ครม.ไฟเขียวเว้นภาษีแอร์บ้าน ดักคอเอกชนลดทันทีอย่าอ้างต้องรอล็อตใหม่ ผู้ประกอบการเฮโล มั่นใจตลาดรวมจะคึกคักขึ้นหลังเงียบมานาน คาดราคาแอร์ลดลง 10-15% กระตุ้นการจับจ่าย แอร์ใหม่จ่อคิวลงตลาด
น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) เสนอให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศขนาดต่ำกว่า 72,000 บีทียู เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในประเทศแข่งขันกับเครื่องปรับอากาศนำเข้าได้
"แม้ว่าการยกเว้นภาษีครั้งนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 1.6 พันล้านบาท แต่กระทรวงการคลังเห็นว่าคุ้มค่าเพราะจะช่วยกระตุ้นยอดขายเครื่องปรับอากาศ และทำให้จัดเก็บภาษีด้านอื่นได้เพิ่มขึ้น" น.พ.พฤฒิชัยกล่าวและว่า ยังอยากขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ 178 ราย ให้ปรับลดราคาขายลงทันทีในวันนี้ (26 ส.ค.) เพราะจากกรณีที่ผู้ประกอบการอ้างว่ายังมีสต็อกเดิมคงเหลืออยู่นั้น ภาครัฐได้ไปสำรวจมาแล้วพบว่ามีจำนวนไม่มาก ไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่หยิบขึ้นมากล่าวอ้าง
แหล่งข่าวจากวงการเครื่องปรับอากาศ เปิดเผยกับ “ASTVผู้จัดการรายวัน” เกี่ยวกับนโยบายการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต 15% สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดต่ำกว่า 72,000 บีทียูลงมา ว่า มาตรการการยกเลิกภาษีสรรพสามิตแอร์หน้าโรงงาน 10-15% ดังกล่าว ถือเป็นมาตรการที่ผู้ประกอบการเครื่องปรับอากาศรอคอยกันมานานกว่า 20 ปีแล้ว และเชื่อมั่นเมื่อรัฐบาลสามารถยกเลิกได้จริงก็จะช่วยผลักดันให้ตลาดแอร์โดยรวมมีการเติบโตขึ้นมาบ้างอย่างน้อย 10-15% จากเดิมที่ ช่วง 2-3 ปีมานี้แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีการเติบโตเลย เพราะสินค้ามีราคาสูงอีกทั้งในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคด้วย
“ในอดีตแอร์ถูกมองว่า เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ราคาแพง เป็นสิ่งไม่จำเป็น และยังทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วยจากนำยาแอร์ที่มีสารเคมี ทำให้เราถูกจัดไปอยู่ในสินค้าที่ต้องเสียภาษีหน้าโรงงาน 15% และเสียภาษีมหาดไทยอีก 10% จากภาษีสรรพสามิต หรือรวมกันเป็น 16.7% ซึ่งสูงมาก แต่ทุกวันนี้ แอร์กลายเป็นสิ่งจำเป็นไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องฟุ่มเฟือยที่จะเข้าเกณฑ์เก็บภาษีสรรพสามิตแต่อย่างใด”
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า คิดว่ารัฐบาลทำถูกแล้วหากสามารถยกเลิกภาษีสรรพสามิตนี้ แม้ว่าในระยะแรกรัฐบาลจะต้องสูญเสียรายได้ไปมากกว่า 1,000 ล้านบาท แต่เมื่อมองในระยะยาวแล้ว รัฐบาลก็จะได้กลับคืนมามากกว่านั้นอีก เพราะตลาดแอร์ก็จะโตขึ้น คนซื้อมากขึ้น รัฐบาลก็จะได้เงินจากภาษีมากขึ้นนั่นเอง
ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากที่ยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว คาดว่าจะเริ่มเห็นผลดีชัดเจนในต้นปีหน้า เพราะว่าช่วงเทศกาลหน้าขายแอร์ที่สำคัญอยู่ใช่วงหน้าร้อนหรือซัมเมอร์ เดือนเมษายน แต่ช่วงนี้ไม่ใช่หน้าขาย อาจจะขายดีขึ้นมาบ้างแต่ยังไม่มากนัก ส่วนราคาแอร์โดยเฉลี่ยจะถูกลงอย่างย้อย 10-15%
