“พรศิริ” ยอมรับตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยปีนี้ติดลบจากปีก่อนมากกว่า 10.8% แน่นอน ปัจจัยหลัก คือ ปัญหาโรคระบาดคุกคามเอเชีย เล็งใช้เวทีประชุมพาต้าบอร์ด และพาต้าทราเวลมาร์ท ชี้แจงต่างชาติหวังดึงกลับมาเที่ยวไปไทย ชี้แจงสถานการณ์ประเทศไทยต่อผู้นำต่างชาติ และสื่อมวลชน ล่อชมบูธ ททท.แนะนำแหล่งท่องเที่ยวสร้างสานสัมพันธ์ใหม่ให้แก่คน ททท.พร้อมเร่งบูรณาการบทบาทพาต้า เล็งเพิ่มฐานสมาชิกเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่รู้ทันอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
นางพรศิริ มโนหาญ ประธานสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (พาต้า) เปิดเผยว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยในปีนี้ จากเดิมที่ พาต้าประเมินว่า จะติดลบ 10.8% จากปีก่อนที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวน 14.6 ล้านคน นั้น
ล่าสุด มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่า จำนวนนักท่องเที่ยวอาจลดลงมากกว่าตัวเลขที่พาต้าประมาณการณ์ไว้ข้างต้น เพราะขณะประเมินตัวเลข ยังไม่มีการระบาดของโรดไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทย แต่ถึงตอนนี้ประเทศไทยมีอัตราผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ 2009 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางเข้ามา
ขณะที่ภาพรวมในภูมิภาคเอเชีย ปัญหาโรคระบาด ยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางลดลงต่อเนื่อง ล่าสุด ยอมรับว่า การระบาดของโรดกาฬโรดปอดในประเทศจีนก็อาจจะมีผลกระทบด้านจิตวิทยาที่ทำให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางเช่นกัน
นางพรศิริ กล่าวถึงการจัดงานประชุม พาต้า บอร์ด (21-22 ก.ย.) และ พาต้า ทราเวลมาร์ท (22-23 ก.ย.) ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน ด้วยว่า ได้เตรียมใช้ทั้ง 2 เวที ดังกล่าวโปรโมตประเทศไทย และชี้แจงถึงสถานการณ์ประเทศไทยตามความเป็นจริงว่า ขณะนี้ เหตุการณ์รุนแรงได้จบสิ้นไปหมดแล้ว โดยประเทศไทยและคนไทย พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวตลอดเวลา เพราะ 2 งานดังกล่าวจะมีผู้บริหารระดับแชร์แมน หรือ ซีอีโอ จากประเทศสมาชิกพาต้ากว่า 42 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก มาร่วมประชุม
ภายในงาน พาต้า ทราเวลมาร์ท ซึ่ง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้นำเอกชนไปร่วมออกบูธด้วย โดย นายเส้า ฉีเหว่ย รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวของประเทศจีน ให้เกียรติมาร่วมเป็นประธานตัดริบบิ้นเปิดงาน พร้อมนำผู้บริหารจากทุกประเทศเข้าร่วมชมการออกบูธ จึงถือเป็นโอกาสดีที่ตัวเองในฐานะประธานพาต้า จะเดินนำไปเยี่ยมชมบูธของประเทศไทยในนานที่สุด เพื่อ ททท.จะได้ถือโอกาสนี้ร่วมออกงานด้วย
นอกจากนั้น จะใช้เวทีนี้แนะนำให้ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของ ททท.ได้รู้จักพูดคุย ทำความคุ้นเคยกับระดับเจ้าหน้าที่ และระดับผู้บริหาร จากทุกๆประเทศที่ได้เดินทางมาด้วย เป็นการสร้างเครือข่ายให้แก่คน ททท.ได้เพิ่มเติม เพื่อไปสานต่องานในอนาคต
***เล็งขยายฐานสมาชิกเจาะคนรุ่นใหม่
นางพรศิริ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ พาต้าอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบการทำงาน มีแนวคิดจะขยายกลุ่มสมาชิกไปสู่คนรุ่นใหม่ โดยจะเชิญชวนมหาวิทยาลัยและนักเรียนนักศึกษาเข้ามาเป็นสมาชิกพาต้า เริ่มจากการเป็นสมาชิกแบบกลุ่มย่อย (แชพเตอร์) คาดว่า ภายในปีนี้จะสามารถเปิดรับสมัครได้ คิดอัตราค่าสมาชิก 5,000 บาท ต่อปี ซึ่งถูกกว่าสมาชิกระดับวีไอพีกลุ่มผู้บริหารและผู้นำองค์กร ซึ่งจะเสียค่าสมาชิกราว 35,000 บาทต่อปี เพื่อต้องการให้นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนในสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้มีโอกาสเข้ามาพบปะผู้เชี่ยวชาญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในระดับโลก (กูรู) เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
“การได้พบปะพูดคุยกับบรรดากูรูด้านท่องเที่ยวเหล่านี้ จะทำให้นักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่เกิดการจุดประกายทางด้านความคิด และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตและการทำงาน เพื่อก้าวให้ทันกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เจริญรุ่งเรือง เราจะเปิดรับนักศึกษาที่สนใจจากประเทศสมาชิกทั่วโลกซึ่งในประเทศไทยก็มีมหาวิทยาลัยที่สอนด้านการท่องเที่ยวจำนวนมาก เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ราชภัฏต่างๆ รวมถึงวิทยาลัยการโรงแรมของดุสิตธานี เป็นต้น”
