ทีต้า เตรียมร่อนหนังสือจี้ สพท.และหน่วยงานเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว ตื่น หันมาจัดระบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว และสร้างจิตสำนึกชุมชน หลังพบไทยล้าหลังจีนด้านระบบบริหารจัดการถึง 10 ปี ชี้ประเทศจีน ที่เมืองตุนหวง มีระบบการดูแลแหล่งท่องเที่ยวดีเลิศ
นางดวงกมล จันสุริยวงศ์ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย(สทอ.) หรือ ทีต้า เปิดเผยว่า จะทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุทยานแห่งชาติ และ กรมพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อขอหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และการจัดทำมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว เพื่อป้องกันไม่ให้แหล่งท่องเที่ยวนั้นๆเกิดความเสื่อมโทรมจากการที่มนุษย์เดินทางเข้าไปท่องเที่ยว
ทั้งนี้เพราะประเทศไทยยังไม่มีระบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่ดี ทำให้แหล่งท่องเที่ยวเกิดความเสื่อมโทรมได้ง่าย ประกอบกับประชาชนในพื้นที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจและความรับผิดชอบในการเป็นเจ้าของสถานที่ที่จะต้องช่วยกันดูแล ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นปัจจัยสำคัญ ให้แหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยเกิดการเสื่อมโทรมได้อย่างรวดเร็ว แม้จะเปิดบริการให้แก่นักท่องเที่ยวได้เพียงไม่กี่ปี
***ยกจีนเป็นกรณีศึกษา*****
โดยในการหารือ จะหยิบยกประเทศจีน เป็นต้นแบบของการจัดระบบด้านบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของชุมชน เพราะจากการเดินทางไปสำรวจแหล่งท่องเที่ยวที่เมืองตุนหวง มณฑลกานซู่ ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์อายุกว่า 4 พันปี มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งนี้เป็นมรดกโลก และวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นถ้ำสวยงามจำนวนมากนับพันถ้ำ
แต่ละทางเข้าถ้ำจะมีเครื่องชี้วัดความชื้นภายใน ถ้าสัญญาณเป็นสีแดงแสดงว่าคนเยอะความชื้นสูง ต้องรอจนสัญญาณเป็นสีเขียว จึงเข้าไปได้ และภายในถ้ำยังมีกระจกปิดในบางส่วนเป้องกันนไม่ให้นักท่องเที่ยวเอื้อมมือไปแตะต้อง หากพบขยะ หรือซากสัตว์ตายบนพื้นดินหรือในน้ำหรือถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยว น้ำตก หรือธารน้ำ ถ้าพบขยะ หรือซากสัตว์ลอยน้ำมา ไกด์ หรือคนขับเรือจะหยุดทันทีเพื่อเก็บขยะนั้นขึ้นมาก่อน สะท้อนว่าประชาชนเขามีจิตสำนึกร่วมกันดีมาก
**ไทยยังล้าหลังอีก 10 ปี ***
“เมื่อเห็นระบบการจัดการของเข้าแล้วย้อมมองกลับมาที่ประเทศไทยแทบไม่เห็นอนาคตเลย เราไม่มีระบบการจัดการที่ดี แหล่งท่องเที่ยวเราก็จะทรุดโทรมเร็ว ซึ่งไทยคงต้องใช้เวลาอีกเป็น 10 ปีจึงตามทัน แต่ก็ต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ ไม่เช่นนั้น เราจะล้าลังอย่างเทียบไม่ติด “
