บอร์ด ทอท.ตั้งคณะกรรมการทบทวนการถือหุ้นในบริษัทย่อยต่างๆ เหตุแทกส์ผิดสัญญารถเข็นกระเป๋าป่วน ทอท.“ปิยะพันธ์” เผย การถือหุ้นในบริษัทคู่สัญญาทำให้เกิดส่วนได้ส่วนเสียและผลประโยชน์ขัดกัน จำเป็นก็ต้องขายทิ้ง เร่งหาผู้ให้บริการรถเข็นใหม่วิธีพิเศษรับปีใหม่ 2553 ขณะที่อนุมัติงบ 5,791 ล้านบาท ปรับปรุงสนามบินภูเก็ตและจ้างศึกษาใช้ประโยชน์ดอนเมืองหารายได้เพิ่ม “เสรีรัตน์” เริ่มงานเอ็มดี 1 ก.ค.ตั้ง “นิรันดร์” คุมสุวรรณภูมิแทน
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด ทอท.วานนี้ (25 มิ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด มี นายประสงค์ พูนธเนศ กรรมการบอร์ดเป็นประธาน เพื่อทบทวนและพิจารณาความเหมาะสมกรณีที่ ทอท.เข้าไปถือหุ้นในบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นคู่สัญญา ว่า มีความจำเป็นต่อไปหรือไม่ โดยหลักการของการพิจารณาให้คำนึงถึงเรื่องการมีส่วนได้ส่วนเสีย และผลประโยชน์ที่ขัดกัน ซึ่งสาเหตุมาจากกรณีการที่บริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์ เซอร์วิช จำกัด หรือ แทกส์ ผิดสัญญาการให้บริการรถเข็นกระเป๋าที่สนามบินสุวรรณภูมิ และ ทอท.ถือหุ้นในแทกส์ 28.5% แล้วกระทบต่อการพิจารณายกเลิกสัญญาสัมปทานดังกล่าว เพราะ ทอท.มีหุ้นในแทกส์
“ถ้าคณะทำงานพิจารณาแล้วเห็นว่า ควรขายหุ้นไปก็ต้องขาย เพราะบางบริษัท ทอท.ถือหุ้นอยู่น้อยมาก โดยให้เร่งพิจารณาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย และเสนอบอร์ดเร็วที่สุด” นายปิยะพันธ์กล่าว
สำหรับการหาผู้ให้บริการรถเข็นกระเป๋ารายใหม่นั้นขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทำร่างประกาศเชิญชวน ซึ่งจะใช้วิธีพิเศษ เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วน ภายใต้หลักการ คุณภาพดี ราคาเหมาะสม ไม่แพงกว่าเดิม ซึ่งคาดว่าจะสรุปผลการประมูลได้ก่อนเดือน ม.ค.2553 ส่วนกรณีที่แทกส์ฟ้องร้องทอท.นั้นขณะนี้ศาลปกครองยังไม่มีคำสั่งใดๆ ออกมาโดย ทอท.มีรถเข็นกระเป๋าให้บริการจำนวน 3,500 คัน และใช้วิธีการบริหารจัดการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกมากที่สุด
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ทอท.ถือหุ้นในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทในเครืออื่นๆ ประกอบด้วย บริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด 60%, บริษัท แทกส์ 28.5%, บริษัทแอร์พอร์ต ดิวตี้ฟรี จำกัด 10%, บริษัท ครัวการบินภูเก็ต จำกัด 10%, บริษัท แอร์พอร์ตแอสโซซิเอท จำกัด 10%, บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 4.94% , บริษัท ดอนเมือง อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต โฮเต็ล จำกัด 9%, บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด 5%, บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (มหาชน) 1.38%, บริษัท เทรดสยาม จำกัด 1.50%, บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด 10%
***พัฒนาสนามบินภูเก็ต-ใช้ประโยชน์ดอนเมือง
นายปิยะพันธ์ กล่าวว่า บอร์ดมีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต กรอบวงเงิน 5,791.122 ล้านบาท (2552-2556) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจาก 6.5 ล้านคนต่อปีเป็น 12.5 ล้านคนต่อปี จนถึงปี 2561 โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้โดยสารใกล้เต็มขีดความสามารถประมาณ 6 ล้านคน นอกจากนี้ ยังอนุมัติงบประมาณ 32 ล้านบาทเพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดรูปแบบการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งจะรวมถึงการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535
***จ้าง “เสรีรัตน์” เอ็มดีโยก “นิรันดร์” ผอ.สุวรรณภูมิ
นายปิยะพันธ์ กล่าวว่า บอร์ดเห็นชอบว่าจ้าง นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.อัตราค่าตอบแทน 630,000 บาทต่อเดือน ตามที่กระทรวงการคลังเห็นชอบโดยเริ่มงานตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2552 พร้อมกันนี้ ได้แต่งตั้งให้ นายเสรีรัตน์ เป็นกรรมการ ทอท.แทน นางสางผ่อนเพ็ญ สัมมาพันธ์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 65 ปี และแต่งตั้งนายนิรันดร์ ธีรนาทสิน รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานพัฒนาธุรกิจ) ทอท.ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแทน นายเสรีรัตน์ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2552
ส่วนความคืบหน้าการจ่ายเงินชดเชยผู้ได้รับผลกระทบด้านเสียงจากการดำเนินงานของท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น บอร์ดอนุมัติให้ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับผลกระทบด้านเสียง NEF มากกว่า 40 จำนวน 49 อาคาร เป็นเงิน 206,452,073 บาท ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 ก.ค.2550 และมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติวันที่ 10 มี.ค.2548
นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เปิดเผยถึงกรณีศาลปกครองสูงสุดยกคำร้องของประชาชนที่ฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พ.ค.2550 ไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวประกาศเส้นเสียงกรณีที่ใช้ทางวิ่งที่ 1 และ 2 เต็มความสามารถสูงสุดของจำนวน 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เฉพาะการบินลงที่ปลายทางวิ่งฝั่งตะวันตกด้านทิศเหนือ ร้อยละ 80 ของเที่ยวบินทั้งหมด และการบินลงที่ปลายทางวิ่งฝั่งตะวันออกด้านทิศเหนือ ร้อยละ 20 ของเที่ยวบินทั้งหมด
ทั้งนี้ เส้นเสียงดังกล่าวเป็นสถานการณ์การบินจริงของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่การกำหนดให้เครื่องบินขึ้น-ลงจำนวน 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมงพร้อมกันทั้งสองทางวิ่งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พ.ย.2549 นั้นไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย เพราะจะทำให้จำนวนเที่ยวบินต่อชั่วโมงสูงกว่าขีดความสามารถในการรองรับของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สำหรับเรื่องการชดเชยผลกระทบด้านเสียงในพื้นที่ระดับ NEF 30-40 ที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 กำหนดให้ ทอท.สนับสนุนการปรับปรุงอาคารเพื่อลดผลกระทบด้านเสียงแก่อาคารที่ตรวจวัดเสียงรบกวนได้เกิน 10 เดซิเบลนั้น ก็สอดคล้องกับมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวมทั้งเป็นข้อกำหนดที่ใช้กับท่าอากาศยานสากลทั่วโลกตามแนวทางขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ( International Civil Aviation Organization : ICAO ) ซึ่งได้กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ระดับ NEF 30-40 เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะต้องให้ซื้อที่ดินและอาคารเช่นเดียวกับระดับ NEF มากกว่า 40 ที่ผลกระทบสูงกว่า การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ค.2550 จึงเป็นมาตรการแก้ไขผลกระทบที่เหมาะสมเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตาม ทอท.ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้พยายามเร่งรัดการชดเชยผลกระทบตามหลักเกณฑ์ของมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2548 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พ.ค.2550 อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการแก้ไขโดยเร็ว
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด ทอท.วานนี้ (25 มิ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด มี นายประสงค์ พูนธเนศ กรรมการบอร์ดเป็นประธาน เพื่อทบทวนและพิจารณาความเหมาะสมกรณีที่ ทอท.เข้าไปถือหุ้นในบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นคู่สัญญา ว่า มีความจำเป็นต่อไปหรือไม่ โดยหลักการของการพิจารณาให้คำนึงถึงเรื่องการมีส่วนได้ส่วนเสีย และผลประโยชน์ที่ขัดกัน ซึ่งสาเหตุมาจากกรณีการที่บริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์ เซอร์วิช จำกัด หรือ แทกส์ ผิดสัญญาการให้บริการรถเข็นกระเป๋าที่สนามบินสุวรรณภูมิ และ ทอท.ถือหุ้นในแทกส์ 28.5% แล้วกระทบต่อการพิจารณายกเลิกสัญญาสัมปทานดังกล่าว เพราะ ทอท.มีหุ้นในแทกส์
“ถ้าคณะทำงานพิจารณาแล้วเห็นว่า ควรขายหุ้นไปก็ต้องขาย เพราะบางบริษัท ทอท.ถือหุ้นอยู่น้อยมาก โดยให้เร่งพิจารณาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย และเสนอบอร์ดเร็วที่สุด” นายปิยะพันธ์กล่าว
สำหรับการหาผู้ให้บริการรถเข็นกระเป๋ารายใหม่นั้นขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทำร่างประกาศเชิญชวน ซึ่งจะใช้วิธีพิเศษ เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วน ภายใต้หลักการ คุณภาพดี ราคาเหมาะสม ไม่แพงกว่าเดิม ซึ่งคาดว่าจะสรุปผลการประมูลได้ก่อนเดือน ม.ค.2553 ส่วนกรณีที่แทกส์ฟ้องร้องทอท.นั้นขณะนี้ศาลปกครองยังไม่มีคำสั่งใดๆ ออกมาโดย ทอท.มีรถเข็นกระเป๋าให้บริการจำนวน 3,500 คัน และใช้วิธีการบริหารจัดการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกมากที่สุด
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ทอท.ถือหุ้นในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทในเครืออื่นๆ ประกอบด้วย บริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด 60%, บริษัท แทกส์ 28.5%, บริษัทแอร์พอร์ต ดิวตี้ฟรี จำกัด 10%, บริษัท ครัวการบินภูเก็ต จำกัด 10%, บริษัท แอร์พอร์ตแอสโซซิเอท จำกัด 10%, บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 4.94% , บริษัท ดอนเมือง อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต โฮเต็ล จำกัด 9%, บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด 5%, บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (มหาชน) 1.38%, บริษัท เทรดสยาม จำกัด 1.50%, บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด 10%
