กทช.เคาะราคากลางใบอนุญาต 3G ที่ 4,600 และ5,200 ล้านบาทโดนประเมินมูลค่าความถี่ 3G จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์รวม 4 ใบอนุญาตอายุ 15 ปี ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ไม่ถึงแสนล้านตามพวกช่างจินตนาการ ด้านรองเลขาฯกทช.ย้ำทำได้แค่ประชาพิจารณ์ ขั้นตอนประมูลต้องรอกฤษฎีกาตีความอำนาจ กทช.
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่าบอร์ดกทช.จะประชุมเรื่อง 3G ครั้งสุดท้ายในวันที่ 27 ต.ค.ที่จะถึงนี้ หลังจากนั้นจะนำข้อมูลขึ้นเว็บ และทำการประชาพิจารณ์ภายใน 15 วันหรือล่าช้ากว่าเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 5 พ.ย.ออกไปเล็กน้อย
‘วันนี้ท่านเศรษฐพรไม่อยู่ไปต่างประเทศ คงต้องรอประชุมครั้งหน้าให้กทช.ครบ 6 คนซึ่งจะเป็นการประชุมเรื่อง 3G เป็นครั้งสุดท้าย’
อย่างไรก็ตามการประชุมครั้งนี้มีความชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องราคากลางหรือราคาเริ่มต้นประมูลซึ่งจะเป็นราคาเดียวกัน ส่วนเรื่องนอมินีหรือการเป็นบริษัทต่างชาติก็มีกม.ที่ดูแลโดยเฉพาะและมีความชัดเจนอยู่แล้ว โดยในระหว่างนี้สำนักงานกทช.จะหารือที่ปรึกษาในประเด็นต่างๆอาทิ หากมีผู้เข้าร่วมประมูลเพียง 1-2 รายหรือไม่เท่าจำนวนใบอนุญาตที่จะประมูลจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมรอบด้าน
‘หากประชาพิจารณ์รอบสองไม่มีใครติดใจสงสัยอะไร ก็น่าจะเดินหน้าประมูลได้ตามแผนภายในสิ้นปีนี้ แต่หากมีข้อสงสัยที่ยังตอบไม่ได้ ก็คงต้องกลับมาพิจารณากันใหม่อีก ส่วนกรณีราคากลางที่ 4,600 ล้านบาทกับ 5,200 ล้านบาทน่าจะเป็นตัวเลขที่เหมาะสมและตอบคำถามนายกฯได้ ซึ่งเราก็เป็นกังวลเกรงจะถูกต่อว่าตั้งราคาต่ำไป แต่ตอนประมูลจริงราคาจะขึ้นไปมากแค่ไหนก็อยู่ที่ความต้องการใบอนุญาต 3G ของเอกชน’
นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการกทช.กล่าวว่าการประชุมบอร์ดกทช.เมื่อวันที่ 21 ต.ค. มีมติเห็นชอบราคาเริ่มต้นและราคากลางการประมูลเป็นราคาเดียวกันตามที่บริษัท เนรา ที่ปรึกษาประเมินไว้ โดยราคาของคลื่นความถี่ 10 เมกะเฮิรตซ์อยู่ที่ใบละ 4,600 ล้านบาท และคลื่นความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์อยู่ที่ 5,200 ล้านบาทราคาดังกล่าวเกิดจากการประเมินตามหลักเศรษฐศาสตร์ กลไกของตลาด และความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี
ทั้งนี้เนราได้ประเมินมูลค่าความถี่ 3G ที่จะนำมาประมูลทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์ไว้ราว 40,000 ล้านบาท โดยประเมินจากอายุของใบอนุญาต 15 ปี และมูลค่าดังกล่าวได้ตัดการลดทอนความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี และระยะเวลาการคืนทุนของผู้ประกอบการออกไปแล้ว 47 %
นอกจากนี้ที่ประชุมกทช.ยังมีมติเลื่อนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างสรุปข้อสนเทศและการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G ออกไปเป็นวันที่ 12 พ.ย. 52 จากเดิมกำหนดไว้ในวันที่ 5 พ.ย.และยังได้มีมติเพิ่มประเด็นทำประชาพิจารณ์อีก 2 เรื่องได้แก่ 1.ความเห็นเกี่ยวกับราคาเริ่มต้นและราคากลางที่กทช.มีมติเห็นชอบตามที่บริษัทที่ปรึกษาประเมินไว้กับประเด็นให้ใช้ตัวเลขราคากลางและราคาเริ่มต้นเป็นราคาเดียวกัน 2.คือระยะเวลาการยื่นเอกสารของเอกชนที่เข้าร่วมการประมูลจากเดิมที่กำหนดไว้เพียง 30 วันว่าเพียงพอหรือไม่ หากไม่เพียงพอควรเลื่อนออกไปเป็น 45 วัน หรือ 60 วันซึ่งประเด็นดังกล่าวมีผลต่อกรอบระยะเวลาการประมูล
