สคร.ตั้งเป้าพัฒนาขนส่งระบบรางปี 53 กว่า 1.8 แสนล้านบาท พร้อมหารือก.ล.ต.ตั้งกองทุนสาธารณูปโภคสำหรับรัฐวิสาหกิจมูลค่าเกิน 5 พันล้านบาทลดต้นทุนองค์กรและเพิ่มทางเลือกการลงทุนสำหรับประชาชน
นายกุลิศ สมบัติศิริ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2553 นี้ สคร.วางเป้าหมายการดำเนินงานว่าจะเร่งเดินหน้าพัฒนาระบบราง วงเงินลงทุน 1.8 แสนล้านบาท และตั้งกองทุนสาธารณูปโภค ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกร่างประกาศการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้ว
การตั้งกองทุนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้น จะให้รัฐวิสาหกิจที่มีแผนลงทุน เช่น กิจการด้านพลังงาน ระบบขนส่ง การประปา โดยต้องประสานกับกระทรวงการคลัง ก.ล.ต. เพื่อตั้งกองทุนมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท ระดมทุนจากประชาชนทั่วไปที่สนใจซื้อหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาตลาดทุน เป็นทางเลือกใหม่ให้นักลงทุน โดยขณะนี้มีรัฐวิสาหกิจ 2-3 รายสนใจตั้งกองทุนดังกล่าวแล้ว หากได้ข้อสรุปแล้วด้านกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แล้ว จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจาณาเร็วๆ นี้
แนวทางการให้รัฐวิสาหกิจร่วมกันลงทุนเพื่อลดต้นทุนให้องค์กร เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) บริษัททีโอที จำกัด(มหาชน) และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) มีแผนที่จะขยายการลงทุนของแต่ละองค์กรอยู่แล้ว แทนที่แต่ละองค์จะลงทุนเอง ควรหาแนวทางลดต้นทุนด้วยการร่วมการลงทุน เนื่องจาก กฟผ.ได้วางระบบไฟเบอร์ออฟติกส์ไว้แล้ว จึงต้องการให้ทีโอทีและกสท.ไปใช้โครงขายเคเบิลใยแก้วนำแสงดังกล่าวโดยไม่ต้องลงทุนใหม่ ซึ่งสคร.ได้เตรียมผู้บริหารองค์กรดังกล่าวมาหารือร่วมกันแล้ว
ส่วนการเข้าไปทบทวนสัญญาต่างๆ ที่รัฐวิสาหกิจได้ให้สัมปทานกับเอกชน เพื่อตรวจสอบดูว่าได้ทำตามข้อตกลงที่ทำกับรัฐวิสาหกิจหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ เช่น สัญญาสัมปทานของ ทีโอที กสท. บริษัท อสมท. จำกัด(มหาชน) โดยคณะกรรมการที่กระทรวงการคลังส่งเข้าไปเป็นตัวแทน จะตรวจสอบสัญญาต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ หากสัญญาใดต้องแก้ไข จะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา เพื่อเสนอต่อครม. เพื่อให้รัฐวิสาหกิจไม่ได้รับความเสียหายหรือกระทบต่อรายได้ของรัฐที่ควรจะได้รับ
นายกุลิศ สมบัติศิริ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2553 นี้ สคร.วางเป้าหมายการดำเนินงานว่าจะเร่งเดินหน้าพัฒนาระบบราง วงเงินลงทุน 1.8 แสนล้านบาท และตั้งกองทุนสาธารณูปโภค ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกร่างประกาศการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้ว
การตั้งกองทุนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้น จะให้รัฐวิสาหกิจที่มีแผนลงทุน เช่น กิจการด้านพลังงาน ระบบขนส่ง การประปา โดยต้องประสานกับกระทรวงการคลัง ก.ล.ต. เพื่อตั้งกองทุนมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท ระดมทุนจากประชาชนทั่วไปที่สนใจซื้อหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาตลาดทุน เป็นทางเลือกใหม่ให้นักลงทุน โดยขณะนี้มีรัฐวิสาหกิจ 2-3 รายสนใจตั้งกองทุนดังกล่าวแล้ว หากได้ข้อสรุปแล้วด้านกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แล้ว จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจาณาเร็วๆ นี้
แนวทางการให้รัฐวิสาหกิจร่วมกันลงทุนเพื่อลดต้นทุนให้องค์กร เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) บริษัททีโอที จำกัด(มหาชน) และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) มีแผนที่จะขยายการลงทุนของแต่ละองค์กรอยู่แล้ว แทนที่แต่ละองค์จะลงทุนเอง ควรหาแนวทางลดต้นทุนด้วยการร่วมการลงทุน เนื่องจาก กฟผ.ได้วางระบบไฟเบอร์ออฟติกส์ไว้แล้ว จึงต้องการให้ทีโอทีและกสท.ไปใช้โครงขายเคเบิลใยแก้วนำแสงดังกล่าวโดยไม่ต้องลงทุนใหม่ ซึ่งสคร.ได้เตรียมผู้บริหารองค์กรดังกล่าวมาหารือร่วมกันแล้ว
ส่วนการเข้าไปทบทวนสัญญาต่างๆ ที่รัฐวิสาหกิจได้ให้สัมปทานกับเอกชน เพื่อตรวจสอบดูว่าได้ทำตามข้อตกลงที่ทำกับรัฐวิสาหกิจหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ เช่น สัญญาสัมปทานของ ทีโอที กสท. บริษัท อสมท. จำกัด(มหาชน) โดยคณะกรรมการที่กระทรวงการคลังส่งเข้าไปเป็นตัวแทน จะตรวจสอบสัญญาต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ หากสัญญาใดต้องแก้ไข จะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา เพื่อเสนอต่อครม. เพื่อให้รัฐวิสาหกิจไม่ได้รับความเสียหายหรือกระทบต่อรายได้ของรัฐที่ควรจะได้รับ