***พัฒนาสนามบินภูเก็ต-ใช้ประโยชน์ดอนเมือง
นายปิยะพันธ์ กล่าวว่า บอร์ดมีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต กรอบวงเงิน 5,791.122 ล้านบาท (2552-2556) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจาก 6.5 ล้านคนต่อปีเป็น 12.5 ล้านคนต่อปี จนถึงปี 2561 โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้โดยสารใกล้เต็มขีดความสามารถประมาณ 6 ล้านคน นอกจากนี้ ยังอนุมัติงบประมาณ 32 ล้านบาทเพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดรูปแบบการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งจะรวมถึงการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535
***จ้าง “เสรีรัตน์” เอ็มดีโยก “นิรันดร์” ผอ.สุวรรณภูมิ
นายปิยะพันธ์ กล่าวว่า บอร์ดเห็นชอบว่าจ้าง นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.อัตราค่าตอบแทน 630,000 บาทต่อเดือน ตามที่กระทรวงการคลังเห็นชอบโดยเริ่มงานตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2552 พร้อมกันนี้ ได้แต่งตั้งให้ นายเสรีรัตน์ เป็นกรรมการ ทอท.แทน นางสางผ่อนเพ็ญ สัมมาพันธ์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 65 ปี และแต่งตั้งนายนิรันดร์ ธีรนาทสิน รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานพัฒนาธุรกิจ) ทอท.ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแทน นายเสรีรัตน์ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2552
ส่วนความคืบหน้าการจ่ายเงินชดเชยผู้ได้รับผลกระทบด้านเสียงจากการดำเนินงานของท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น บอร์ดอนุมัติให้ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับผลกระทบด้านเสียง NEF มากกว่า 40 จำนวน 49 อาคาร เป็นเงิน 206,452,073 บาท ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 ก.ค.2550 และมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติวันที่ 10 มี.ค.2548
นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เปิดเผยถึงกรณีศาลปกครองสูงสุดยกคำร้องของประชาชนที่ฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พ.ค.2550 ไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวประกาศเส้นเสียงกรณีที่ใช้ทางวิ่งที่ 1 และ 2 เต็มความสามารถสูงสุดของจำนวน 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เฉพาะการบินลงที่ปลายทางวิ่งฝั่งตะวันตกด้านทิศเหนือ ร้อยละ 80 ของเที่ยวบินทั้งหมด และการบินลงที่ปลายทางวิ่งฝั่งตะวันออกด้านทิศเหนือ ร้อยละ 20 ของเที่ยวบินทั้งหมด
ทั้งนี้ เส้นเสียงดังกล่าวเป็นสถานการณ์การบินจริงของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่การกำหนดให้เครื่องบินขึ้น-ลงจำนวน 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมงพร้อมกันทั้งสองทางวิ่งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พ.ย.2549 นั้นไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย เพราะจะทำให้จำนวนเที่ยวบินต่อชั่วโมงสูงกว่าขีดความสามารถในการรองรับของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สำหรับเรื่องการชดเชยผลกระทบด้านเสียงในพื้นที่ระดับ NEF 30-40 ที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 กำหนดให้ ทอท.สนับสนุนการปรับปรุงอาคารเพื่อลดผลกระทบด้านเสียงแก่อาคารที่ตรวจวัดเสียงรบกวนได้เกิน 10 เดซิเบลนั้น ก็สอดคล้องกับมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวมทั้งเป็นข้อกำหนดที่ใช้กับท่าอากาศยานสากลทั่วโลกตามแนวทางขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ( International Civil Aviation Organization : ICAO ) ซึ่งได้กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ระดับ NEF 30-40 เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะต้องให้ซื้อที่ดินและอาคารเช่นเดียวกับระดับ NEF มากกว่า 40 ที่ผลกระทบสูงกว่า การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ค.2550 จึงเป็นมาตรการแก้ไขผลกระทบที่เหมาะสมเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตาม ทอท.ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้พยายามเร่งรัดการชดเชยผลกระทบตามหลักเกณฑ์ของมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2548 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พ.ค.2550 อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการแก้ไขโดยเร็ว