ASTV ผู้จัดการรายวัน – “อุดม” เล็งชงบอร์ดทีพีซีตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทุจริต ขยายผลมติคณะอนุกรรมการด้านกฏหมาย ที่ระบุการทำสัญยาจัดซื้อจัดจ้างของอดีตผู้บริหารทีพีซีไม่เหมาะสม หวังเอาผิด “สุรพงษ์” พร้อมพวก ข้อหาทุจริต ในโครงการจัดซื้อระบบไอที และ พื้นที่โฆษณาที่สนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงอีกหลายโครงการฉาว เอื้อประโยชน์พวกพ้อง เป็นผลให้ทีพีซีสูญเงินเปล่าประโยชน์
นายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ รักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือ ทีพีซี ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิท เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯมีแนวคิดที่จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารทีพีซี(บอร์ด) ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริต เพื่อทำงานตรวจสอบมูลความผิดเชิงลึกในกลุ่มผู้บริหารทีพีซีชุดก่อนๆ ที่ผานมา เพื่อหาผู้ที่กระทำผิดเพื่อและนำมาลงโทษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัญญาจ้างบริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอที จัดทำระบบคอมพิวเตอร์ วงเงิน 75 ล้านบาท และ โครงการเช่าพื้นที่ทำโฆษณาของ บริษัท คิงเพาเวอร์ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยเป็นการซื้อผ่านบริษัท เจซีเดอโก หรือ เจซีดี (JCD) ซึ่งเป็นนายหน้าจัดซื้อพื้นที่โฆษณา วงเงินรวม 19 ล้านบาท ตามคำสั่งของนายธชธร ทิมทอง อดีตที่ปรึกษาด้านจำหน่ายและการตลาด ทีพีซี
เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีอีกหลายโครงการที่ตรวจสอบได้ว่าเป็นโครงการไม่เหมาะสม ทำให้ทีพีซีเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานะของบริษัทฯทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 โครงการที่ยกตัวอย่างดังกล่าวนั้น เป็นโครงการการจัดซื้อจัดจ้างที่เกิดขึ้นในช่วงของ นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น ผู้จัดการใหญ่ทีพีซี และ นายธชธร ทิมทอง อดีตผู้บริหารที่ขณะนั้นนั่งในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านจำหน่ายและการตลาด
โดยปัจจุบันนี้ โครงการจัดทำระบบคอมพิวเตอร์ วงเงิน 75 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนายชุมพล ศิลปอาชา รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีคำสั่งให้ทีพีซี หยุดดำเนินธุรกรรม ที่จะเป็นผลระยะต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องการใช้จ่ายเงิน ทำให้ ทีพีซี ไม่สามารถจ่ายเงินเพื่อทำสัญญาว่าจ้างได้ เป็นผลให้ล่าสุด บริษัท เอไอที ยกเลิกสัญญาพร้อมยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อทีพีซีวงเงิน 30 ล้านบาท
ส่วนโครงการเช่าพื้นที่โฆษณาที่สนามบินสุวรรณภูมิ เซ็นสัญญาไปแล้ว ไม่สามารถยกเลิกได้ เป็นผลให้ ทีพีซีต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทุกเดือนๆละ 1.7 ล้านบาท จนกว่าจะครบสัญญารวมวงเงิน 19 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แนวคิดการเสนอตั้งคณะกรรมการตรวจสอบในครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการนำผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการด้านกฏหมาย ซึ่งมีนายเกษม สรศักดิ์เกษม เป็นประธาน มาขยายผล เพราะผลจากการตรวจสอบซึ่งนำเสนอเพื่อทราบในที่ประชุมบอร์ดทีพีซี ระบุว่า เป็นสัญญาที่ไม่เหมาะสม และเป็นผลให้ให้ทีพีซีเสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัด ทำให้องค์กรเกิดความเสียหาย
นอกจากนั้น ในการประชุมบอร์ดทีพีซีครั้งนี้ยังได้เสนอข้อความเห็นชอบ กฏระเบียบบริษัท เพราะปัจจุบันนี้ ทีพีซี นำระเบียบของ ททท.มาบังคับใช้ ซึ่งทำให้ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดขององค์กรมีอำนาจอนุมัติวงเงินสำหรับการใช้จ่ายได้มากแบบไม่จำกัดวงเงิน ก่อให้เกิดช่องทางรั่วไหลทางการเงิน แต่ระเบียบใหม่ที่เสนอครั้งนี้ ให้อำนาจผู้บริหารสูงสุดของบริษัทมีอำนาจเซ็นอนุมัติได้ไม่เกินวงเงิน 3 ล้านบาท ถ้ามากกว่านั้นต้องนำเสนอบอร์ดทีพีซี
นายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ รักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือ ทีพีซี ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิท เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯมีแนวคิดที่จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารทีพีซี(บอร์ด) ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริต เพื่อทำงานตรวจสอบมูลความผิดเชิงลึกในกลุ่มผู้บริหารทีพีซีชุดก่อนๆ ที่ผานมา เพื่อหาผู้ที่กระทำผิดเพื่อและนำมาลงโทษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัญญาจ้างบริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอที จัดทำระบบคอมพิวเตอร์ วงเงิน 75 ล้านบาท และ โครงการเช่าพื้นที่ทำโฆษณาของ บริษัท คิงเพาเวอร์ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยเป็นการซื้อผ่านบริษัท เจซีเดอโก หรือ เจซีดี (JCD) ซึ่งเป็นนายหน้าจัดซื้อพื้นที่โฆษณา วงเงินรวม 19 ล้านบาท ตามคำสั่งของนายธชธร ทิมทอง อดีตที่ปรึกษาด้านจำหน่ายและการตลาด ทีพีซี
เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีอีกหลายโครงการที่ตรวจสอบได้ว่าเป็นโครงการไม่เหมาะสม ทำให้ทีพีซีเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานะของบริษัทฯทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 โครงการที่ยกตัวอย่างดังกล่าวนั้น เป็นโครงการการจัดซื้อจัดจ้างที่เกิดขึ้นในช่วงของ นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น ผู้จัดการใหญ่ทีพีซี และ นายธชธร ทิมทอง อดีตผู้บริหารที่ขณะนั้นนั่งในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านจำหน่ายและการตลาด
โดยปัจจุบันนี้ โครงการจัดทำระบบคอมพิวเตอร์ วงเงิน 75 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนายชุมพล ศิลปอาชา รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีคำสั่งให้ทีพีซี หยุดดำเนินธุรกรรม ที่จะเป็นผลระยะต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องการใช้จ่ายเงิน ทำให้ ทีพีซี ไม่สามารถจ่ายเงินเพื่อทำสัญญาว่าจ้างได้ เป็นผลให้ล่าสุด บริษัท เอไอที ยกเลิกสัญญาพร้อมยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อทีพีซีวงเงิน 30 ล้านบาท
ส่วนโครงการเช่าพื้นที่โฆษณาที่สนามบินสุวรรณภูมิ เซ็นสัญญาไปแล้ว ไม่สามารถยกเลิกได้ เป็นผลให้ ทีพีซีต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทุกเดือนๆละ 1.7 ล้านบาท จนกว่าจะครบสัญญารวมวงเงิน 19 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แนวคิดการเสนอตั้งคณะกรรมการตรวจสอบในครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการนำผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการด้านกฏหมาย ซึ่งมีนายเกษม สรศักดิ์เกษม เป็นประธาน มาขยายผล เพราะผลจากการตรวจสอบซึ่งนำเสนอเพื่อทราบในที่ประชุมบอร์ดทีพีซี ระบุว่า เป็นสัญญาที่ไม่เหมาะสม และเป็นผลให้ให้ทีพีซีเสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัด ทำให้องค์กรเกิดความเสียหาย
นอกจากนั้น ในการประชุมบอร์ดทีพีซีครั้งนี้ยังได้เสนอข้อความเห็นชอบ กฏระเบียบบริษัท เพราะปัจจุบันนี้ ทีพีซี นำระเบียบของ ททท.มาบังคับใช้ ซึ่งทำให้ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดขององค์กรมีอำนาจอนุมัติวงเงินสำหรับการใช้จ่ายได้มากแบบไม่จำกัดวงเงิน ก่อให้เกิดช่องทางรั่วไหลทางการเงิน แต่ระเบียบใหม่ที่เสนอครั้งนี้ ให้อำนาจผู้บริหารสูงสุดของบริษัทมีอำนาจเซ็นอนุมัติได้ไม่เกินวงเงิน 3 ล้านบาท ถ้ามากกว่านั้นต้องนำเสนอบอร์ดทีพีซี