ASTVผู้จัดการรายวัน – อ.ส.ค. จ่อคิวชงภาครัฐขยายการจัดซื้อนมโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียน หรือเดิมเกมเพิ่มความถี่การดื่ม-จำนวนวัน แก้ปัญหานมดิบล้นตลาด วางยุทธศาสตร์ปรับการผลิตนมโรงเรียนเพิ่ม ลุยสร้างการรับรู้นม อ.ส.ค.ช่วยชาติ พร้อมขยายช่องทางจำหน่ายเจาะทุกภาคทั่วประเทศ สิ้นปียอดนมโรงเรียนกวาด 600-700 ล้านบาท และนมพาณิชย์ 4,000 ล้านบาท
นายโกวิทย์ นิธิชัย หัวหน้าสำนักการตลาด องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายนมไทย-เดนมาร์ค และนมโรงเรียน เปิดเผยว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด ด้วยการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ขยายการจัดซื้อนมโรงเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 เป็นนมยู.เอช.ที. โดยอ.ส.ค.รับซื้อน้ำนมดิบในปริมาณ 200
ตันต่อวัน จากปริมาณน้ำนมดิบที่ล้นตลาดอยู่ 336 ตันต่อวัน ทำให้ขณะนี้ อ.ส.ค. ซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 544 ตัน
ดังนั้นอ.ส.ค. จึงได้เตรียมนำแนวทางแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด โดยการเสนอแก่คณะรัฐมนตรีขยายการซื้อนมโรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน จากปัจจุบันภาครัฐให้งบประมาณชั้นประถมปี 1-4 และเพิ่งขยายสู่ชั้นปีที่ 5-6 หรือกระทั่งการเพิ่มความถี่ในการดื่ม จากปกติ 1 ถุงต่อวัน และเพิ่มจำนวนวัน จากปกติจะดื่ม 5 วัน ใน 1 สัปดาห์ หรือประมาณ 260 วัน ในช่วง 1 ปี ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าในช่วง 1 ปี มีการเติบโตของลูกวัวใหม่ 10%
สำหรับด้านกำลังผลิตจากการมีโรงงาน 5 แห่ง ได้แก่ จ.สระบุรี ปราณบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ และสุโขทัย ประมาณ 480 ตันต่อวัน โดยสัดส่วนตลาดนมพาณิชย์ไทย-เดนมาร์ค และนมโรงเรียนของอ.ส.ค. อยู่ที่ 85% และ 15% ตามลำดับ แต่จากภาระที่ต้องรับน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น ทำให้อ.ส.ค.ต้องเพิ่มสัดส่วนการทำตลาดนมโรงเรียนเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 2-3 เท่าตัว หรือมากกว่า 30% เพื่อแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นให้ได้ อ.ส.ค. ต้องขยายเขตพื้นที่การจำหน่ายนมโรงเรียนให้ครอบคลุมทุกภาค
อ.ส.ค.วางยุทธศาสตร์ในการสร้างการรับรู้ต่อผลิตภัณฑ์นม อ.ส.ค.ให้กับองค์กรต่างๆ ได้แก่ การให้อ.ส.ค.เป็นองค์กรของรัฐที่ให้ความร่วมมือในการสนองนโยบาย ดังนั้นการจัดซื้อนมโรงเรียนที่ผลิตโดยอ.ส.ค. เท่ากับเป็นการสนองนโยบายรัฐ และนมโรงเรียน อ.ส.ค.ผลิตด้วยระบบและมาตรฐานเดียวกับนมไทย-เดนมาร์ค โดยนมโรงเรียนมีตรา อ.ส.ค.กำกับอยู่ข้างกล่อง ดังนั้นคุณภาพนมโรงเรียนและนมไทย-เดนมาร์คที่ผลิตโดยอ.ส.ค. จึงเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ได้การรับรองคุณภาพ
แผนการกระตุ้นให้ อบต.หันมาซื้อมากขึ้นนั้น จะใช้วิธีจัดสัมมนากับอบต.ทั่วประเทศในการร่วมรณรงค์บริโภคนมโรงเรียนอย่างมีคุณภาพ เพื่อตอกย้ำว่า นมไทย-เดนมาร์ค ไม่มีส่วนผสมนมผง นอกจากนี้จะจัดโครงการเยี่ยมชมโรงงานและฟาร์มของ อ.ส.ค. อีกทั้งจะจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับโรงเรียนอย่างไรก็ตาม ปีที่แล้วสัดส่วนรายได้นมโรงเรียนอยู่ที่ 560 ล้านบาท และนมพาณิชย์ 3,300 ล้านบาท สิ้นปีนี้อ.ส.ค.ตั้งเป้ารายได้นมโรงเรียน 600-700 ล้านบาท และนมพาณิชย์ 4,000 ล้านบาท
สำหรับตลาดนมโดยรวมมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2552 สภาพตลาดติดลบแต่เดือนเมษายน เติบโต 1.6% อย่างไรก็ตามสำหรับการทำตลาดนมไทย-เดนมาร์ค วางแผนปรับภาพลักษณ์ เพื่อทำให้แบรนด์มีความทันสมัย จากปัจจุบันฐานลูกค้าหลักอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งผลจากการปรับภาพลักษณ์ทำให้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทย-เดนมาร์คมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้น 2%
