xs
xsm
sm
md
lg

เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 6) : อสมท สูญเบื้องต้น 2 พันล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ประวิทย์ มาลีนนท์
.
[เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 1) “สิทธิประโยชน์ อสมท ลดลง”]

[เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 2) แผนลดทอนอำนาจ “อสมท”]

[เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 3) บีอีซีหัวใสปรับโครงสร้างถือหุ้น]

[เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 4) รายได้ก้าวกระโดดแต่จ่ายคงที่]

[เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 5) : แฉลูกเล่นบีอีซีใช้อุปกรณ์-เช่าที่ดิน]

ขณะที่สัญญาสัมปทานบริหารช่อง 3 ต่ออีก 10 ปี (2553-2563) ของ บริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดย บอร์ด บมจ.อสมท “ASTVผู้จัดการรายวัน” ขอนำเสนอผลสอบสัญญาเดิมที่ไม่เป็นธรรม ให้สาธารณชนได้รับรู้

จำนวนผลกระทบที่เป็นตัวเงินของการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3

จากที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ว่า การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3 ที่กำหนดให้เปลี่ยนวิธีคิดค่าตอบแทนจากอัตราร้อยละของรายได้ไปเป็นจำนวนตายตัว อาจทำให้ อสมท สูญเสียประโยชน์ที่ควรได้รับ เพื่อให้ทราบจำนวนค่าตอบแทนที่ อสมท สูญเสียจากการแก้ไขสัญญา จึงได้ทำการคำนวณหาค่าตอบแทน (ร้อยละ 6.5 จากรายได้ของบีอีซี ) สำหรับปี 2533-2548 ประหนึ่งว่า การแก้ไขวิธีคำนวณค่าตอบแทนไม่ได้เกิดขึ้น แล้วนำค่าตอบแทนที่คำนวณได้ไปเปรียบกับค่าตอบแทนที่ อสมท ได้รับจริง

ทั้งนี้ การศึกษาได้ทำการแยกแยะออกเป็นรายปี ตั้งแต่ปี 2533-2548 แต่จะขอยกตัวอย่างมาอ้างอิงเพียงบางปี เช่น

ปี 2533 รายได้ค่าโฆษณา 445,841,160 บาท รายได้อื่น 5,392,594 บาท รวมรายได้ 451,233,753 บาท ส่วน 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 29,330,194 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำเท่ากับ 17,685,131 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 5,149,350 บาท

ปี 2538 รายได้ค่าโฆษณา 1,391,067,040 บาท รายได้อื่น 1,012,341,050 บาท รวมรายได้ 2,403,408,090 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 156,221,526 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 23,580,000 เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 1,554,000,000 บาท

ปี 2545 รายได้ค่าโฆษณา 2,017,060,292 บาท รายได้อื่น 55,579,147 บาท รวมรายได้ 2,072,639,439 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 134,721,564 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 54,467,500 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 400,000,000 บาท

ปี 2547 รายได้ค่าโฆษณา 2,400,656,682 บาท รายได้อื่น 30,398,011 บาท รวมรายได้ 2,431,054,693 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 158,018,555 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 65,385,500 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 1,000,000,000 บาท

ปี 2548 รายได้ค่าโฆษณา 2,236,828,995 บาท รายได้อื่น 24,189,474 บาท รวมรายได้ 2,261,018,469 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 146,966,200 บาท ค่าตอบแทนขันต่ำ 110,255,000 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 800,000,000 บาท

อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมทั้ง 16 ปีที่ผ่านมาแล้ว ( ปี 2533-2548 ) ผลการศึกษาพบว่า บีอีซี มีรายได้ค่าโฆษณาประมาณ 23,265,023,512 บาท มีรายได้อื่นประมาณ 2,037,854,940 บาท รวมรายได้ประมาณ 25,302,878,451 บาท

โดยที่ ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมปี 2533-2548 เท่ากับ 1,644,687,099 บาท ขณะที่ค่าตอบแทนขั้นต่ำเท่ากับ 609,395,500 บาท และเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับเท่ากับ 5,741,987,950 บาท

นั่นหมายความว่า ในระยะเวลา 16 ปีที่ผ่านมา อสมท ควรจะได้รับค่าตอบแทนทั้งสิ้นจำนวน 1,645 ล้านบาท (หากการแก้ไขสัญญาไม่เกิดขึ้น) แต่ในความเป็นจริง อสมท ได้รับค่าตอบแทนเพียง 609 ล้านบาท ทำให้สรุปได้ว่า การเปลี่ยนวิธีคิดค่าตอบแทนทำให้ อสมท สูญเสียผลประโยชน์จำนวน 1,035 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การคำนวณหาค่าตอบแทนที่ อสมท สูญเสียถือเป็นการคำนวณในเบื้องต้น เนื่องจากรายได้ที่ใช้ในการคำนวณเป็นรายได้ของบีอีซีเพียงบริษัทเดียว แต่หลังจากที่สัญญาได้แก้ไขให้บีอีซีสามารถเปลี่ยนโครงสร้างการถือหุ้นโดยไม่ต้องขอความยินยอมจาก อสมท กลุ่มมาลีนนท์ได้จัดโครงสร้างกลุ่มบริษัทใหม่โดยให้บีอีซีเวิลด์ทำหน้าที่ควบคุมบริษัทที่เกี่ยวข้องต่างๆ การจัดโครงสร้างใหม่นี้ ทำให้บีอีซีเวิลด์สามารถกำกับให้บริษัทที่เกี่ยวข้องโอนถ่ายรายได้ให้แก่กัน จึงเป็นไปได้ที่รายได้ของบีอีซีจะกระจายไปแสดงในงบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้องอื่น