ปัจจุบันตลาดแอร์โดยรวมมีปริมาณ 7-8 แสนยูนิตต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อปี (คิดจากฐานเฉลี่ยเครื่องละ 15,000 บาท โดยแบ่งเป็นแอร์ 1.ขนาด 9,000 บีทียู มีสัดส่วนตลาดประมาณ 25-30% ราคาปัจจุบันเฉลี่ย 15,000 บาทต่อยูนิต 2.ขนาด 13,000 บีทียู มีสัดส่วนตลาดประมาณ 35-40% ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด มีราคาเฉลี่ยที่ 18,000 บาทต่อยูนิต 3.ขนาด 18,000 บีทียู มีสัดส่วนตลาดประมาณ 15% ราคาเฉลี่ยที่ 30,000 บาท และ 4.ขนาด 24,000 บีทียูขึ้นไป มีสัดส่วนตลาดที่ 15% ราคาเฉลี่ย 40,000 บาทขึ้นไปต่อยูนิต
นายสมพร จันกรีนภาวงศ์ หัวหน้ากลลุ่มธุรกิจเครื่องปรับอากาศ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดแอร์ในเมืองไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะเมื่อพิจารณาจากอัตราการครอบครองต่อครัวเรือนยังอยู่แค่ 20% เท่านั้นเอง ซึ่งยังน้อยมาก ขณะที่สินค้ากลุ่มอื่นเช่นเครื่องเสียงหรือแอลอีดีทีวี มีอัตราการครอบครองที่สูงแล้วประมาณ 80-90% และเชื่อว่าปีนห้าผู้ประกอบการจะส่งแอร์รุ่นใหม่ๆลงตลาดเพิ่มมากขึ้นแน่นอน
นายสัตยา ศรีอ่อน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นทรัลแอร์ ประเทศไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาเซ็นทรัลแอร์ กล่าวกับ “ASTVผู้จัดการรายวัน” ว่า ตลาดแอร์คงจะมีความคึกคักมากขึ้นกว่าเดิมที่ผ่านมา เพราะอย่างน้อยราคาก็จะต่ำลงประมาณ 10-15% ทำให้สามารถกระตุ้นการซื้อของผู้บริโภคได้ อีกทั้งแอร์ก็เป็นสินค้าที่ถือว่ามีความจำเป็นและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตความเป็นอยู่ไปแล้วด้วย ไม่ได้เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเหมือนในอดีตแล้ว
น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) เสนอให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศขนาดต่ำกว่า 72,000 บีทียู เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในประเทศแข่งขันกับเครื่องปรับอากาศนำเข้าได้
"แม้ว่าการยกเว้นภาษีครั้งนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 1.6 พันล้านบาท แต่กระทรวงการคลังเห็นว่าคุ้มค่าเพราะจะช่วยกระตุ้นยอดขายเครื่องปรับอากาศ และทำให้จัดเก็บภาษีด้านอื่นได้เพิ่มขึ้น" น.พ.พฤฒิชัยกล่าวและว่า ยังอยากขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ 178 ราย ให้ปรับลดราคาขายลงทันทีในวันนี้ (26 ส.ค.) เพราะจากกรณีที่ผู้ประกอบการอ้างว่ายังมีสต็อกเดิมคงเหลืออยู่นั้น ภาครัฐได้ไปสำรวจมาแล้วพบว่ามีจำนวนไม่มาก ไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่หยิบขึ้นมากล่าวอ้าง
แหล่งข่าวจากวงการเครื่องปรับอากาศ เปิดเผยกับ “ASTVผู้จัดการรายวัน” เกี่ยวกับนโยบายการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต 15% สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดต่ำกว่า 72,000 บีทียูลงมา ว่า มาตรการการยกเลิกภาษีสรรพสามิตแอร์หน้าโรงงาน 10-15% ดังกล่าว ถือเป็นมาตรการที่ผู้ประกอบการเครื่องปรับอากาศรอคอยกันมานานกว่า 20 ปีแล้ว และเชื่อมั่นเมื่อรัฐบาลสามารถยกเลิกได้จริงก็จะช่วยผลักดันให้ตลาดแอร์โดยรวมมีการเติบโตขึ้นมาบ้างอย่างน้อย 10-15% จากเดิมที่ ช่วง 2-3 ปีมานี้แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีการเติบโตเลย เพราะสินค้ามีราคาสูงอีกทั้งในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคด้วย