โดยปีนี้บริษัทใช้งบการตลาด 50 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาใช้ 35 ล้านบาท พร้อมกันนี้ขยายฐานลูกค้าพื้นที่ภาคใต้และภาคเหนือ เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งจากโฟร์โมสต์ผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 54-55% และรั้งอันดับ 2 จากการมีส่วนแบ่ง 33% และหนองโพ 10-11%
นายโกวิทย์ นิธิชัย หัวหน้าสำนักการตลาด องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายนมไทย-เดนมาร์ค และนมโรงเรียน เปิดเผยว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด ด้วยการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ขยายการจัดซื้อนมโรงเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 เป็นนมยู.เอช.ที. โดยอ.ส.ค.รับซื้อน้ำนมดิบในปริมาณ 200
ตันต่อวัน จากปริมาณน้ำนมดิบที่ล้นตลาดอยู่ 336 ตันต่อวัน ทำให้ขณะนี้ อ.ส.ค. ซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 544 ตัน
ดังนั้นอ.ส.ค. จึงได้เตรียมนำแนวทางแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด โดยการเสนอแก่คณะรัฐมนตรีขยายการซื้อนมโรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน จากปัจจุบันภาครัฐให้งบประมาณชั้นประถมปี 1-4 และเพิ่งขยายสู่ชั้นปีที่ 5-6 หรือกระทั่งการเพิ่มความถี่ในการดื่ม จากปกติ 1 ถุงต่อวัน และเพิ่มจำนวนวัน จากปกติจะดื่ม 5 วัน ใน 1 สัปดาห์ หรือประมาณ 260 วัน ในช่วง 1 ปี ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าในช่วง 1 ปี มีการเติบโตของลูกวัวใหม่ 10%
สำหรับด้านกำลังผลิตจากการมีโรงงาน 5 แห่ง ได้แก่ จ.สระบุรี ปราณบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ และสุโขทัย ประมาณ 480 ตันต่อวัน โดยสัดส่วนตลาดนมพาณิชย์ไทย-เดนมาร์ค และนมโรงเรียนของอ.ส.ค. อยู่ที่ 85% และ 15% ตามลำดับ แต่จากภาระที่ต้องรับน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น ทำให้อ.ส.ค.ต้องเพิ่มสัดส่วนการทำตลาดนมโรงเรียนเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 2-3 เท่าตัว หรือมากกว่า 30% เพื่อแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นให้ได้ อ.ส.ค. ต้องขยายเขตพื้นที่การจำหน่ายนมโรงเรียนให้ครอบคลุมทุกภาค
อ.ส.ค.วางยุทธศาสตร์ในการสร้างการรับรู้ต่อผลิตภัณฑ์นม อ.ส.ค.ให้กับองค์กรต่างๆ ได้แก่ การให้อ.ส.ค.เป็นองค์กรของรัฐที่ให้ความร่วมมือในการสนองนโยบาย ดังนั้นการจัดซื้อนมโรงเรียนที่ผลิตโดยอ.ส.ค. เท่ากับเป็นการสนองนโยบายรัฐ และนมโรงเรียน อ.ส.ค.ผลิตด้วยระบบและมาตรฐานเดียวกับนมไทย-เดนมาร์ค โดยนมโรงเรียนมีตรา อ.ส.ค.กำกับอยู่ข้างกล่อง ดังนั้นคุณภาพนมโรงเรียนและนมไทย-เดนมาร์คที่ผลิตโดยอ.ส.ค. จึงเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ได้การรับรองคุณภาพ
แผนการกระตุ้นให้ อบต.หันมาซื้อมากขึ้นนั้น จะใช้วิธีจัดสัมมนากับอบต.ทั่วประเทศในการร่วมรณรงค์บริโภคนมโรงเรียนอย่างมีคุณภาพ เพื่อตอกย้ำว่า นมไทย-เดนมาร์ค ไม่มีส่วนผสมนมผง นอกจากนี้จะจัดโครงการเยี่ยมชมโรงงานและฟาร์มของ อ.ส.ค. อีกทั้งจะจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับโรงเรียนอย่างไรก็ตาม ปีที่แล้วสัดส่วนรายได้นมโรงเรียนอยู่ที่ 560 ล้านบาท และนมพาณิชย์ 3,300 ล้านบาท สิ้นปีนี้อ.ส.ค.ตั้งเป้ารายได้นมโรงเรียน 600-700 ล้านบาท และนมพาณิชย์ 4,000 ล้านบาท
สำหรับตลาดนมโดยรวมมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2552 สภาพตลาดติดลบแต่เดือนเมษายน เติบโต 1.6% อย่างไรก็ตามสำหรับการทำตลาดนมไทย-เดนมาร์ค วางแผนปรับภาพลักษณ์ เพื่อทำให้แบรนด์มีความทันสมัย จากปัจจุบันฐานลูกค้าหลักอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งผลจากการปรับภาพลักษณ์ทำให้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทย-เดนมาร์คมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้น 2%
โดยปีนี้บริษัทใช้งบการตลาด 50 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาใช้ 35 ล้านบาท พร้อมกันนี้ขยายฐานลูกค้าพื้นที่ภาคใต้และภาคเหนือ เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งจากโฟร์โมสต์ผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 54-55% และรั้งอันดับ 2 จากการมีส่วนแบ่ง 33% และหนองโพ 10-11%