นางพรศิริ มโนหาญ ประธานสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (พาต้า) เปิดเผยว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยในปีนี้ จากเดิมที่ พาต้าประเมินว่า จะติดลบ 10.8% จากปีก่อนที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวน 14.6 ล้านคน นั้น
ล่าสุด มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่า จำนวนนักท่องเที่ยวอาจลดลงมากกว่าตัวเลขที่พาต้าประมาณการณ์ไว้ข้างต้น เพราะขณะประเมินตัวเลข ยังไม่มีการระบาดของโรดไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทย แต่ถึงตอนนี้ประเทศไทยมีอัตราผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ 2009 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางเข้ามา
ขณะที่ภาพรวมในภูมิภาคเอเชีย ปัญหาโรคระบาด ยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางลดลงต่อเนื่อง ล่าสุด ยอมรับว่า การระบาดของโรดกาฬโรดปอดในประเทศจีนก็อาจจะมีผลกระทบด้านจิตวิทยาที่ทำให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางเช่นกัน
นางพรศิริ กล่าวถึงการจัดงานประชุม พาต้า บอร์ด (21-22 ก.ย.) และ พาต้า ทราเวลมาร์ท (22-23 ก.ย.) ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน ด้วยว่า ได้เตรียมใช้ทั้ง 2 เวที ดังกล่าวโปรโมตประเทศไทย และชี้แจงถึงสถานการณ์ประเทศไทยตามความเป็นจริงว่า ขณะนี้ เหตุการณ์รุนแรงได้จบสิ้นไปหมดแล้ว โดยประเทศไทยและคนไทย พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวตลอดเวลา เพราะ 2 งานดังกล่าวจะมีผู้บริหารระดับแชร์แมน หรือ ซีอีโอ จากประเทศสมาชิกพาต้ากว่า 42 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก มาร่วมประชุม
ภายในงาน พาต้า ทราเวลมาร์ท ซึ่ง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้นำเอกชนไปร่วมออกบูธด้วย โดย นายเส้า ฉีเหว่ย รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวของประเทศจีน ให้เกียรติมาร่วมเป็นประธานตัดริบบิ้นเปิดงาน พร้อมนำผู้บริหารจากทุกประเทศเข้าร่วมชมการออกบูธ จึงถือเป็นโอกาสดีที่ตัวเองในฐานะประธานพาต้า จะเดินนำไปเยี่ยมชมบูธของประเทศไทยในนานที่สุด เพื่อ ททท.จะได้ถือโอกาสนี้ร่วมออกงานด้วย
นอกจากนั้น จะใช้เวทีนี้แนะนำให้ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของ ททท.ได้รู้จักพูดคุย ทำความคุ้นเคยกับระดับเจ้าหน้าที่ และระดับผู้บริหาร จากทุกๆประเทศที่ได้เดินทางมาด้วย เป็นการสร้างเครือข่ายให้แก่คน ททท.ได้เพิ่มเติม เพื่อไปสานต่องานในอนาคต
***เล็งขยายฐานสมาชิกเจาะคนรุ่นใหม่
นางพรศิริ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ พาต้าอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบการทำงาน มีแนวคิดจะขยายกลุ่มสมาชิกไปสู่คนรุ่นใหม่ โดยจะเชิญชวนมหาวิทยาลัยและนักเรียนนักศึกษาเข้ามาเป็นสมาชิกพาต้า เริ่มจากการเป็นสมาชิกแบบกลุ่มย่อย (แชพเตอร์) คาดว่า ภายในปีนี้จะสามารถเปิดรับสมัครได้ คิดอัตราค่าสมาชิก 5,000 บาท ต่อปี ซึ่งถูกกว่าสมาชิกระดับวีไอพีกลุ่มผู้บริหารและผู้นำองค์กร ซึ่งจะเสียค่าสมาชิกราว 35,000 บาทต่อปี เพื่อต้องการให้นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนในสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้มีโอกาสเข้ามาพบปะผู้เชี่ยวชาญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในระดับโลก (กูรู) เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
“การได้พบปะพูดคุยกับบรรดากูรูด้านท่องเที่ยวเหล่านี้ จะทำให้นักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่เกิดการจุดประกายทางด้านความคิด และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตและการทำงาน เพื่อก้าวให้ทันกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เจริญรุ่งเรือง เราจะเปิดรับนักศึกษาที่สนใจจากประเทศสมาชิกทั่วโลกซึ่งในประเทศไทยก็มีมหาวิทยาลัยที่สอนด้านการท่องเที่ยวจำนวนมาก เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ราชภัฏต่างๆ รวมถึงวิทยาลัยการโรงแรมของดุสิตธานี เป็นต้น”