นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้ลงนามแต่งตั้งและว่าจ้างนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 เป็นต้นไป
นายเสรีรัตน์ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานงวด 6 เดือน มีกำไรสุทธิ จำนวน 153.61 ล้านบาท ลดลง 3,343.45 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.61 กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.11 บาท ลดลงจากปีก่อน ดังนั้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ ทอท.อีกทางหนึ่ง จึงได้เตรียมแผนงานในอนาคตในการเพิ่มรายได้จากกิจกรรมเชิงพาณิชย์ของแต่ละท่าอากาศยาน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายได้ในกิจกรรมทางการบินมากขึ้น
นายเสรีรัตน์ ยกตัวอย่างว่า กรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) จะพัฒนาที่ดินว่างเปล่ามาใช้พัฒนา ด้วยการให้เอกชนร่วมทุนพัฒนาธุรกิจบนที่ดินแปลง 37 ที่ ทสภ. และพื้นที่ทดแทนทางด้านทิศใต้จำนวน 600 ไร่ ภายใน ทสภ. ประกอบด้วย โครงการ Community Mall (ศูนย์การค้าชุมชน) โครงการให้เอกชนดำเนินการก่อสร้างและบริหารอาคารคลังสินค้าส่วนกลาง ณ ทสภ. และโครงการศูนย์ธุรกิจรถยนต์ครบวงจร
การพัฒนาศูนย์สุขภาพซึ่งกำลังได้รับความนิยม การลงทุนจะแบ่งย่อยเป็นรายโครงการหรือรวมเป็นโครงการเดียวทั้งหมดต้องพิจารณาอีกครั้ง ส่วนท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ได้ติดต่อกับภาคเอกชนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนสร้างศูนย์ซ่อม รวมถึงโครงการอาคารผู้โดยสาร สำหรับอากาศยานส่วนบุคคล (Private Jet Terminal) ณ อาคารรับรองพิเศษ ทดม. ศูนย์ฝึกบินจำลอง และโครงการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างในดอนเมือง
ส่วนแนวทางการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ได้เตรียมพัฒนา 2 ด้านสำคัญคือ การดำเนินการก่อสร้างกลุ่มงานอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ.2553 - 2556) และการดำเนินการตามแผนโครงการพัฒนา ทสภ.ระยะที่ 2 ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (พ.ศ.2554-2559) โดยแผนการลงทุนทั้งหมดใช้เงินประมาณ 7.7 หมื่นล้านบาท แต่ในส่วนของการสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารบวกกับรันเวย์ที่ 3 วงเงินลงทุน 1.1 หมื่นล้านบาท โดยจะสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารทางด้านทิศตะวันออกของสนามบิน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสาร 80 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2562
สำหรับปริมาณการจราจรทางอากาศของ ทอท.ในช่วง 8 เดือน (ตุลาคม 2551 - พฤษภาคม 2552) ปีงบประมาณ 2552 ท่าอากาศยานของ ทอท.ทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต เชียงราย และสุวรรณภูมิ มีปริมาณเที่ยวบินขึ้น-ลง รวม 230,354 เที่ยวบิน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 17 เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 132,347 เที่ยวบิน ลดลงร้อยละ 12.77 และเที่ยวบินภายในประเทศ 98,007 เที่ยวบิน ลดลงร้อยละ 22.10 ทำให้บริการผู้โดยสารรวม 33,377,125 คน ลดลงร้อยละ 19.53 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและผลจากเหตุการณ์ปิดท่าอากาศยานในช่วงปลายปี 2551 ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นของผู้โดยสาร และเหตุการณ์ในช่วง เมษายน 2552 เกิดเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองอีกครั้ง ตามด้วยภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสาร
นอกจากนี้ ทอท.ยังเร่งแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียง ด้วยการควบคุมการใช้อากาศยานที่เกิดเสียงดัง ปรับปรุงเส้นทางบินและสัดส่วนการใช้ทางวิ่ง และกำหนดวิธีการบินขึ้น-ลงของเครื่องบินเพื่อให้ลดการเกิดเสียง ลดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเสียงดัง การติดตามตรวจวัดระดับเสียงจากอากาศยาน การตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยาน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยเร่งรัดแผนการชดเชยผลกระทบด้านเสียงอย่างต่อเนื่องมาตลอด และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 ให้ใช้เงินงบประมาณของ ทอท.จำนวน 11,233 ล้านบาท เพื่อแก้ไขผลกระทบด้านเสียง
