อดีตประธานสหภาพฯ ทีโอที เตรียมยื่นฟ้องศาลปกครอง กรณี กทช.เปิดประมูล 3G ยกความถี่ให้ต่างชาติ กีดกันรัฐวิสาหกิจไทย แฉหมกเม็ดแปรสัญญาสัมปทาน ทำรัฐสูญกว่าแสนล้านบาท ด้านไอซีทีเริ่มเห็นลางร้ายหายนะทีโอที/กสท เล็งยื่นหนังสือร้องนายกฯ กทช. ทบทวนและชะลอประมูล 3G
นายพรชัย มีมาก อดีตประธานสหภาพฯ ทีโอที กล่าวว่า การเปิดประมูล 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เป็นการหมกเม็ดซ่อนประเด็นการแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่างรัฐกับเอกชนอย่างแยบยล ซึ่งหากดำเนินการสำเร็จจะทำให้รัฐเสียหายมากกว่า 1 แสนล้านบาท
หมกเม็ดแปรสัมปทาน
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากสรุปข้อสนเทศ (Information Memorandum : IM) ในการประมูลคลื่น 3G กทช.ระบุว่าการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G คาดว่าจะแก้ไขปัญหาโครงสร้างการสัมปทานปัจจุบัน และค่าธรรมเนียมของใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ใหม่นี้ จะมีการชำระทั้งหมดในงวดเดียว ซึ่งคาดว่าอยู่ในระดับประมาณ 1-3 % ของรายได้ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของการจ่ายค่าส่วนแบ่งรายได้ที่ 20-30%
อย่างไรก็ตาม กรณีการให้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าการให้สัมปทานที่มีอยู่จะถูกยกเลิกไปเพราะคาดว่าการให้บริการในรูปแบบสัมปทานระบบ BTO ปัจจุบันจะดำเนินไปจนหมดระยะเวลาตามสัญญา
“การแก้ไขปัญหาโครงสร้างการสัมปทาน ก็หมายถึงการแปรสัญญาสัมปทานนั่นเอง รัฐบาลชุดที่ผ่านๆมา ไม่กล้าทำเพราะติดปัญหาเรื่องไม่มีหนทางที่จะแปรสัญญาสัมปทานแล้วรัฐไม่เสียประโยชน์ หรือ แปรสัญญาแล้วรัฐได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่าเดิม แต่กลายเป็นว่ากทช.ใช้การประมูล 3G ซ่อนเรื่องแปรสัมปทานไว้ ทำนองว่าองค์กรอิสระจะแปรสัมปทานสักอย่าง ใครจะทำอะไรได้”
นอกจากนี้ ประเด็นที่ กทช.อ้างว่าใบอนุญาต 3G ไม่กระทบสัมปทานเดิมก็ไม่เป็นความจริง เพราะเอกชนอย่างเอไอเอสที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับทีโอที ก็บอกชัดเจนว่าจะย้ายลูกค้า 28 ล้านรายมายังบริษัทใหม่ที่ได้ใบอนุญาต 3G ด้วยการออกโปรโมชันจูงใจ ซึ่งเบื้องหลังก็ต้องถือว่าได้รับความอนุเคราะห์จาก กทช.ที่ออกประกาศเรื่องการคงสิทธิเลขหมายหรือการใช้เลขหมายเดิมเมื่อย้ายผู้ให้บริการได้ (Number of Portability) ซึ่งตามประกาศของกทช.ต้องสามารถใช้บริการได้ในช่วงปลายปี แต่เอกชนค่ายมือถือประสานเสียงกันว่าทางเทคนิคทำไม่ได้ แต่คาดว่าอาจจะทันพร้อมกับโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G ที่ได้ใบอนุญาตจากกทช.เรียบร้อยพร้อมให้บริการ ก็จะทำให้ลูกค้าค่ายเอไอเอสภายใต้สัมปทานทีโอที เปลี่ยนมาเป็นลูกค้า 3G บริษัทใหม่แต่ใช้เบอร์เดิมได้ง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ
“การประมูล 3G และการคงสิทธิเลขหมาย เป็น 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการแปรสัญญาสัมปทาน ทำให้รัฐสูญเสียรายได้นับแสนล้านบาท ในขณะที่รายได้จากการประมูล 3G ที่ กทช.ได้รับกลับมาก็เพียงน้อยนิดเทียบไม่ได้กับความเสียหายที่เกิดขึ้น”
