บอร์ดทีพีซีสั่ง อีลิทการ์ดลดพนักงานอีกครั้งรวม 25 ตำแหน่ง ประเดิมชี้ตาย 2 รายแรก “ยอดชาย-ณัฐพล”ระบุเป็นตำแหน่งที่ยังไม่จำเป็นแถมยังเงินเดือนสูง แถมมีปมส่อทุจริต ด้าน ณัฐพล ดิ้นสู้ไม่ขอร่วมวง ยอดชาย อ้างทำงานโปร่งใส พร้อมขู่ฟ้องศาลปกครอง ขณะที่ภายในองค์กรอีลิทวุ่น ลือสะพัด กรรมการบอร์ดจี้ “อุดม”ลาออกพ้นตำแหน่งรักษาการผู้จัดการใหญ่ เหตุ “ชุมพล” ไม่ปลื้มการทำงาน แถมยังต้องการดัน “เมธาวี” ซึ่งเป็นคนของตัวเองขึ้นแทน ร้อนก้นผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ททท.เรียกประชุมด่วนวันนี้
นายธงชัย ศรีดามา รองอธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือ ทีพีซี ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิท การ์ด เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดมีมติเห็นชอบให้ ทีพีซี ไปเร่งดำเนินการปรับลดขนาดองค์กร ด้วยการปรับลดจำนวนพนักงาน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ และสอดคล้องกับภาระกิจของงานที่มีอยู่ในปัจจุบันมากที่สุด โดยสั่งการให้ นายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ ที่ปรึกษาผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระดับ 10 ในฐานะรักษาการผู้จัดการใหญ่ ไปดำเนินการจัดโครงการเกษียณก่อนกำหนด หรือ เออลี่ รีไทน์ จำนวน 25 ตำแหน่ง ในที่นี้แบ่งเป็นประกาศขอรับความสมัครใจเข้าร่วมโครงการจากพนักงาน 15 ตำแหน่ง ส่วนอีก 10 ตำแหน่ง ให้นายอุดม พิจารณาคัดเลือกจากระดับผู้บริหาร กระบวนการทั้งหมดต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ แต่ให้มีผลการเลิกจ้างในเดือนตุลาคม 2552
***ประเดิมเชือด 2 ตำแหน่งผู้บริหาร*****
อย่างไรก็ตาม จากมติดังกล่าว บอร์ดได้ระบุว่าให้ผู้บริหารระดับรองผู้จัดการใหญ่ 2 ตำแหน่งเข้าสู่โครงการนี้ด้วย ได้แก่ นายยอดชาย แก้วเพ็ญศรี รองผู้จัดการใหญ่สายงานสิทธิประโยชน์และสมาชิกสัมพันธ์ และ นายณัฐพล เดชวิทักษ์ รองผู้จัดการใหญ่สายงานการจำหน่ายและการตลาด โดยให้เหตุผลว่า ทั้ง 2 ตำแหน่งดังกล่าว ขณะนี้องค์กรยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ เพราะขณะนี้ทีพีซี อยู่ระหว่างการถูกสั่งพักการดำเนินธุรกรรมทุกอย่างจากนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อีกทั้ง ยังเป็นตำแหน่งที่มีอัตราเงินเดือนสูง คือ 1.8 แสนบาทต่อเดือน
ที่ผ่านมา ทีพีซี เคยจัดโครงการจำใจจากไปแล้ว 1 ครั้ง สมัยที่นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการใหญ่ ทำให้ปัจจุบันทีพีซี มีพนักงานประจำรวมทั้งหมด 140 คน ซึ่งหลังจบโครงการนี้จะลดเหลือ 115 คน ซึ่งพนักงานและผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายกำหนดโดยดูจากอายุงาน ซึ่งสูงสุดจะได้ไม่เกิน 10 เดือนโดยอยู่ระหว่างการรวบรวมว่าทีพีซีต้องใช้งบในโครงการนี้มากเท่าใด
