อ.ส.ค. ชงครม.ออกมาตรการสกัดนมผงทะลักเถื่อน หลังเปิดเขตเสรีการค้าอาเซียน แนะปรับระบบการจัดซื้อตั้งคณะกรรมการกลางตรวจสอบ จ่อปัดฝุ่นผุดโรงงานผลิตนมผงเด็กรอบใหม่ ทุ่มงบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท รับวิกฤตน้ำนมดิบล้นตลาด ด้านไทย-เดนมาร์ค เท 80 ล้านบาท ลุยการตลาดเต็มสูบ หวังดูดแชร์เพิ่ม 35%
นางรัตนา อังศุภากร รองผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า ผลจากการเปิดเขตเสรีการค้าอาเซียน มีผลทำให้ภาษีนำเข้านมผงเหลือ 0% ในวันที่ 1 มกราตม 2553 ซึ่งมีแนวโน้มว่ามีการนำเข้านมผงเถื่อนจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น และสร้างผลกระทบให้กับน้ำนมดิบล้นตลาด หลังจากปีนี้เกิดปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด 300 ตันต่อวัน ดังนั้นทางคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม มีมติที่ประชุมเสนอมาตรการปรับระบบการจัดซื้อนมดิบใหม่ต่อการประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้านี้
ทั้งนี้ได้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการกลาง เพื่อตรวจสอบการจัดซื้อนมดิบ และการผลิตนมโรงเรียนจะต้องนำนมดิบมาผลิตตามที่กฎหมายระบุ หลังจากในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการใช้นมผงมาผสม เพื่อได้ต้นทุนการผลิตต่ำ ซึ่งมีผลต่อการเสนอราคาประมูลนมโรงเรียนต่ำเพียง 5 บาท ทั้งนี้กระบวนการตรวจสอบจะยึดหลักปริมาณการซื้อน้ำนมดิบเป็นหลัก จากปัจจุบันน้ำนมดิบมูลค่าตลาด 8,000 ล้านบาท โฟร์โมสต์ เป็นผู้นำตลาดนมโรงเรียน ส่วนไทย-เดนมาร์ค มียอดขายกว่า 1,000 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ยังนำแผนการจัดตั้งโรงงานผลิตนมผงสำหรับเด็กของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นมาทบทวนอีกครั้ง เพื่อรองรับกับปัญหานมดิบล้นตลาดที่เกิดขึ้นจากการเปิดเขตเสรีการค้าอาเซียนและการเปิดเขตเสรีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยผลิตภัณฑ์และตลาดจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และจุฬาลงกรณ์ ซึ่งคาดว่านมผงสำหรับเด็กใช้ภายใต้แบรนด์ไทย –เดนมาร์ค
“เราพยายามทำทุกกระบวนการ เพื่อป้องกันนมดิบล้นตลาด โดยในปีหน้าภาครัฐให้งบประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท จากงบปีนี้1,000 ล้านบาท สำหรับการเพิ่มโควต้าขยายวันการดื่มนมโรงเรียนเพิ่ม อาทิ เด็กนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลและประถมศึกษาที่ 4 เพิ่มจาก 5 วัน เป็น 7 วัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามอ.ส.ค.ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการฟาร์มให้กับเกษตรกร”
สำหรับแผนการตลาดในปีหน้านมไทย-เดนมาร์ค ได้ทุ่มงบการตลาด 80ล้านบาท จากปีนี้ 60ล้านบาท เพื่อสร้างการรู้และขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยนำร่องทุ่ม 5 ล้านบาท พัฒนาท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อสร้างแบรนด์ผ่านการท่องเที่ยว ซึ่งจะเปิดตัวเป็นทางการในปีหน้านี้ อีกทั้งขยายช่องทางจำหน่ายโมเดิร์นเทรด ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการเพิ่มตัวแทนจำหน่าย และรุกตลาดภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งยังเป็นรองโฟร์โมสต์และหนองโพ พร้อมทั้งมีการปรับบรรจุภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