นายพรชัยขยายความว่า ความเสียหายนับแสนล้านบาทนั้น คิดจากอายุสัญญาของเอไอเอสที่เหลืออีกประมาณ 6 ปี โดยปัจจุบันเอไอเอสจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐประมาณปีละ 2 หมื่นล้านบาท ถ้าหักเวลาการวางโครงข่าย 3G รวมกับเรื่องการคงสิทธิเลขหมายและการทยอยถ่ายโอนลูกค้าอาจใช้เวลา 1-2 ปี ตัวเลขกลมๆที่ทีโอทีจะสูญเสียส่วนแบ่งรายได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 8 หมื่นถึง 1 แสนล้านบาทแล้วแต่ระยะเวลาการถ่ายโอนลูกค้ารวดเร็วมากน้อยแค่ไหน
“เอไอเอสบอกมีเงินพร้อมลงโครงข่าย 7 หมื่นกว่าล้านบาท ดูตัวเลขง่ายๆ แค่ไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในอนาคตให้ทีโอที ก็ยังมีเงินเหลือด้วยซ้ำ นี่คือความ สำเร็จของ กทช.ที่บอกว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงในรอบ 5 ปี แต่สำหรับพนักงานทีโอทีและประชาชนเต็มขั้น นี่คือตราบาปที่จะติดตัว กทช.ไปจนตาย”
เล็งฟ้องศาลปกครอง
นอกจากหมกเม็ดประเด็นแปรสัญญาสัมปทานแล้ว แนวทางให้ใบอนุญาต 3G ของกทช.คือการยกคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรของชาติ ให้เอกชนอย่างสิ้นเชิง ต่างจากรูปแบบ BTO ที่คลื่นความถี่ยังเป็นสมบัติของหน่วยงานรัฐในขณะที่เอกชนได้สิทธิในการใช้งานเท่านั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือกทช.ไม่สนใจการเป็นนอมินีต่างชาติของเอกชนเลย ยึดแค่สัดส่วนถือหุ้น 49/51 ก็ตัดสินว่าเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย โดยไม่คำนึงว่าทรัพยากรความถี่ที่มีจำกัดและใช้หมดไป จะอยู่ในมือคนไทยจริงหรือไม่
“ผมกำลังจะยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อยับยั้งการกระทำของกทช.ในฐานะประชาชนชาวไทยที่มีสิทธิในคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรของประเทศ รวมทั้งเพื่อป้องกันความเสียหายที่เห็นได้ชัดว่าต้องเกิดขึ้นแน่นอน” นายพรชัยกล่าวย้ำ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมา ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.ไอซีที ได้หารือร่วมกับบอร์ดทีโอทีกับบอร์ดบริษัท กสท โทรคมนาคม ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดประมูล 3G ของ กทช.โดยเห็นว่าการดำเนินการของ กทช.ปิดกั้นรัฐวิสาหกิจไทยไม่ให้เข้าร่วมประมูล แต่กลับเปิดกว้างให้ต่างชาติเข้าประมูลและสามารถได้สิทธิความเป็นเจ้าของคลื่นความถี่
นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบกับรายได้ที่ 2 รัฐวิสาหกิจส่งเข้าคลังปีละ 3 หมื่นล้านต้องลดลงไปด้วยเนื่องจากส่วนแบ่งรายได้ที่หายไป โดยให้ทั้ง 2 รัฐวิสหากิจหารือรายละเอียดกันในวันนี้ (5ต.ค.) เพื่อที่ไอซีทีจะได้ทำเรื่องแจ้งไปยังกทช.รวมทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ทบทวนและชะลอหรือหาทางบรรเทาผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดกับประเทศชาติ จากกรณีเปิดประมูล 3G ของ กทช.