“ในอดีตแอร์ถูกมองว่า เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ราคาแพง เป็นสิ่งไม่จำเป็น และยังทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วยจากนำยาแอร์ที่มีสารเคมี ทำให้เราถูกจัดไปอยู่ในสินค้าที่ต้องเสียภาษีหน้าโรงงาน 15% และเสียภาษีมหาดไทยอีก 10% จากภาษีสรรพสามิต หรือรวมกันเป็น 16.7% ซึ่งสูงมาก แต่ทุกวันนี้ แอร์กลายเป็นสิ่งจำเป็นไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องฟุ่มเฟือยที่จะเข้าเกณฑ์เก็บภาษีสรรพสามิตแต่อย่างใด”
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า คิดว่ารัฐบาลทำถูกแล้วหากสามารถยกเลิกภาษีสรรพสามิตนี้ แม้ว่าในระยะแรกรัฐบาลจะต้องสูญเสียรายได้ไปมากกว่า 1,000 ล้านบาท แต่เมื่อมองในระยะยาวแล้ว รัฐบาลก็จะได้กลับคืนมามากกว่านั้นอีก เพราะตลาดแอร์ก็จะโตขึ้น คนซื้อมากขึ้น รัฐบาลก็จะได้เงินจากภาษีมากขึ้นนั่นเอง
ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากที่ยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว คาดว่าจะเริ่มเห็นผลดีชัดเจนในต้นปีหน้า เพราะว่าช่วงเทศกาลหน้าขายแอร์ที่สำคัญอยู่ใช่วงหน้าร้อนหรือซัมเมอร์ เดือนเมษายน แต่ช่วงนี้ไม่ใช่หน้าขาย อาจจะขายดีขึ้นมาบ้างแต่ยังไม่มากนัก ส่วนราคาแอร์โดยเฉลี่ยจะถูกลงอย่างย้อย 10-15%
ปัจจุบันตลาดแอร์โดยรวมมีปริมาณ 7-8 แสนยูนิตต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อปี (คิดจากฐานเฉลี่ยเครื่องละ 15,000 บาท โดยแบ่งเป็นแอร์ 1.ขนาด 9,000 บีทียู มีสัดส่วนตลาดประมาณ 25-30% ราคาปัจจุบันเฉลี่ย 15,000 บาทต่อยูนิต 2.ขนาด 13,000 บีทียู มีสัดส่วนตลาดประมาณ 35-40% ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด มีราคาเฉลี่ยที่ 18,000 บาทต่อยูนิต 3.ขนาด 18,000 บีทียู มีสัดส่วนตลาดประมาณ 15% ราคาเฉลี่ยที่ 30,000 บาท และ 4.ขนาด 24,000 บีทียูขึ้นไป มีสัดส่วนตลาดที่ 15% ราคาเฉลี่ย 40,000 บาทขึ้นไปต่อยูนิต
นายสมพร จันกรีนภาวงศ์ หัวหน้ากลลุ่มธุรกิจเครื่องปรับอากาศ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดแอร์ในเมืองไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะเมื่อพิจารณาจากอัตราการครอบครองต่อครัวเรือนยังอยู่แค่ 20% เท่านั้นเอง ซึ่งยังน้อยมาก ขณะที่สินค้ากลุ่มอื่นเช่นเครื่องเสียงหรือแอลอีดีทีวี มีอัตราการครอบครองที่สูงแล้วประมาณ 80-90% และเชื่อว่าปีนห้าผู้ประกอบการจะส่งแอร์รุ่นใหม่ๆลงตลาดเพิ่มมากขึ้นแน่นอน
นายสัตยา ศรีอ่อน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นทรัลแอร์ ประเทศไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาเซ็นทรัลแอร์ กล่าวกับ “ASTVผู้จัดการรายวัน” ว่า ตลาดแอร์คงจะมีความคึกคักมากขึ้นกว่าเดิมที่ผ่านมา เพราะอย่างน้อยราคาก็จะต่ำลงประมาณ 10-15% ทำให้สามารถกระตุ้นการซื้อของผู้บริโภคได้ อีกทั้งแอร์ก็เป็นสินค้าที่ถือว่ามีความจำเป็นและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตความเป็นอยู่ไปแล้วด้วย ไม่ได้เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเหมือนในอดีตแล้ว