นายประเสริฐกล่าวว่า กทช.จะส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความมาตรา 47 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ระบุว่าเป็นอำนาจของกสทช.เท่านั้นหรือไม่ในสัปดาห์หน้า โดยในระหว่างนี้กทช.มีอำนาจหน้าที่เพียงการทำประชาพิจารณ์เท่านั้น ส่วนการดำเนินการในขั้นต่อไปจำเป็นต้องรอคำตอบจากกฤษฎีกา
***สหภาพฯเสวนา 3G
วานนี้ (21 ต.ค.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที ได้จัดเสวนาเรื่องการนำคลื่นย่านความถี่ 3G มาบริหารประเทศจริงหรือ ตั้งแต่เวลา 9.00-12.00 น. โดยมีร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร( ไอซีที) กล่าวเปิดเสวนาและมีนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความและประธานสหภาพรัฐวิสาหกิจของทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม เข้าร่วมเสวนาโดยงานดังกล่าวมีพนักงานทีโอทีและกสทเข้าร่วมราว 20-30 คน
สำหรับประเด็นหลักที่ถูกพูดถึงในการเสวนาครั้งนี้ยังคงเป็นประเด็นเกี่ยวกับมาตรา 47 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550ที่ระบุว่าอำนาจการจัดทำแผนแม่บทและดูแลกิจการโทรคมนาคมเป็นของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องการเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้าร่วมการประมูลที่สัดส่วน 49 % เป็นการปิดกั้นผู้ประกอบการไทยเพราะผู้ประกอบการไทยมีเงินลงทุนไม่มากเท่าต่างชาติ
นอกจากนี้ยังมีการเปิดประเด็นว่าการประมูลคลื่นความถี่ทำให้เอกชนได้ความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติไปครอบครองนานถึง15 ปีและการประมูลดังกล่าวทำให้เกิดการลงทุนซ้ำซ้อนจึงมีการเสนอให้ใช้วิธีรัฐเป็นผู้ลงทุนทำโครงการกลางแล้วเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าโครงข่ายเปิดเสรีด้านบริการหรือที่เรียกว่าการทำ MVNO (Mobile Virtual Network Operator)
ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานทีดีอาร์ไอกล่าวว่า ในการกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลไลเซ่นส์ 3G ของกทช.จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากคลื่นความถี่ดังกล่าวถือว่ามีมูลค่ามหาศาล หากประเมินจากผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ โดยเฉพาะ 3 รายเดิมในตลาดคิดเป็นมูลค่ารวมถึง 3.3 แสนล้านบาท
ทั้งนี้จึงไม่เห็นด้วยที่กทช.จะประมูลใบไลเซ่นส์พร้อมกันทั้ง 4 ใบ เพราะไม่มีประเทศใดที่มีผู้ได้รับใบอนุญาต 3G มากกว่าระบบ 2G เดิม เนื่องจากตลาด 3G ไม่ได้ใหญ่มาก ดังนั้นประเทศไทยซึ่งมีผู้ให้บริการอยู่แล้ว 3 รายก็น่าจะเพียงพอ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเปิดประมูลพร้อมกัน 4 ใบ ที่สุดผู้ที่ได้รับประโยชน์ประกอบ ด้วยผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ให้บริการ 2G ปัจจุบันและกทช.