ลางร้ายทีโอที
นายธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานบอร์ดทีโอที กล่าวว่า ผลกระทบที่จะเกิดกับทีโอทีคือรายได้จากสัมปทานที่ลดลงซึ่งปัจจุบันส่วนแบ่งรายได้ที่ได้รับจากเอไอเอส เฉลี่ยปีละ 2 หมื่นล้านบาทหายไปแน่ๆ ซึ่งเงินส่วนนี้เป็นเงินที่ทีโอทีนำส่งให้รัฐไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ
“อยากให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมการประมูลอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่ว่าใครให้เงินสูงสุดก็มอบใบอนุญาตให้กับรายนั้นไป หากเป็นเช่นนั้นจะเกิดภัยพิบัติมากกว่าโอกาส ดังนั้นควรทำการศึกษาให้รอบคอบเพราะเกิดปัญหากับหน่วยงานของรัฐ ในทางกลับกันเอกชนต่างประเทศเข้ามาลงทุนปีเดียวก็ได้เงินคืนกลับประเทศแล้ว”
ทั้งนี้ ในส่วนของทีโอทีรายงานผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการประมูล 3G ให้ รมว.ไอซีที ประกอบด้วย 1.การกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G เป็นการกีดกันหน่วยงานภาครัฐ 2.ผู้ที่ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจากทีโอที ที่ยังมีผลสมบูรณ์อยู่ หากชนะการประมูลจะมีการถ่ายโอนลูกค้าจากโครงข่ายเดิมไปสู่โครงข่ายใหม่กระทบต่อส่วนแบ่งรายได้และรายได้ที่จะต้องนำส่งเข้ารัฐนอกจากนี้ทีโอทีจะไม่สามารถควบคุมทรัพย์สินตามการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาของทีโอที ที่ผู้ชนะการประมูลใช้งานอยู่ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างโครงข่าย 3G บนโครงข่าย 2G
3.การประกวดราคาแบบประมูล โดยถือราคาเป็นเกณฑ์และเงื่อนไขการชำระเงินในคราวเดียวในเวลาอันจำกัด องค์กรภาครัฐไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากมีกฎระเบียบของรัฐบังคับอยู่ และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีเงินทุนสูง มีโอกาสชนะการประมูล จะเกิดปัญหาต่อรัฐที่ไม่สามารถควบคุมการใช้คลื่นความถี่ได้อย่างเต็มที่ และกระทบต่อความมั่นคงของชาติ สมควรใช้วิธีเสนอรูปแบบประกวดโครงการที่ดีและเหมาะสม (beauty contest) และ 4.การพิจารณาร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ซึ่งขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่กำหนดไว้ในมาตรา 78 จะมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ และการนำส่งรายได้เข้ารัฐ
“ในขณะที่ยังมีความไม่ชัดเจนหลายเรื่อง โดยเฉพาะด้านกฎหมาย และความสมบูรณ์ขององค์คณะ กทช.ที่ปัจจุบันจากจำนวน 7 คนลาออกไป 1 คน จับสลากออก 3 คน เหลือปฏิบัติหน้าที่ 3 คน รวมทั้งอยู่ระหว่างรอสรรหากรรมการ กทช.เพื่อมาทดแทนชุดเก่า และยังอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้ง กสช. หรือ กสทช.ชุดใหม่ แต่กลายเป็นว่า กทช.ที่ไม่สมบูรณ์จะทำเรื่องที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงและสร้างความเสียหายอย่างมากให้ประเทศชาติ” นายพรชัยกล่าว
ด้าน พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธาน กทช.กล่าวว่า ไม่รู้สึกกังวลกับข้อเรียกร้องของไอซีที ทีโอที และ กสท โดยได้เตรียมข้อมูลเรื่องดังกล่าวชี้แจงแก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบข้อเท็จจริงในวันนี้ (5 ต.ค.) และมองว่าทำไมไอซีที ทีโอที และ กสท.ถึงเพิ่งลุกขึ้นมาทักทวงเรื่องนี้ ทั้งที่การดำเนินการเรื่อง 3G มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
นายพรชัย มีมาก อดีตประธานสหภาพฯ ทีโอที กล่าวว่า การเปิดประมูล 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เป็นการหมกเม็ดซ่อนประเด็นการแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่างรัฐกับเอกชนอย่างแยบยล ซึ่งหากดำเนินการสำเร็จจะทำให้รัฐเสียหายมากกว่า 1 แสนล้านบาท
หมกเม็ดแปรสัมปทาน
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากสรุปข้อสนเทศ (Information Memorandum : IM) ในการประมูลคลื่น 3G กทช.ระบุว่าการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G คาดว่าจะแก้ไขปัญหาโครงสร้างการสัมปทานปัจจุบัน และค่าธรรมเนียมของใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ใหม่นี้ จะมีการชำระทั้งหมดในงวดเดียว ซึ่งคาดว่าอยู่ในระดับประมาณ 1-3 % ของรายได้ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของการจ่ายค่าส่วนแบ่งรายได้ที่ 20-30%
อย่างไรก็ตาม กรณีการให้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าการให้สัมปทานที่มีอยู่จะถูกยกเลิกไปเพราะคาดว่าการให้บริการในรูปแบบสัมปทานระบบ BTO ปัจจุบันจะดำเนินไปจนหมดระยะเวลาตามสัญญา
“การแก้ไขปัญหาโครงสร้างการสัมปทาน ก็หมายถึงการแปรสัญญาสัมปทานนั่นเอง รัฐบาลชุดที่ผ่านๆมา ไม่กล้าทำเพราะติดปัญหาเรื่องไม่มีหนทางที่จะแปรสัญญาสัมปทานแล้วรัฐไม่เสียประโยชน์ หรือ แปรสัญญาแล้วรัฐได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่าเดิม แต่กลายเป็นว่ากทช.ใช้การประมูล 3G ซ่อนเรื่องแปรสัมปทานไว้ ทำนองว่าองค์กรอิสระจะแปรสัมปทานสักอย่าง ใครจะทำอะไรได้”
นอกจากนี้ ประเด็นที่ กทช.อ้างว่าใบอนุญาต 3G ไม่กระทบสัมปทานเดิมก็ไม่เป็นความจริง เพราะเอกชนอย่างเอไอเอสที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับทีโอที ก็บอกชัดเจนว่าจะย้ายลูกค้า 28 ล้านรายมายังบริษัทใหม่ที่ได้ใบอนุญาต 3G ด้วยการออกโปรโมชันจูงใจ ซึ่งเบื้องหลังก็ต้องถือว่าได้รับความอนุเคราะห์จาก กทช.ที่ออกประกาศเรื่องการคงสิทธิเลขหมายหรือการใช้เลขหมายเดิมเมื่อย้ายผู้ให้บริการได้ (Number of Portability) ซึ่งตามประกาศของกทช.ต้องสามารถใช้บริการได้ในช่วงปลายปี แต่เอกชนค่ายมือถือประสานเสียงกันว่าทางเทคนิคทำไม่ได้ แต่คาดว่าอาจจะทันพร้อมกับโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G ที่ได้ใบอนุญาตจากกทช.เรียบร้อยพร้อมให้บริการ ก็จะทำให้ลูกค้าค่ายเอไอเอสภายใต้สัมปทานทีโอที เปลี่ยนมาเป็นลูกค้า 3G บริษัทใหม่แต่ใช้เบอร์เดิมได้ง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ
“การประมูล 3G และการคงสิทธิเลขหมาย เป็น 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการแปรสัญญาสัมปทาน ทำให้รัฐสูญเสียรายได้นับแสนล้านบาท ในขณะที่รายได้จากการประมูล 3G ที่ กทช.ได้รับกลับมาก็เพียงน้อยนิดเทียบไม่ได้กับความเสียหายที่เกิดขึ้น”
นายพรชัยขยายความว่า ความเสียหายนับแสนล้านบาทนั้น คิดจากอายุสัญญาของเอไอเอสที่เหลืออีกประมาณ 6 ปี โดยปัจจุบันเอไอเอสจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐประมาณปีละ 2 หมื่นล้านบาท ถ้าหักเวลาการวางโครงข่าย 3G รวมกับเรื่องการคงสิทธิเลขหมายและการทยอยถ่ายโอนลูกค้าอาจใช้เวลา 1-2 ปี ตัวเลขกลมๆที่ทีโอทีจะสูญเสียส่วนแบ่งรายได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 8 หมื่นถึง 1 แสนล้านบาทแล้วแต่ระยะเวลาการถ่ายโอนลูกค้ารวดเร็วมากน้อยแค่ไหน
“เอไอเอสบอกมีเงินพร้อมลงโครงข่าย 7 หมื่นกว่าล้านบาท ดูตัวเลขง่ายๆ แค่ไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในอนาคตให้ทีโอที ก็ยังมีเงินเหลือด้วยซ้ำ นี่คือความ สำเร็จของ กทช.ที่บอกว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงในรอบ 5 ปี แต่สำหรับพนักงานทีโอทีและประชาชนเต็มขั้น นี่คือตราบาปที่จะติดตัว กทช.ไปจนตาย”
เล็งฟ้องศาลปกครอง
นอกจากหมกเม็ดประเด็นแปรสัญญาสัมปทานแล้ว แนวทางให้ใบอนุญาต 3G ของกทช.คือการยกคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรของชาติ ให้เอกชนอย่างสิ้นเชิง ต่างจากรูปแบบ BTO ที่คลื่นความถี่ยังเป็นสมบัติของหน่วยงานรัฐในขณะที่เอกชนได้สิทธิในการใช้งานเท่านั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือกทช.ไม่สนใจการเป็นนอมินีต่างชาติของเอกชนเลย ยึดแค่สัดส่วนถือหุ้น 49/51 ก็ตัดสินว่าเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย โดยไม่คำนึงว่าทรัพยากรความถี่ที่มีจำกัดและใช้หมดไป จะอยู่ในมือคนไทยจริงหรือไม่
“ผมกำลังจะยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อยับยั้งการกระทำของกทช.ในฐานะประชาชนชาวไทยที่มีสิทธิในคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรของประเทศ รวมทั้งเพื่อป้องกันความเสียหายที่เห็นได้ชัดว่าต้องเกิดขึ้นแน่นอน” นายพรชัยกล่าวย้ำ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมา ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.ไอซีที ได้หารือร่วมกับบอร์ดทีโอทีกับบอร์ดบริษัท กสท โทรคมนาคม ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดประมูล 3G ของ กทช.โดยเห็นว่าการดำเนินการของ กทช.ปิดกั้นรัฐวิสาหกิจไทยไม่ให้เข้าร่วมประมูล แต่กลับเปิดกว้างให้ต่างชาติเข้าประมูลและสามารถได้สิทธิความเป็นเจ้าของคลื่นความถี่
นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบกับรายได้ที่ 2 รัฐวิสาหกิจส่งเข้าคลังปีละ 3 หมื่นล้านต้องลดลงไปด้วยเนื่องจากส่วนแบ่งรายได้ที่หายไป โดยให้ทั้ง 2 รัฐวิสหากิจหารือรายละเอียดกันในวันนี้ (5ต.ค.) เพื่อที่ไอซีทีจะได้ทำเรื่องแจ้งไปยังกทช.รวมทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ทบทวนและชะลอหรือหาทางบรรเทาผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดกับประเทศชาติ จากกรณีเปิดประมูล 3G ของ กทช.