ผลประกอบการปีนี้ 5,500 ล้านบาท ในปีหน้าตั้งเป้า 6,000 ล้านบาท หรือมีการเติบโต 5% และมีส่วนแบ่งเพิ่มจาก 33% เป็น 35% ในปีหน้านี้ ส่วนโฟร์โมสต์ มีส่วนกว่า 50% หนองโพ 11-12% จากตลาดนมพร้อมดื่มโดยรวม 3.5 หมื่นล้านบาทในปีนี้สภาพตลาดติดลบ 1%
นางรัตนา อังศุภากร รองผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า ผลจากการเปิดเขตเสรีการค้าอาเซียน มีผลทำให้ภาษีนำเข้านมผงเหลือ 0% ในวันที่ 1 มกราตม 2553 ซึ่งมีแนวโน้มว่ามีการนำเข้านมผงเถื่อนจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น และสร้างผลกระทบให้กับน้ำนมดิบล้นตลาด หลังจากปีนี้เกิดปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด 300 ตันต่อวัน ดังนั้นทางคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม มีมติที่ประชุมเสนอมาตรการปรับระบบการจัดซื้อนมดิบใหม่ต่อการประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้านี้
ทั้งนี้ได้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการกลาง เพื่อตรวจสอบการจัดซื้อนมดิบ และการผลิตนมโรงเรียนจะต้องนำนมดิบมาผลิตตามที่กฎหมายระบุ หลังจากในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการใช้นมผงมาผสม เพื่อได้ต้นทุนการผลิตต่ำ ซึ่งมีผลต่อการเสนอราคาประมูลนมโรงเรียนต่ำเพียง 5 บาท ทั้งนี้กระบวนการตรวจสอบจะยึดหลักปริมาณการซื้อน้ำนมดิบเป็นหลัก จากปัจจุบันน้ำนมดิบมูลค่าตลาด 8,000 ล้านบาท โฟร์โมสต์ เป็นผู้นำตลาดนมโรงเรียน ส่วนไทย-เดนมาร์ค มียอดขายกว่า 1,000 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ยังนำแผนการจัดตั้งโรงงานผลิตนมผงสำหรับเด็กของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นมาทบทวนอีกครั้ง เพื่อรองรับกับปัญหานมดิบล้นตลาดที่เกิดขึ้นจากการเปิดเขตเสรีการค้าอาเซียนและการเปิดเขตเสรีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยผลิตภัณฑ์และตลาดจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และจุฬาลงกรณ์ ซึ่งคาดว่านมผงสำหรับเด็กใช้ภายใต้แบรนด์ไทย –เดนมาร์ค
“เราพยายามทำทุกกระบวนการ เพื่อป้องกันนมดิบล้นตลาด โดยในปีหน้าภาครัฐให้งบประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท จากงบปีนี้1,000 ล้านบาท สำหรับการเพิ่มโควต้าขยายวันการดื่มนมโรงเรียนเพิ่ม อาทิ เด็กนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลและประถมศึกษาที่ 4 เพิ่มจาก 5 วัน เป็น 7 วัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามอ.ส.ค.ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการฟาร์มให้กับเกษตรกร”
สำหรับแผนการตลาดในปีหน้านมไทย-เดนมาร์ค ได้ทุ่มงบการตลาด 80ล้านบาท จากปีนี้ 60ล้านบาท เพื่อสร้างการรู้และขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยนำร่องทุ่ม 5 ล้านบาท พัฒนาท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อสร้างแบรนด์ผ่านการท่องเที่ยว ซึ่งจะเปิดตัวเป็นทางการในปีหน้านี้ อีกทั้งขยายช่องทางจำหน่ายโมเดิร์นเทรด ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการเพิ่มตัวแทนจำหน่าย และรุกตลาดภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งยังเป็นรองโฟร์โมสต์และหนองโพ พร้อมทั้งมีการปรับบรรจุภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
ผลประกอบการปีนี้ 5,500 ล้านบาท ในปีหน้าตั้งเป้า 6,000 ล้านบาท หรือมีการเติบโต 5% และมีส่วนแบ่งเพิ่มจาก 33% เป็น 35% ในปีหน้านี้ ส่วนโฟร์โมสต์ มีส่วนกว่า 50% หนองโพ 11-12% จากตลาดนมพร้อมดื่มโดยรวม 3.5 หมื่นล้านบาทในปีนี้สภาพตลาดติดลบ 1%