ร.ต.หญิงระนองรักษ์ รมว.ไอซีที กล่าวว่าเพื่อเป็นการรองรับการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงขึ้นบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ต้องเร่งทุ่มเม็ดเงินโฆษณาประชา สัมพันธ์สินค้าและบริการของทั้ง 2 บริษัท เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้กับผู้บริโภคและเป็นอีกทางเลือกของบริการ
นอกจากนี้ทีโอที และ กสท ควรจะเร่งประเมินความเสี่ยงจากการประมูลใบอนุญาต 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้เห็นตัวอย่างชัดเจน เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขให้สามารถแข่งขันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากที่ผ่านมาทั้ง 2 หน่วยงานไม่เคยประเมินความเสี่ยงออกมาเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตามกรณีการปล่อยให้ผู้ประกอบการที่มีต่างชาติถือหุ้นอยู่ 49% เป็นเรื่องที่ไม่สามารถรับได้เพราะกิจการโทรคมนาคมเกี่ยวข้องกับความมั่นคงและการดำเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นการปิดกั้นผู้ประกอบการไทยอย่างมากเพราะผู้ประกอบการไทยมีเงินลงทุนน้อยกว่าต่างชาติ ส่วนความคืบหน้า 3Gทั่วประเทศของทีโอทีผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยเบื้องต้นคาดว่าเงินลงทุนจะอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่าบอร์ดกทช.จะประชุมเรื่อง 3G ครั้งสุดท้ายในวันที่ 27 ต.ค.ที่จะถึงนี้ หลังจากนั้นจะนำข้อมูลขึ้นเว็บ และทำการประชาพิจารณ์ภายใน 15 วันหรือล่าช้ากว่าเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 5 พ.ย.ออกไปเล็กน้อย
‘วันนี้ท่านเศรษฐพรไม่อยู่ไปต่างประเทศ คงต้องรอประชุมครั้งหน้าให้กทช.ครบ 6 คนซึ่งจะเป็นการประชุมเรื่อง 3G เป็นครั้งสุดท้าย’
อย่างไรก็ตามการประชุมครั้งนี้มีความชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องราคากลางหรือราคาเริ่มต้นประมูลซึ่งจะเป็นราคาเดียวกัน ส่วนเรื่องนอมินีหรือการเป็นบริษัทต่างชาติก็มีกม.ที่ดูแลโดยเฉพาะและมีความชัดเจนอยู่แล้ว โดยในระหว่างนี้สำนักงานกทช.จะหารือที่ปรึกษาในประเด็นต่างๆอาทิ หากมีผู้เข้าร่วมประมูลเพียง 1-2 รายหรือไม่เท่าจำนวนใบอนุญาตที่จะประมูลจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมรอบด้าน
‘หากประชาพิจารณ์รอบสองไม่มีใครติดใจสงสัยอะไร ก็น่าจะเดินหน้าประมูลได้ตามแผนภายในสิ้นปีนี้ แต่หากมีข้อสงสัยที่ยังตอบไม่ได้ ก็คงต้องกลับมาพิจารณากันใหม่อีก ส่วนกรณีราคากลางที่ 4,600 ล้านบาทกับ 5,200 ล้านบาทน่าจะเป็นตัวเลขที่เหมาะสมและตอบคำถามนายกฯได้ ซึ่งเราก็เป็นกังวลเกรงจะถูกต่อว่าตั้งราคาต่ำไป แต่ตอนประมูลจริงราคาจะขึ้นไปมากแค่ไหนก็อยู่ที่ความต้องการใบอนุญาต 3G ของเอกชน’
นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการกทช.กล่าวว่าการประชุมบอร์ดกทช.เมื่อวันที่ 21 ต.ค. มีมติเห็นชอบราคาเริ่มต้นและราคากลางการประมูลเป็นราคาเดียวกันตามที่บริษัท เนรา ที่ปรึกษาประเมินไว้ โดยราคาของคลื่นความถี่ 10 เมกะเฮิรตซ์อยู่ที่ใบละ 4,600 ล้านบาท และคลื่นความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์อยู่ที่ 5,200 ล้านบาทราคาดังกล่าวเกิดจากการประเมินตามหลักเศรษฐศาสตร์ กลไกของตลาด และความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี
ทั้งนี้เนราได้ประเมินมูลค่าความถี่ 3G ที่จะนำมาประมูลทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์ไว้ราว 40,000 ล้านบาท โดยประเมินจากอายุของใบอนุญาต 15 ปี และมูลค่าดังกล่าวได้ตัดการลดทอนความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี และระยะเวลาการคืนทุนของผู้ประกอบการออกไปแล้ว 47 %
นอกจากนี้ที่ประชุมกทช.ยังมีมติเลื่อนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างสรุปข้อสนเทศและการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G ออกไปเป็นวันที่ 12 พ.ย. 52 จากเดิมกำหนดไว้ในวันที่ 5 พ.ย.และยังได้มีมติเพิ่มประเด็นทำประชาพิจารณ์อีก 2 เรื่องได้แก่ 1.ความเห็นเกี่ยวกับราคาเริ่มต้นและราคากลางที่กทช.มีมติเห็นชอบตามที่บริษัทที่ปรึกษาประเมินไว้กับประเด็นให้ใช้ตัวเลขราคากลางและราคาเริ่มต้นเป็นราคาเดียวกัน 2.คือระยะเวลาการยื่นเอกสารของเอกชนที่เข้าร่วมการประมูลจากเดิมที่กำหนดไว้เพียง 30 วันว่าเพียงพอหรือไม่ หากไม่เพียงพอควรเลื่อนออกไปเป็น 45 วัน หรือ 60 วันซึ่งประเด็นดังกล่าวมีผลต่อกรอบระยะเวลาการประมูล