นายธงชัย กล่าวขยายความด้วยว่า กรณีของนายยอดชาย บอร์ดสั่งการเพื่อให้เข้ากับครรลองทางธุรกิจกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟเทคโนโลยี เพื่อต่อรองการเรียกเก็บค่าเสียหายที่เกิดจากกรณีทีพีซีผิดสัญญาการเช่าระบบไอที วงเงิน 77.3 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ สัญญาเช่าระบบบริหารสมาชิกสัมพันธ์และเชื่อมโยงระบบสารสนเทศ จำนวน 38 ล้านบาท และ อีก32.3ล้านบาทคือโครงการสัญญาเช่าระบบอัตโนมัติและระบบสำรองออนไลน์ เพราะจากการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายเพื่อตรวจสอบสัญญา ระบุว่าเป็นสัญญาที่เสียเปรียบคู่สัญญาทุกจุด ซึ่งต้องให้ทีพีซีไปเจรจาขอลดค่าชดเชยความเสียหายไม่ให้เกิน 5 ล้านบาท หากไม่สำเร็จคงต้องส่งเรื่องฟ้องศาลให้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสิน
***ชี้ปมทุจริตมีผู้ใหญ่อยู่เบื้องหลัง*****
นอกจากนั้นยังมีโครงการอื่นๆ ที่เข้าข่ายการทำสัญญาซึ่งทีพีซีเป็นผู้เสียเปรียบ ได้แก่ โครงการจัดซื้อป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านบริษัทเจซีเดอโก จำนวน 24 ล้านบาท ซึ่งทุกโครงการล้วนอยู่ในความรับผิดชอบของนายสมชายทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้บอร์ดจะไม่ขอตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทุจริต เพราะมองว่าเป็นโครงการใหญ่ ซึ่งหากสืบในเชิงลึกต้องมีผู้ใหญ่อยู่เบื้องหลัง จึงต้องการให้เรื่องจบแบบไม่ต้องมีปัญหา ตี่การให้นายยอดชาย ออกในครั้งนี้ไม่ใช่ว่าจะมองว่ามีความผิด แต่เป็นการกระทำพฤติกรรมที่มีข้อบ่งบอกว่าทำผิดเพราะสัญญาของทีพีซีเกือบทุกเรื่องมีแต่ความเสียเปรียบ ซึ่งผิดหลักเกณฑ์ เพราะไม่มีสัญญาใดๆในโลกนี้ที่หน่วยงานรัฐทำกับองค์กรไหนแล้วต้องเสียเปรียบ
***พนักงานขู่ฟ้องศาลปกครอง****
ทางด้านนายณัฐพล เดชวิทักษ์ รองผู้จัดการใหญ่สายงานการจำหน่ายและการตลาด กล่าวว่า ยอมรับไม่ได้จากมติบอร์ดที่ให้ตนพ้นจากตำแหน่ง จึงเตรียมขอเข้าพบนายอุดม เพื่อชี้แจงเหตุผล และขอไม่ลาออกพร้อมกับนายยอดชาย เนื่องจากที่ผ่านมาตนเองทำงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ หากยอมรับในการตัดสินครั้งนี้เท่ากับว่าตัวเองก็ร่วมทุจริตไปด้วย
อีกทั้งเหตุผลที่จะเออลี่พนักงานในรอบนี้ก็ไม่เหมาะสม เพราะอีลิทไม่สามารถดำเนินงานได้เป็นผลจากคำสั่งของนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยว ที่ให้ทีพีซีหยุดดำเนินกิจกรรมทุกอย่าง ประกอบกับทีพีซีเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จึงไม่สามารถอ้างเหตุผลเรื่องปรับลดต้นทุนไม่ได้ ซึ่งหากยังจะเดินหน้าโครงการเออลี่ในครั้งนี้อาจมีพนักงานบางกลุ่มประท้วงและยื่นฟ้องศาลปกครองให้ประกาศคุ้มครองชั่วคราว
***“อุดม”ผลงานไม่ปลื้มจี้ลาออก******
อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวจากทีพีซี ระบุว่า ในการประชุมบอร์ดครั้งนี้ ที่ประชุมยังมีการเจรจาให้นายอุดม ลาออกจากตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการใหญ่ด้วย แต่นายอุดมยืนยันที่จะยังไม่ลาออก โดยอ้างว่าจะรอเห็นคำสั่งอย่างเป็นทางการจาก ททท.ก่อน เพราะนายอุดมพนักงานททท. และเป็นตัวแทนของ ททท.ในการเข้ามาเป็นกรรมการในบอร์ดทีพีซี เพราะ ททท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ส่วนเหตุผลของการจี้ให้นายอุดมลาออกนั้น น่าจะมาจากนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ไม่พอใจผลการทำงาน อีกทั้งมีกระแสข่าวระบุว่า นายชุมพล ยังต้องการแต่งตั้งให้ น.ส.เมธาวี ตันวัฒนะพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะโฆษกกระทรวงการท่องเที่ยวฯเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ทีพีซีอีกด้วย อีกทั้งยังมีรายงานอีกว่า ในวันนี้(27ส.ค.52) ททท.ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้เรียกประชุมบอร์ดอีลิท เพื่อพิจารณาให้นายอุดมลาออกจากตำแหน่ง