ทั้งนี้ การเก็บข้อมูลรายได้จากงบการเงินของบริษัทในกลุ่มบีอีซีเวิลด์ โดยอาศัยคำจำกัดความของรายได้ตามการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 2 ที่กำหนดให้รายได้หมายถึง “รายได้ที่ได้รับจากการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี และที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการสร้างโทรทัศน์สี” แต่เนื่องจากบริษัทในกลุ่มบีอีซีเวิลด์ ประกอบธุรกิจหลายประเภท และธุรกิจบางประเภทอาจไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี การคิดครั้งนี้จึงได้ทำการเก็บข้อมูลเฉพาะ “รายได้ค่าโฆษณา” ที่ปรากฎในงบการเงินของบริษัทที่ทำธุรกิจด้านโทรทัศน์ คือ บริษัท รังสิโรตม์ จำกัด (“รังสิโรตม์”) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทวันที่ 22 กรกฎาคม 2531 เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในปี 2534 และบริษัท นิวเวิลด์ โปรดักชั่น จำกัด (“นิวเวิลด์”) จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทวันที่ 26 สิงหาคม 2535

เมื่อได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของรายได้ทั้งสิ้นตามสัญญา การคำนวณจึงได้ทำการคำนวณค่าตอบแทนที่ อสมท ควรได้รับจากอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ทั้งสิ้น และนำค่าตอบแทนที่คำนวณได้มาเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่ อสมท ได้รับจริง

ทั้งนี้ จะนำเสนอเฉพาะยอดรวมในแต่ละรายการตั้งแต่ปี 2533- 2548 ดังนี้

รายได้รวมของบีอีซี เท่ากับ 25,302,878,451 บาท รายได้ค่าโฆษณาของรังสิโรตม์ เท่ากับ 11,022,193,318 บาท รายได้ค่าโฆษณาของนิวเวิลด์เท่ากับ 5,832,857,886 บาท รวมทั้งหมด 42,157,929,655 บาท

โดยที่ 6.5% ของรายได้รวมจะเท่ากับ 2,740,265,428 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำเท่ากับ 609,395,500 บาท ส่วนเงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นบีอีซีเท่ากับ 5,741,987,950 บาท เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นรังสิโรตม์เท่ากับ 3,235,500,000 บาท เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นนิวเวิลด์เท่ากับ 2,514,500,000 บาท รวมเงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นทั้งสามบริษัทเท่ากับ 11,491,987,950 บาท


ผลจากการคำนวณ พบว่า เมื่อนำรายได้จากการดำเนินกิจการโทรทัศน์สีที่กระจายอยู่ในงบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้อง (บีอีซี รังสิโรตม์ และนิวเวิลด์) มารวมกัน ในระหว่างปี 2533-2548 อสมท ควรได้รับค่าตอบแทนทั้งสิ้นจำนวน 2,740 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่ได้รับจริงจำนวน 609 ล้านบาท อสมท จึงน่าที่จะสูญเสียค่าตอบแทนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,131 ล้านบาท (เทียบกับ 1,035 ล้านบาท หากคำนวณจากรายได้ของบีอีซีเพียงบริษัทเดียว) โดยที่ยังไม่ได้คำนวณรวมกับบริษัทอื่นๆ ในเครือที่ยังมีอีกด้วย
 
(อ่านต่อวันพรุ่งนี้ )

ข่าวเกี่ยวเนื่อง
- เปิดผลศึกษาข่าวเศรษฐกิจ ช่อง3 ไม่คุ้มค่าฯ
- 'ประวิทย์'แข็งข้อสัญญาช่อง 3 “สาทิตย์”ไม่การันตีต่ออัตโนมัติ
- เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 “บีอีซีเวิลด์” ขี่คอ “อสมท”
- บอร์ดฯ ตีกรอบถกช่อง 3 ลุยสอบสัญญา-เพิ่มค่าต๋ง
- จี้ปลดแอกสัญญาช่อง 3 บอร์ด อสมท ลั่นเพิ่มค่าต๋ง
- ไอ้โม่งบีบบอร์ด“อสมท" เลิกรื้อสัญญาช่อง 3
- ฮุบ “ช่อง 3” สิบปี จ่ายแค่หลักพันล้าน “อสมท” ตั้ง กก.ศึกษาสัญญา
- ช่อง 3 เล่นแง่เลี่ยง พ.ร.บ. ''อสมท''ตั้ง กก.ทำตามกฎ
- แฉกลเกมช่อง 3 สูบรายได้ อสมท เสียค่าโง่กว่าหมื่นล้าน-ส่อผิด พ.ร.บ.ร่วมทุน

กำลังโหลดความคิดเห็น