นายประเสริฐกล่าวว่า กทช.จะส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความมาตรา 47 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ระบุว่าเป็นอำนาจของกสทช.เท่านั้นหรือไม่ในสัปดาห์หน้า โดยในระหว่างนี้กทช.มีอำนาจหน้าที่เพียงการทำประชาพิจารณ์เท่านั้น ส่วนการดำเนินการในขั้นต่อไปจำเป็นต้องรอคำตอบจากกฤษฎีกา
***สหภาพฯเสวนา 3G
วานนี้ (21 ต.ค.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที ได้จัดเสวนาเรื่องการนำคลื่นย่านความถี่ 3G มาบริหารประเทศจริงหรือ ตั้งแต่เวลา 9.00-12.00 น. โดยมีร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร( ไอซีที) กล่าวเปิดเสวนาและมีนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความและประธานสหภาพรัฐวิสาหกิจของทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม เข้าร่วมเสวนาโดยงานดังกล่าวมีพนักงานทีโอทีและกสทเข้าร่วมราว 20-30 คน
สำหรับประเด็นหลักที่ถูกพูดถึงในการเสวนาครั้งนี้ยังคงเป็นประเด็นเกี่ยวกับมาตรา 47 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550ที่ระบุว่าอำนาจการจัดทำแผนแม่บทและดูแลกิจการโทรคมนาคมเป็นของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องการเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้าร่วมการประมูลที่สัดส่วน 49 % เป็นการปิดกั้นผู้ประกอบการไทยเพราะผู้ประกอบการไทยมีเงินลงทุนไม่มากเท่าต่างชาติ
นอกจากนี้ยังมีการเปิดประเด็นว่าการประมูลคลื่นความถี่ทำให้เอกชนได้ความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติไปครอบครองนานถึง15 ปีและการประมูลดังกล่าวทำให้เกิดการลงทุนซ้ำซ้อนจึงมีการเสนอให้ใช้วิธีรัฐเป็นผู้ลงทุนทำโครงการกลางแล้วเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าโครงข่ายเปิดเสรีด้านบริการหรือที่เรียกว่าการทำ MVNO (Mobile Virtual Network Operator)
ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานทีดีอาร์ไอกล่าวว่า ในการกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลไลเซ่นส์ 3G ของกทช.จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากคลื่นความถี่ดังกล่าวถือว่ามีมูลค่ามหาศาล หากประเมินจากผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ โดยเฉพาะ 3 รายเดิมในตลาดคิดเป็นมูลค่ารวมถึง 3.3 แสนล้านบาท
ทั้งนี้จึงไม่เห็นด้วยที่กทช.จะประมูลใบไลเซ่นส์พร้อมกันทั้ง 4 ใบ เพราะไม่มีประเทศใดที่มีผู้ได้รับใบอนุญาต 3G มากกว่าระบบ 2G เดิม เนื่องจากตลาด 3G ไม่ได้ใหญ่มาก ดังนั้นประเทศไทยซึ่งมีผู้ให้บริการอยู่แล้ว 3 รายก็น่าจะเพียงพอ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเปิดประมูลพร้อมกัน 4 ใบ ที่สุดผู้ที่ได้รับประโยชน์ประกอบ ด้วยผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ให้บริการ 2G ปัจจุบันและกทช.
ร.ต.หญิงระนองรักษ์ รมว.ไอซีที กล่าวว่าเพื่อเป็นการรองรับการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงขึ้นบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ต้องเร่งทุ่มเม็ดเงินโฆษณาประชา สัมพันธ์สินค้าและบริการของทั้ง 2 บริษัท เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้กับผู้บริโภคและเป็นอีกทางเลือกของบริการ
นอกจากนี้ทีโอที และ กสท ควรจะเร่งประเมินความเสี่ยงจากการประมูลใบอนุญาต 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้เห็นตัวอย่างชัดเจน เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขให้สามารถแข่งขันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากที่ผ่านมาทั้ง 2 หน่วยงานไม่เคยประเมินความเสี่ยงออกมาเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตามกรณีการปล่อยให้ผู้ประกอบการที่มีต่างชาติถือหุ้นอยู่ 49% เป็นเรื่องที่ไม่สามารถรับได้เพราะกิจการโทรคมนาคมเกี่ยวข้องกับความมั่นคงและการดำเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นการปิดกั้นผู้ประกอบการไทยอย่างมากเพราะผู้ประกอบการไทยมีเงินลงทุนน้อยกว่าต่างชาติ ส่วนความคืบหน้า 3Gทั่วประเทศของทีโอทีผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยเบื้องต้นคาดว่าเงินลงทุนจะอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท