ภายหลังการประชุมคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(บอร์ดททท.)นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธาน บอร์ดททท.เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือถึงกรณีสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นในต่างประเทศมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ”คนให้เช่าเจ็ตสกีเอาปืนขู่นักท่องเที่ยวที่จ.ภูเก็ต”ซึ่งเป็นสารคดีที่ก่อให้เกิดภาพลบเกี่ยวกับการท่องเที่ยวไทย
และการตัดคลิปไปเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ ทำให้ประเทศไทยเสื่อมเสีย จึงมอบหมายให้ น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้ดำเนินการติดตามสืบหารายละเอียดในเชิงลึก และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 4 ประเด็น
กล่าวคือ 1.ติดต่อไปยังสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.)ในฐานะกำกับดูแลกองกิจการภาพยนตร์ ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เพื่อให้ติดต่อไปยังคนไทยที่รับจ้างถ่ายทำ และ อ้างว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ คลิปทั้งหมดดังกล่าว นำคลิปฯทั้งหมดที่มีอยู่มาฉายดูอย่างละเอียด จะได้ทราบว่า ภาพยนตร์สารคดีที่นำไปเผยแพร่ มีการตัดต่อปรุงแต่งเพิ่มเติมจากต้นฉบับอย่างไร ใครเป็นผู้ตัดต่อ มีเจตนาอย่างไร พร้อมกับตีความในข้อกฎหมายด้วยว่าในกรณีนี้ซึ่ง บริษัทต่างชาติมาว่าจ้างคนไทยให้ถ่ายทำคลิปวิดีโอ เพื่อจะได้ไม่ต้องขออนุญาติและไม่ต้องส่งบทภาพยนตร์ให้ฟิลม์บอร์ดตรวจก่อนนั้นถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่
2.ให้ประสานไปยังกระทรวงมหาดไทย ขอความร่วมมือให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลใส่ใจและตรวจสอบการถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่ของตัวเองด้วย 3.ให้ประสานไปยังกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้สั่งการให้สถานทูตไทยและกงสุลไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เผยแพร่คลิปวิดีโอดังกล่าวอย่างแพร่หลาย คือแถบยุโรป และ ลอนดอน เพื่อชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริง หากพบว่ามีเจตนาทำลายชื่อเสียงประเทศไทย ก็จะต้องดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย และ 4 ให้สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) ไปจัดทำเกณฑ์จรรยาบรรณที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ปฏิบัติ
***หวั่นผู้ไม่ประสงค์ดีจ้องทำลายไทย****
ทั้งนี้ที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่การถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีครั้งนี้มีใครอยู่เบื้องหลัง และจงใจโจมตีชื่อเสียงของประเทศไทยโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว เพราะสังเกตุได้ว่าในระยะหลังๆจะมีภาพเหตุการณ์นักท่องเที่ยวถูกทำร้ายและไม่ได้รับความคุ้มครองในประเทศไทยอกมาเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง เช่น กรณีนักท่องเที่ยวถูกจับที่สนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยข้อหาขโมยสินค้าในร้านปลอดภาษี และ ล่าสุดก็เรื่องมาเฟียเจ็ตสกี เป็นต้น ซึ่งเท่าที่ทราบรายงายพบว่า กรณีมาเฟียเจ็ตสกี จ.ภูเก็ต และการจับกุมนักท่องเที่ยวข้อหามียาเสพติดในครอบครอง ที่เกาะพะงัน ซึ่งเท่าที่ทราบพบว่า มีการถ่ายทำถึง 8 ตอนในหลายๆเรื่อง และหลายแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของไทย เช่น ภูเก็ต พัทยา สมุย เชียงใหม่
“ไม่ควรเร่งชี้แจงข้อเท็จจริงอะไรกับต่างชาติในระยะนี้ เพราะเรา บอกไม่ได้ว่าเรื่องที่เขานำเสนอไม่ได้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย "
****แนะวิธีคุ้มครองนักท่องเที่ยวฯใส่ในวาระแห่งชาติ******
ด้านนางจุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด กล่าวว่า ได้สั่ง ให้สำนักงาน ททท. ในต่างประเทศ ติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ภาพยนตร์และคลิปวิดีโอ ดังกล่าว ซึ่งพบว่า เป็การเผยแพร่ทางสถานีเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นที่สหราชอาณาจักร ซึ่งมีผู้ชมในวงจำกัด ผู้ชมต้องจ่ายเงิน เพื่อรับชม รายการ มีผู้ชมอายุ 19-30 ปี จึงไม่น่ากังวลมาก แต่ที่น่าห่วงคือ เกรงว่า เมื่อมีการตัดต่อคลิปมาลงในช่องทางสังคมออนไลน์ เช่น ยูทูป โดยคัดเลือกแต่ส่วนที่แสดงพฤติกรรมไม่ดีออกมา โดยผู้ชมไม่รู้เลยว่า คลิปดังกล่าวมีที่มาที่ไปมากกว่านั้นก่อนเกิดเหตุการณ์ จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อประเทศไทยได้