ข้อเสียของประเทศไทยก็คือ เมื่อพบแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม จะเปิดทีเดียวทั้งหมด ไม่แบ่งพัฒนาที่จะโซน ซึ่งวิธีคิดนี้ผิดกับประเทศจีนมาก เพราะเขาจะเปิดที่ละโซนๆ โดยรอจนกว่าแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆจะได้รับการจัดการด้านระบบให้เพรียกพร้อมก่อนจึงเปิด วิธีนี้ ทำให้แหล่งทองเที่ยวไม่ถูกทำลาย และ ยังสามารถสร้างการมาซ้ำในคราวต่อไปของนักท่องเที่ยวได้อีกเมื่อมีการเปิดให้บริการโซนใหม่ๆเพิ่มเติม
***คลอดเส้นทางอีโคทัวร์รับงานITBปีหน้า***
สำหรับความคืบหน้าโครงการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวยุโรป-ไทยเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้ยั่งยืนหรือ CSR-MAP ที่ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศยุโรป ล่าสุดได้มีการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการระยะ 3 เดือนแรก โดยสามารถจัดทำมาตรฐานได้เสร็จแล้ว 3 รายการจากทั้งหมด 4 รายการตามข้อตกลง ได้แก่ มาตรฐานอีโคทัวริสซึ่ม มาตรฐานร้านอาหารและมาตรฐานชุมชน โดยยังเหลือมาตรฐานโรงแรมขนาดเล็กแนวอีโค หรือลอจ์ด ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
นอกจากนั้นยังได้จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวแนวอนุรักษ์ผจญภัยอีก 20 เส้นทาง โดยจะเลือก 4 เส้นทางต้นแบบ เพื่อจัดแฟมทริปเชิญบริษัททัวร์และ สื่อมวลชนจากยุโรปเข้ามาสำรวจเส้นทาง เพื่อเตรียมเปิดตัวเส้นทางอย่างเป็นทางการในงาน ITB ประเทศเยอรมัน
การดำเนินงานทั้งหมดดังกล่าวถือเป็นการสร้างเน็ตเวิร์คทางการตลาด เพราะ บริษัททัวร์จากยุโรปซึ่งเป็นผู้ออกทุนในโครงการนี้ถึง 75% จากงบประมาณทั้งหมดที่ต้องใช้ราว 10 ล้านบาท เขาจะส่งนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทย ซึ่งในส่วนของไทย ได้เซ็นMOU ขอรับความช่วยเหลือจาก ทททง และอีกราว 3 แสนบาท จะขอรับความช่วยเหลือจาก สพท. ซึ่งคาดว่าจะมีการนักเซ็นMOU เร็วๆนี้
นางดวงกมล จันสุริยวงศ์ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย(สทอ.) หรือ ทีต้า เปิดเผยว่า จะทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุทยานแห่งชาติ และ กรมพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อขอหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และการจัดทำมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว เพื่อป้องกันไม่ให้แหล่งท่องเที่ยวนั้นๆเกิดความเสื่อมโทรมจากการที่มนุษย์เดินทางเข้าไปท่องเที่ยว
ทั้งนี้เพราะประเทศไทยยังไม่มีระบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่ดี ทำให้แหล่งท่องเที่ยวเกิดความเสื่อมโทรมได้ง่าย ประกอบกับประชาชนในพื้นที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจและความรับผิดชอบในการเป็นเจ้าของสถานที่ที่จะต้องช่วยกันดูแล ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นปัจจัยสำคัญ ให้แหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยเกิดการเสื่อมโทรมได้อย่างรวดเร็ว แม้จะเปิดบริการให้แก่นักท่องเที่ยวได้เพียงไม่กี่ปี
***ยกจีนเป็นกรณีศึกษา*****
โดยในการหารือ จะหยิบยกประเทศจีน เป็นต้นแบบของการจัดระบบด้านบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของชุมชน เพราะจากการเดินทางไปสำรวจแหล่งท่องเที่ยวที่เมืองตุนหวง มณฑลกานซู่ ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์อายุกว่า 4 พันปี มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งนี้เป็นมรดกโลก และวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นถ้ำสวยงามจำนวนมากนับพันถ้ำ
แต่ละทางเข้าถ้ำจะมีเครื่องชี้วัดความชื้นภายใน ถ้าสัญญาณเป็นสีแดงแสดงว่าคนเยอะความชื้นสูง ต้องรอจนสัญญาณเป็นสีเขียว จึงเข้าไปได้ และภายในถ้ำยังมีกระจกปิดในบางส่วนเป้องกันนไม่ให้นักท่องเที่ยวเอื้อมมือไปแตะต้อง หากพบขยะ หรือซากสัตว์ตายบนพื้นดินหรือในน้ำหรือถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยว น้ำตก หรือธารน้ำ ถ้าพบขยะ หรือซากสัตว์ลอยน้ำมา ไกด์ หรือคนขับเรือจะหยุดทันทีเพื่อเก็บขยะนั้นขึ้นมาก่อน สะท้อนว่าประชาชนเขามีจิตสำนึกร่วมกันดีมาก
**ไทยยังล้าหลังอีก 10 ปี ***
“เมื่อเห็นระบบการจัดการของเข้าแล้วย้อมมองกลับมาที่ประเทศไทยแทบไม่เห็นอนาคตเลย เราไม่มีระบบการจัดการที่ดี แหล่งท่องเที่ยวเราก็จะทรุดโทรมเร็ว ซึ่งไทยคงต้องใช้เวลาอีกเป็น 10 ปีจึงตามทัน แต่ก็ต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ ไม่เช่นนั้น เราจะล้าลังอย่างเทียบไม่ติด “
ข้อเสียของประเทศไทยก็คือ เมื่อพบแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม จะเปิดทีเดียวทั้งหมด ไม่แบ่งพัฒนาที่จะโซน ซึ่งวิธีคิดนี้ผิดกับประเทศจีนมาก เพราะเขาจะเปิดที่ละโซนๆ โดยรอจนกว่าแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆจะได้รับการจัดการด้านระบบให้เพรียกพร้อมก่อนจึงเปิด วิธีนี้ ทำให้แหล่งทองเที่ยวไม่ถูกทำลาย และ ยังสามารถสร้างการมาซ้ำในคราวต่อไปของนักท่องเที่ยวได้อีกเมื่อมีการเปิดให้บริการโซนใหม่ๆเพิ่มเติม
***คลอดเส้นทางอีโคทัวร์รับงานITBปีหน้า***
สำหรับความคืบหน้าโครงการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวยุโรป-ไทยเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้ยั่งยืนหรือ CSR-MAP ที่ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศยุโรป ล่าสุดได้มีการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการระยะ 3 เดือนแรก โดยสามารถจัดทำมาตรฐานได้เสร็จแล้ว 3 รายการจากทั้งหมด 4 รายการตามข้อตกลง ได้แก่ มาตรฐานอีโคทัวริสซึ่ม มาตรฐานร้านอาหารและมาตรฐานชุมชน โดยยังเหลือมาตรฐานโรงแรมขนาดเล็กแนวอีโค หรือลอจ์ด ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
นอกจากนั้นยังได้จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวแนวอนุรักษ์ผจญภัยอีก 20 เส้นทาง โดยจะเลือก 4 เส้นทางต้นแบบ เพื่อจัดแฟมทริปเชิญบริษัททัวร์และ สื่อมวลชนจากยุโรปเข้ามาสำรวจเส้นทาง เพื่อเตรียมเปิดตัวเส้นทางอย่างเป็นทางการในงาน ITB ประเทศเยอรมัน
การดำเนินงานทั้งหมดดังกล่าวถือเป็นการสร้างเน็ตเวิร์คทางการตลาด เพราะ บริษัททัวร์จากยุโรปซึ่งเป็นผู้ออกทุนในโครงการนี้ถึง 75% จากงบประมาณทั้งหมดที่ต้องใช้ราว 10 ล้านบาท เขาจะส่งนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทย ซึ่งในส่วนของไทย ได้เซ็นMOU ขอรับความช่วยเหลือจาก ทททง และอีกราว 3 แสนบาท จะขอรับความช่วยเหลือจาก สพท. ซึ่งคาดว่าจะมีการนักเซ็นMOU เร็วๆนี้