นายธงชัย ศรีดามา รองอธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือ ทีพีซี ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิท การ์ด เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดมีมติเห็นชอบให้ ทีพีซี ไปเร่งดำเนินการปรับลดขนาดองค์กร ด้วยการปรับลดจำนวนพนักงาน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ และสอดคล้องกับภาระกิจของงานที่มีอยู่ในปัจจุบันมากที่สุด โดยสั่งการให้ นายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ ที่ปรึกษาผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระดับ 10 ในฐานะรักษาการผู้จัดการใหญ่ ไปดำเนินการจัดโครงการเกษียณก่อนกำหนด หรือ เออลี่ รีไทน์ จำนวน 25 ตำแหน่ง ในที่นี้แบ่งเป็นประกาศขอรับความสมัครใจเข้าร่วมโครงการจากพนักงาน 15 ตำแหน่ง ส่วนอีก 10 ตำแหน่ง ให้นายอุดม พิจารณาคัดเลือกจากระดับผู้บริหาร กระบวนการทั้งหมดต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ แต่ให้มีผลการเลิกจ้างในเดือนตุลาคม 2552
***ประเดิมเชือด 2 ตำแหน่งผู้บริหาร*****
อย่างไรก็ตาม จากมติดังกล่าว บอร์ดได้ระบุว่าให้ผู้บริหารระดับรองผู้จัดการใหญ่ 2 ตำแหน่งเข้าสู่โครงการนี้ด้วย ได้แก่ นายยอดชาย แก้วเพ็ญศรี รองผู้จัดการใหญ่สายงานสิทธิประโยชน์และสมาชิกสัมพันธ์ และ นายณัฐพล เดชวิทักษ์ รองผู้จัดการใหญ่สายงานการจำหน่ายและการตลาด โดยให้เหตุผลว่า ทั้ง 2 ตำแหน่งดังกล่าว ขณะนี้องค์กรยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ เพราะขณะนี้ทีพีซี อยู่ระหว่างการถูกสั่งพักการดำเนินธุรกรรมทุกอย่างจากนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อีกทั้ง ยังเป็นตำแหน่งที่มีอัตราเงินเดือนสูง คือ 1.8 แสนบาทต่อเดือน
ที่ผ่านมา ทีพีซี เคยจัดโครงการจำใจจากไปแล้ว 1 ครั้ง สมัยที่นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการใหญ่ ทำให้ปัจจุบันทีพีซี มีพนักงานประจำรวมทั้งหมด 140 คน ซึ่งหลังจบโครงการนี้จะลดเหลือ 115 คน ซึ่งพนักงานและผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายกำหนดโดยดูจากอายุงาน ซึ่งสูงสุดจะได้ไม่เกิน 10 เดือนโดยอยู่ระหว่างการรวบรวมว่าทีพีซีต้องใช้งบในโครงการนี้มากเท่าใด
นายธงชัย กล่าวขยายความด้วยว่า กรณีของนายยอดชาย บอร์ดสั่งการเพื่อให้เข้ากับครรลองทางธุรกิจกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟเทคโนโลยี เพื่อต่อรองการเรียกเก็บค่าเสียหายที่เกิดจากกรณีทีพีซีผิดสัญญาการเช่าระบบไอที วงเงิน 77.3 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ สัญญาเช่าระบบบริหารสมาชิกสัมพันธ์และเชื่อมโยงระบบสารสนเทศ จำนวน 38 ล้านบาท และ อีก32.3ล้านบาทคือโครงการสัญญาเช่าระบบอัตโนมัติและระบบสำรองออนไลน์ เพราะจากการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายเพื่อตรวจสอบสัญญา ระบุว่าเป็นสัญญาที่เสียเปรียบคู่สัญญาทุกจุด ซึ่งต้องให้ทีพีซีไปเจรจาขอลดค่าชดเชยความเสียหายไม่ให้เกิน 5 ล้านบาท หากไม่สำเร็จคงต้องส่งเรื่องฟ้องศาลให้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสิน
***ชี้ปมทุจริตมีผู้ใหญ่อยู่เบื้องหลัง*****
นอกจากนั้นยังมีโครงการอื่นๆ ที่เข้าข่ายการทำสัญญาซึ่งทีพีซีเป็นผู้เสียเปรียบ ได้แก่ โครงการจัดซื้อป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านบริษัทเจซีเดอโก จำนวน 24 ล้านบาท ซึ่งทุกโครงการล้วนอยู่ในความรับผิดชอบของนายสมชายทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้บอร์ดจะไม่ขอตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทุจริต เพราะมองว่าเป็นโครงการใหญ่ ซึ่งหากสืบในเชิงลึกต้องมีผู้ใหญ่อยู่เบื้องหลัง จึงต้องการให้เรื่องจบแบบไม่ต้องมีปัญหา ตี่การให้นายยอดชาย ออกในครั้งนี้ไม่ใช่ว่าจะมองว่ามีความผิด แต่เป็นการกระทำพฤติกรรมที่มีข้อบ่งบอกว่าทำผิดเพราะสัญญาของทีพีซีเกือบทุกเรื่องมีแต่ความเสียเปรียบ ซึ่งผิดหลักเกณฑ์ เพราะไม่มีสัญญาใดๆในโลกนี้ที่หน่วยงานรัฐทำกับองค์กรไหนแล้วต้องเสียเปรียบ
***พนักงานขู่ฟ้องศาลปกครอง****
ทางด้านนายณัฐพล เดชวิทักษ์ รองผู้จัดการใหญ่สายงานการจำหน่ายและการตลาด กล่าวว่า ยอมรับไม่ได้จากมติบอร์ดที่ให้ตนพ้นจากตำแหน่ง จึงเตรียมขอเข้าพบนายอุดม เพื่อชี้แจงเหตุผล และขอไม่ลาออกพร้อมกับนายยอดชาย เนื่องจากที่ผ่านมาตนเองทำงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ หากยอมรับในการตัดสินครั้งนี้เท่ากับว่าตัวเองก็ร่วมทุจริตไปด้วย
อีกทั้งเหตุผลที่จะเออลี่พนักงานในรอบนี้ก็ไม่เหมาะสม เพราะอีลิทไม่สามารถดำเนินงานได้เป็นผลจากคำสั่งของนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยว ที่ให้ทีพีซีหยุดดำเนินกิจกรรมทุกอย่าง ประกอบกับทีพีซีเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จึงไม่สามารถอ้างเหตุผลเรื่องปรับลดต้นทุนไม่ได้ ซึ่งหากยังจะเดินหน้าโครงการเออลี่ในครั้งนี้อาจมีพนักงานบางกลุ่มประท้วงและยื่นฟ้องศาลปกครองให้ประกาศคุ้มครองชั่วคราว
***“อุดม”ผลงานไม่ปลื้มจี้ลาออก******
อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวจากทีพีซี ระบุว่า ในการประชุมบอร์ดครั้งนี้ ที่ประชุมยังมีการเจรจาให้นายอุดม ลาออกจากตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการใหญ่ด้วย แต่นายอุดมยืนยันที่จะยังไม่ลาออก โดยอ้างว่าจะรอเห็นคำสั่งอย่างเป็นทางการจาก ททท.ก่อน เพราะนายอุดมพนักงานททท. และเป็นตัวแทนของ ททท.ในการเข้ามาเป็นกรรมการในบอร์ดทีพีซี เพราะ ททท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ส่วนเหตุผลของการจี้ให้นายอุดมลาออกนั้น น่าจะมาจากนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ไม่พอใจผลการทำงาน อีกทั้งมีกระแสข่าวระบุว่า นายชุมพล ยังต้องการแต่งตั้งให้ น.ส.เมธาวี ตันวัฒนะพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะโฆษกกระทรวงการท่องเที่ยวฯเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ทีพีซีอีกด้วย อีกทั้งยังมีรายงานอีกว่า ในวันนี้(27ส.ค.52) ททท.ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้เรียกประชุมบอร์ดอีลิท เพื่อพิจารณาให้นายอุดมลาออกจากตำแหน่ง