งท่องเที่ยวของเมืองหลัก เช่น เชียงใหม่ มีนักท่องเที่ยวต่อปี 4-5 ล้านคน
ส่วนเมืองรอง อย่าง ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ มีจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ถึง 10% ของจังหวัดหลักหรือราว 5 แสนคน และเกือบ 100% เป็นคนไทย ซึ่งสทท.จะร่วมกับหน่วยงานอื่นๆบูรณาการแผนงานนี้ร่วมกัน เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ช่วยเรื่องคิดนวัตกรรม แนวคิดใหม่ๆด้านท่องเที่ยว กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะช่วยเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศให้แก่ผู้ประกอบการ ส่วนกระทรวงแรงงานช่วยเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน
“แผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว จะคล้ายกับแผนยุทธศาสตร์ของสภาหอการค้าฯ โดยเราต้องมีทีมงานไปร่วมกับเอกชนและหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ ในการจัดเก็บข้อมูลแล้วนำมาประมวล จุดแข็ง จุดอ่อน ความเสี่ยง และโอกาสทางธุรกิจ โดยรวมถึงการพยากรณ์เพื่อวางแผนงานไปข้างหน้า รวมถึงจัดทำกรณีศึกษาด้วย ซึ่งจะต่างกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาระกิจของสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อแผนนี้เสร็จจะทำให้ภาคเอกชนมีความแข็งแกร่งในการทำธุรกิจรู้หลักที่จะลดความเสี่ยงของตัวเองได้”
**เน้นท่องเที่ยวเชื่อมโยงให้จังหวัดรองได้อานิสงส์
ผู้ประกอบการในภาคเหนือยังต้องการให้สทท.วางยุทธศาสตร์เป็นการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยง เป็นการเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด และ การเชื่อโยงระหว่างประเทศ เช่น พม่า และ ลาว ซึ่งมีดินแดนติดกับประเทศไทย ปัจจุบันก็มีถนนเชื่อมระหว่างกัน ซึ่ง สทท.จะจัดเป็นกิจกรรม เช่นการแข่งแรลลี่จักรยาน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการเดินทางของนักท่องเที่ยวเชื่อมถึงกัน
นายกงกฤช กล่าวอีกว่า จากโครงการดังกล่าวข้างต้น สทท.ได้เตรียมขยายผลให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาบุคคลากร โดยเตรียมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในระดับบริหาร เพื่อเปลี่ยนทัศนคติและเตรียมรับมือกับการแข่งขันที่เป็นผลจากการเปิดเสรีอาเซียนที่จะเริ่มตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป โดยเน้นกลุ่มผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย(เอสเอ็มอี) ซึ่งยอมรับว่าส่วนใหญ่ยังมีความรู้เพียงพอว่า เอฟทีเอจะให้ผลดีอย่างไร เพราะมองเห็นแต่ข้อเสียเปรียบ ซึ่งในความเป็นจริงสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้อย่างมากมาย เช่น การใช้วิธีปกป้องโดยไม่ใช้กฎหมายเพราะจะขัดกับข้อตกลงเอฟทีเอ รูปแบบนี้ยุโรปได้ใช้การแพร่หลาย เช่น การประกาศเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดข้อจำกัดของนักท่องเที่ยวเองว่า สมควรจะเลือกใช้บริการท่องเที่ยวจากแหล่งที่รักสิ่งแวดล้อมหรือทำลบายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
**เท 10 ลบ.ทำโมเดลดัชนีนักท่องเที่ยว
ด้านการจัดทำดัชนีตัวเลขนักท่องเที่ยว ล่าสุดได้ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาทมาจากการช่วยเหลือของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยส่วนหนึ่ง และ ของ สทท.อีกส่วนหนึ่ง โดยว่าจ้างให้จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จัดทำเป็นโมเดลการพยากรณ์ตัวเลขนักท่องเที่ยว และสถานการณ์นักท่องเที่ยว
โดยจะมีการคำนวนโดยเก็บข้อมูล มาประกอบกับปัจจัยผันแปรต่างๆ ที่จะมีผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มหรือลดลงในแต่ละปี เป็นโมเดลที่จะใช้พยายกรณ์ความเสี่ยงในปีต่อๆ เพื่อให้ภาพเอกชนใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ เช่น หากคำนวณพบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวไฮซีซั่นนี้จะเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซนต์ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ของที่ระลึก และอื่นๆ ก็สามารถเตรียมสต็อกสินค้าได้เพียงพอสำหรับจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการโรงแรม และทัวร์ ก็เตรียมจัดการบริการเพื่ออำนวยความสะดวกได้เพียงพอ เป็นต้น
“ที่ผ่านเป็นการบอกเพียงตัวเลขที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนการมองไปข้างหน้าเป็นเรื่องของการคาดการณ์จากความรู้สึก จากการประมาณการ ไม่ได้เกิดจากการคิดคำนวณ จากปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทำให้กระทบต่อการเตรียมความพร้อมในด้านการให้บริการ ตรงนี้จึงเป็นสูญญากาศสำคัญที่ สทท.ต้องตีออกมาให้เป็นข้อมูลที่เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยว” นายกงกฤชกล่าว
อย่างไรก็ตาม แผนงานที่กล่าวมาทั้งหมด สทท.จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่มกราคม 2553 และทยอยเห็นเป็นรูปธรรมในไตรมาสที่สอง โดยเฉพาะเรื่องแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวระดับภูมิภาค และ ดัชนีตัวเลขนักท่องเที่ยว โดยแต่ละโครงการจะเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลเป็นรายโครงการ เนื่องจากสทท.ไม่ได้เป็นองค์กรที่ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี
สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้ ประเมินว่าจะได้ 13.6 ล้านคน เพิ่มจากเดิมที่เคยประเมินว่าจะได้ 13.18 ล้านคน เป็นเพราะทิศทางเศรษบกิจเริ่มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และการเมืองไทยก็สงบ ส่วนตัวเลข 14 ล้านคน ตามที่ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวตั้งไว้ คงเป็นไปไม่ได้ ซึ่ง 13.6 ล้านคน ถือเป็นตัวเลขที่ดีมาก เมื่อเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี โดยลดลงจากปีก่อน เพียง 1 ล้านคน