นายเสรีรัตน์ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานงวด 6 เดือน มีกำไรสุทธิ จำนวน 153.61 ล้านบาท ลดลง 3,343.45 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.61 กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.11 บาท ลดลงจากปีก่อน ดังนั้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ ทอท.อีกทางหนึ่ง จึงได้เตรียมแผนงานในอนาคตในการเพิ่มรายได้จากกิจกรรมเชิงพาณิชย์ของแต่ละท่าอากาศยาน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายได้ในกิจกรรมทางการบินมากขึ้น
นายเสรีรัตน์ ยกตัวอย่างว่า กรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) จะพัฒนาที่ดินว่างเปล่ามาใช้พัฒนา ด้วยการให้เอกชนร่วมทุนพัฒนาธุรกิจบนที่ดินแปลง 37 ที่ ทสภ. และพื้นที่ทดแทนทางด้านทิศใต้จำนวน 600 ไร่ ภายใน ทสภ. ประกอบด้วย โครงการ Community Mall (ศูนย์การค้าชุมชน) โครงการให้เอกชนดำเนินการก่อสร้างและบริหารอาคารคลังสินค้าส่วนกลาง ณ ทสภ. และโครงการศูนย์ธุรกิจรถยนต์ครบวงจร
การพัฒนาศูนย์สุขภาพซึ่งกำลังได้รับความนิยม การลงทุนจะแบ่งย่อยเป็นรายโครงการหรือรวมเป็นโครงการเดียวทั้งหมดต้องพิจารณาอีกครั้ง ส่วนท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ได้ติดต่อกับภาคเอกชนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนสร้างศูนย์ซ่อม รวมถึงโครงการอาคารผู้โดยสาร สำหรับอากาศยานส่วนบุคคล (Private Jet Terminal) ณ อาคารรับรองพิเศษ ทดม. ศูนย์ฝึกบินจำลอง และโครงการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างในดอนเมือง
ส่วนแนวทางการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ได้เตรียมพัฒนา 2 ด้านสำคัญคือ การดำเนินการก่อสร้างกลุ่มงานอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ.2553 - 2556) และการดำเนินการตามแผนโครงการพัฒนา ทสภ.ระยะที่ 2 ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (พ.ศ.2554-2559) โดยแผนการลงทุนทั้งหมดใช้เงินประมาณ 7.7 หมื่นล้านบาท แต่ในส่วนของการสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารบวกกับรันเวย์ที่ 3 วงเงินลงทุน 1.1 หมื่นล้านบาท โดยจะสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารทางด้านทิศตะวันออกของสนามบิน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสาร 80 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2562
สำหรับปริมาณการจราจรทางอากาศของ ทอท.ในช่วง 8 เดือน (ตุลาคม 2551 - พฤษภาคม 2552) ปีงบประมาณ 2552 ท่าอากาศยานของ ทอท.ทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต เชียงราย และสุวรรณภูมิ มีปริมาณเที่ยวบินขึ้น-ลง รวม 230,354 เที่ยวบิน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 17 เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 132,347 เที่ยวบิน ลดลงร้อยละ 12.77 และเที่ยวบินภายในประเทศ 98,007 เที่ยวบิน ลดลงร้อยละ 22.10 ทำให้บริการผู้โดยสารรวม 33,377,125 คน ลดลงร้อยละ 19.53 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและผลจากเหตุการณ์ปิดท่าอากาศยานในช่วงปลายปี 2551 ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นของผู้โดยสาร และเหตุการณ์ในช่วง เมษายน 2552 เกิดเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองอีกครั้ง ตามด้วยภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสาร
นอกจากนี้ ทอท.ยังเร่งแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียง ด้วยการควบคุมการใช้อากาศยานที่เกิดเสียงดัง ปรับปรุงเส้นทางบินและสัดส่วนการใช้ทางวิ่ง และกำหนดวิธีการบินขึ้น-ลงของเครื่องบินเพื่อให้ลดการเกิดเสียง ลดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเสียงดัง การติดตามตรวจวัดระดับเสียงจากอากาศยาน การตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยาน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยเร่งรัดแผนการชดเชยผลกระทบด้านเสียงอย่างต่อเนื่องมาตลอด และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 ให้ใช้เงินงบประมาณของ ทอท.จำนวน 11,233 ล้านบาท เพื่อแก้ไขผลกระทบด้านเสียง