“โดยส่วนตัวเห็นว่า ประเด็นนี้ น่าจะนำเข้าบรรจุในวาระแห่งชาติ ในประเด็นเรื่องของการแก้ไขปัญหานักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ต้องมาประสบเหตุการณ์ไม่ดีในประเทศ เพื่อ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น ไปหาทางแก้ไข
และการตัดคลิปไปเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ ทำให้ประเทศไทยเสื่อมเสีย จึงมอบหมายให้ น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้ดำเนินการติดตามสืบหารายละเอียดในเชิงลึก และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 4 ประเด็น
กล่าวคือ 1.ติดต่อไปยังสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.)ในฐานะกำกับดูแลกองกิจการภาพยนตร์ ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เพื่อให้ติดต่อไปยังคนไทยที่รับจ้างถ่ายทำ และ อ้างว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ คลิปทั้งหมดดังกล่าว นำคลิปฯทั้งหมดที่มีอยู่มาฉายดูอย่างละเอียด จะได้ทราบว่า ภาพยนตร์สารคดีที่นำไปเผยแพร่ มีการตัดต่อปรุงแต่งเพิ่มเติมจากต้นฉบับอย่างไร ใครเป็นผู้ตัดต่อ มีเจตนาอย่างไร พร้อมกับตีความในข้อกฎหมายด้วยว่าในกรณีนี้ซึ่ง บริษัทต่างชาติมาว่าจ้างคนไทยให้ถ่ายทำคลิปวิดีโอ เพื่อจะได้ไม่ต้องขออนุญาติและไม่ต้องส่งบทภาพยนตร์ให้ฟิลม์บอร์ดตรวจก่อนนั้นถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่
2.ให้ประสานไปยังกระทรวงมหาดไทย ขอความร่วมมือให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลใส่ใจและตรวจสอบการถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่ของตัวเองด้วย 3.ให้ประสานไปยังกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้สั่งการให้สถานทูตไทยและกงสุลไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เผยแพร่คลิปวิดีโอดังกล่าวอย่างแพร่หลาย คือแถบยุโรป และ ลอนดอน เพื่อชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริง หากพบว่ามีเจตนาทำลายชื่อเสียงประเทศไทย ก็จะต้องดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย และ 4 ให้สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) ไปจัดทำเกณฑ์จรรยาบรรณที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ปฏิบัติ
***หวั่นผู้ไม่ประสงค์ดีจ้องทำลายไทย****
ทั้งนี้ที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่การถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีครั้งนี้มีใครอยู่เบื้องหลัง และจงใจโจมตีชื่อเสียงของประเทศไทยโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว เพราะสังเกตุได้ว่าในระยะหลังๆจะมีภาพเหตุการณ์นักท่องเที่ยวถูกทำร้ายและไม่ได้รับความคุ้มครองในประเทศไทยอกมาเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง เช่น กรณีนักท่องเที่ยวถูกจับที่สนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยข้อหาขโมยสินค้าในร้านปลอดภาษี และ ล่าสุดก็เรื่องมาเฟียเจ็ตสกี เป็นต้น ซึ่งเท่าที่ทราบรายงายพบว่า กรณีมาเฟียเจ็ตสกี จ.ภูเก็ต และการจับกุมนักท่องเที่ยวข้อหามียาเสพติดในครอบครอง ที่เกาะพะงัน ซึ่งเท่าที่ทราบพบว่า มีการถ่ายทำถึง 8 ตอนในหลายๆเรื่อง และหลายแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของไทย เช่น ภูเก็ต พัทยา สมุย เชียงใหม่
“ไม่ควรเร่งชี้แจงข้อเท็จจริงอะไรกับต่างชาติในระยะนี้ เพราะเรา บอกไม่ได้ว่าเรื่องที่เขานำเสนอไม่ได้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย "
****แนะวิธีคุ้มครองนักท่องเที่ยวฯใส่ในวาระแห่งชาติ******
ด้านนางจุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด กล่าวว่า ได้สั่ง ให้สำนักงาน ททท. ในต่างประเทศ ติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ภาพยนตร์และคลิปวิดีโอ ดังกล่าว ซึ่งพบว่า เป็การเผยแพร่ทางสถานีเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นที่สหราชอาณาจักร ซึ่งมีผู้ชมในวงจำกัด ผู้ชมต้องจ่ายเงิน เพื่อรับชม รายการ มีผู้ชมอายุ 19-30 ปี จึงไม่น่ากังวลมาก แต่ที่น่าห่วงคือ เกรงว่า เมื่อมีการตัดต่อคลิปมาลงในช่องทางสังคมออนไลน์ เช่น ยูทูป โดยคัดเลือกแต่ส่วนที่แสดงพฤติกรรมไม่ดีออกมา โดยผู้ชมไม่รู้เลยว่า คลิปดังกล่าวมีที่มาที่ไปมากกว่านั้นก่อนเกิดเหตุการณ์ จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อประเทศไทยได้
“โดยส่วนตัวเห็นว่า ประเด็นนี้ น่าจะนำเข้าบรรจุในวาระแห่งชาติ ในประเด็นเรื่องของการแก้ไขปัญหานักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ต้องมาประสบเหตุการณ์ไม่ดีในประเทศ เพื่อ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น ไปหาทางแก้ไข