ลางร้ายทีโอที
นายธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานบอร์ดทีโอที กล่าวว่า ผลกระทบที่จะเกิดกับทีโอทีคือรายได้จากสัมปทานที่ลดลงซึ่งปัจจุบันส่วนแบ่งรายได้ที่ได้รับจากเอไอเอส เฉลี่ยปีละ 2 หมื่นล้านบาทหายไปแน่ๆ ซึ่งเงินส่วนนี้เป็นเงินที่ทีโอทีนำส่งให้รัฐไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ
“อยากให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมการประมูลอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่ว่าใครให้เงินสูงสุดก็มอบใบอนุญาตให้กับรายนั้นไป หากเป็นเช่นนั้นจะเกิดภัยพิบัติมากกว่าโอกาส ดังนั้นควรทำการศึกษาให้รอบคอบเพราะเกิดปัญหากับหน่วยงานของรัฐ ในทางกลับกันเอกชนต่างประเทศเข้ามาลงทุนปีเดียวก็ได้เงินคืนกลับประเทศแล้ว”
ทั้งนี้ ในส่วนของทีโอทีรายงานผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการประมูล 3G ให้ รมว.ไอซีที ประกอบด้วย 1.การกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G เป็นการกีดกันหน่วยงานภาครัฐ 2.ผู้ที่ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจากทีโอที ที่ยังมีผลสมบูรณ์อยู่ หากชนะการประมูลจะมีการถ่ายโอนลูกค้าจากโครงข่ายเดิมไปสู่โครงข่ายใหม่กระทบต่อส่วนแบ่งรายได้และรายได้ที่จะต้องนำส่งเข้ารัฐนอกจากนี้ทีโอทีจะไม่สามารถควบคุมทรัพย์สินตามการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาของทีโอที ที่ผู้ชนะการประมูลใช้งานอยู่ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างโครงข่าย 3G บนโครงข่าย 2G
3.การประกวดราคาแบบประมูล โดยถือราคาเป็นเกณฑ์และเงื่อนไขการชำระเงินในคราวเดียวในเวลาอันจำกัด องค์กรภาครัฐไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากมีกฎระเบียบของรัฐบังคับอยู่ และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีเงินทุนสูง มีโอกาสชนะการประมูล จะเกิดปัญหาต่อรัฐที่ไม่สามารถควบคุมการใช้คลื่นความถี่ได้อย่างเต็มที่ และกระทบต่อความมั่นคงของชาติ สมควรใช้วิธีเสนอรูปแบบประกวดโครงการที่ดีและเหมาะสม (beauty contest) และ 4.การพิจารณาร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ซึ่งขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่กำหนดไว้ในมาตรา 78 จะมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ และการนำส่งรายได้เข้ารัฐ
“ในขณะที่ยังมีความไม่ชัดเจนหลายเรื่อง โดยเฉพาะด้านกฎหมาย และความสมบูรณ์ขององค์คณะ กทช.ที่ปัจจุบันจากจำนวน 7 คนลาออกไป 1 คน จับสลากออก 3 คน เหลือปฏิบัติหน้าที่ 3 คน รวมทั้งอยู่ระหว่างรอสรรหากรรมการ กทช.เพื่อมาทดแทนชุดเก่า และยังอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้ง กสช. หรือ กสทช.ชุดใหม่ แต่กลายเป็นว่า กทช.ที่ไม่สมบูรณ์จะทำเรื่องที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงและสร้างความเสียหายอย่างมากให้ประเทศชาติ” นายพรชัยกล่าว
ด้าน พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธาน กทช.กล่าวว่า ไม่รู้สึกกังวลกับข้อเรียกร้องของไอซีที ทีโอที และ กสท โดยได้เตรียมข้อมูลเรื่องดังกล่าวชี้แจงแก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบข้อเท็จจริงในวันนี้ (5 ต.ค.) และมองว่าทำไมไอซีที ทีโอที และ กสท.ถึงเพิ่งลุกขึ้นมาทักทวงเรื่องนี้ ทั้งที่การดำเนินการเรื่อง 3G มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง