“แอล.พี.เอ็น.” ปรับแผนเร่งโอนคอนโดฯ ป้องกันแบงก์ปฎิเสธสินเชื่อ พร้อมเผยยอดขายปรับตัวดีขึ้น เฉลี่ยซื้อ 113 ยูนิต/สัปดาห์ ลุยซื้อที่ดิน 3 แปลงขึ้นคอนโดฯ 6,000 ยูนิต มูลค่ากว่า 6,550 ล้านบาท เชื่อทั้งปีทำได้ตามเป้า 8,000 ล้านบาท ส่วนไตรมาส 1 กวาดรายได้ 2,036 ล้านบาท กำไร 364 ล้านบาท โต 76% จากไตรมาส 1/51
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN เปิดเผยว่า จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ส่งผลให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2551 ลูกค้าของบริษัทฯมียอดปฏิเสธสินเชื่อประมาณ 10% ในขณะที่ปีนี้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 10.9% ซึ่งถือว่าไม่สูงมาก เนื่องจากในช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ด้วยการเร่งโอนบ้านให้เร็วขึ้นจาก 6 เดือนนับจากโครงการแล้วเสร็จ เหลือเพียง 3 เดือน
ทั้งนี้ การปรับกลยุทธ์ดังกล่าว ด้วยการให้เชิญลูกบ้านพบธนาคารเพื่อพิจารณาสินเชื่อล่วงหน้าก่อนที่โครงการจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ ยังเสนอให้ลูกค้ายื่นขอสินเชื่อจากธนาคารหลายๆแห่ง หากกู้ไม่ผ่านก็เปลี่ยนธนาคารใหม่ และหากธนาคารใดอนุมัติสินเชื่อก่อนก็เลือกธนาคารแห่งนั้น นอกจากนี้ บริษัทยังตรวจสอบสถาบันการเงินที่อนุมัติสินเชื่อให้แก่ลูกค้ามากๆ ก็จะส่งรายชื่อให้แก่ธนาคารแห่งนั้นมากตามไปด้วย กลยุทธ์ข้างต้นทำให้บริษัทสามารถรักษาระดับอัตราการปฏิเสธสินเชื่อไว้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาได้
นายโอภาส กล่าวต่อว่า สำหรับภาวะตลาดคอนโดมิเนียมในช่วงต้นปีที่ผ่านมา พบว่าปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 6 สัปดาห์แรกของปียอดขายลดลงต่อเนื่องมาจากช่วงเดือนธันวาคม ปี 2551 แต่นับจากนั้นมา ยอดขายปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจากสถิติของบริษัทพบว่า มียอดเยี่ยมชมโครงการเฉลี่ย 353 ราย/สัปดาห์ และมียอดขาย 113 ยูนิต/สัปดาห์ หรือเฉลี่ย 4 : 1 ในขณะที่ปีที่แล้ว เฉลี่ยมีผู้เยี่ยมชมโครงการ 350 ราย และมียอดขายเฉลี่ย 109 ยูนิต/สัปดาห์
จากสถิติดังกล่าว ทำให้บริษัทตัดสินใจลงทุนเพิ่ม ด้วยการซื้อที่ดิน 3 แปลง ได้แก่ 1. ย่านรามอินทรา-นวมินทร์ เลยโรงพยาบาลสินแพทย์ไปเล็กน้อย จำนวน 15 ไร่ ราคา 188 ล้านบาท โดยมีแผนจะพัฒนาคอนโดมิเนียมแบรนด์ คอนโดทาวน์ ราคาเริ่มต้น 6.99 แสนบาท สร้างเป็นอาคารสูง 26 ชั้น จำนวน 2,5000 ยูนิต มูลค่า 2,250 ล้านบาท เปิดตัว 6 มิถุนายนนี้
2. ย่านราชบูรณะ จำนวน 5 ไร่ ราคา 72 ล้านบาท อยู่ตรงข้ามโครงการไอวี ของบริษัทพฤกษา เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) พัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมสูง 30 ชั้น 2 อาคาร จำนวน 1,100 ยูนิต มูลค่า 1,200 ล้านบาท เปิดตัว 17 มิถุนายนนี้ และ 3. ย่านปิ่นเกล้า ขนาด 12 ไร่ (เป็นที่ดินของกลุ่มบริษัทปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ) ราคา 470 ล้านบาท พัฒนาเป็นอาคารสูง 30 ชั้นจำนวน 4 อาคาร 2,400 ยูนิต มูลค่า 3,100 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ประมาณ กลางไตรมาส 3 ของปีนี้ ทั้งนี้ทุกโครงการจะทยอยเปิดที่ละเฟส เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและภาวะการเมือง โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปี และจะสามารถรับรู้รายได้ในปีหน้า นอกจากนี้บริษัทจะเปิดตัวอีก 2 โครงการ ได้แก่ เฟสต่อเนื่องจองโครงการย่านพระราม 9 และอีกโครงการอยู่ระหว่างหาที่ดิน
“แม้ว่าภาวะตลาดจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น และซับพลายตามแนวรถไฟฟ้าเริ่มเหลือน้อยลงแล้ว แต่บริษัทยังไม่ลงเล่นในตลาดนี้ เพราะเมื่อเรามองเห็นคนอื่นก็เห็นด้วย มีผู้ประกอบการหลายรายรอจังหวะนี้อยู่ เราไม่ต้องการเข้าไปในตลาดที่มีคู่แข่งเยอะและเรามีประสบการณ์ในการพัฒนาคอนโดมิเนียมมานาน ทำให้กล้าที่จะเข้าไปในตลาดที่ไม่มีใครกล้ามาแข่งขันด้วย”
นอกจากนี้ หากพิจารณาจากสถิติของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ยังพบว่า ปัจจุบันประชากรในเขตกรุงเทพฯ เช่าอพาร์ตเมนต์อยู่ประมาณ 30-40% ของประชากรทั้งหมด 10 กว่าล้านคน หากเฉลี่ยง่ายๆ คือประมาณ 3-4 ล้านคน และในจำนวนนี้เช่าที่อยู่อาศัย 3,000-4,000 บาท/เดือน ประมาณ 1.5 ล้านคน ทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทยังมีอีกจำนวนมาก
สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาส 1/52 บริษัทมีรายได้รวม 2,036.42 ล้านบาท โตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อหน้า 46.44% จากยอดขาย 1,390.59 ล้านบาท กำไรสุทธิ 364.46 ล้านบาท โตขึ้น 78.37% จาก 204.33 ล้านบาทในไตรมาส 1/51 ส่วนเป้าหมายการดำเนินงานในปีนี้ตั้งเป้ายอดขาย 10,000 ล้านบาท ยอดรายได้รวม 8,000 ล้านบาท
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN เปิดเผยว่า จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ส่งผลให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2551 ลูกค้าของบริษัทฯมียอดปฏิเสธสินเชื่อประมาณ 10% ในขณะที่ปีนี้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 10.9% ซึ่งถือว่าไม่สูงมาก เนื่องจากในช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ด้วยการเร่งโอนบ้านให้เร็วขึ้นจาก 6 เดือนนับจากโครงการแล้วเสร็จ เหลือเพียง 3 เดือน
ทั้งนี้ การปรับกลยุทธ์ดังกล่าว ด้วยการให้เชิญลูกบ้านพบธนาคารเพื่อพิจารณาสินเชื่อล่วงหน้าก่อนที่โครงการจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ ยังเสนอให้ลูกค้ายื่นขอสินเชื่อจากธนาคารหลายๆแห่ง หากกู้ไม่ผ่านก็เปลี่ยนธนาคารใหม่ และหากธนาคารใดอนุมัติสินเชื่อก่อนก็เลือกธนาคารแห่งนั้น นอกจากนี้ บริษัทยังตรวจสอบสถาบันการเงินที่อนุมัติสินเชื่อให้แก่ลูกค้ามากๆ ก็จะส่งรายชื่อให้แก่ธนาคารแห่งนั้นมากตามไปด้วย กลยุทธ์ข้างต้นทำให้บริษัทสามารถรักษาระดับอัตราการปฏิเสธสินเชื่อไว้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาได้
นายโอภาส กล่าวต่อว่า สำหรับภาวะตลาดคอนโดมิเนียมในช่วงต้นปีที่ผ่านมา พบว่าปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 6 สัปดาห์แรกของปียอดขายลดลงต่อเนื่องมาจากช่วงเดือนธันวาคม ปี 2551 แต่นับจากนั้นมา ยอดขายปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจากสถิติของบริษัทพบว่า มียอดเยี่ยมชมโครงการเฉลี่ย 353 ราย/สัปดาห์ และมียอดขาย 113 ยูนิต/สัปดาห์ หรือเฉลี่ย 4 : 1 ในขณะที่ปีที่แล้ว เฉลี่ยมีผู้เยี่ยมชมโครงการ 350 ราย และมียอดขายเฉลี่ย 109 ยูนิต/สัปดาห์
จากสถิติดังกล่าว ทำให้บริษัทตัดสินใจลงทุนเพิ่ม ด้วยการซื้อที่ดิน 3 แปลง ได้แก่ 1. ย่านรามอินทรา-นวมินทร์ เลยโรงพยาบาลสินแพทย์ไปเล็กน้อย จำนวน 15 ไร่ ราคา 188 ล้านบาท โดยมีแผนจะพัฒนาคอนโดมิเนียมแบรนด์ คอนโดทาวน์ ราคาเริ่มต้น 6.99 แสนบาท สร้างเป็นอาคารสูง 26 ชั้น จำนวน 2,5000 ยูนิต มูลค่า 2,250 ล้านบาท เปิดตัว 6 มิถุนายนนี้
2. ย่านราชบูรณะ จำนวน 5 ไร่ ราคา 72 ล้านบาท อยู่ตรงข้ามโครงการไอวี ของบริษัทพฤกษา เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) พัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมสูง 30 ชั้น 2 อาคาร จำนวน 1,100 ยูนิต มูลค่า 1,200 ล้านบาท เปิดตัว 17 มิถุนายนนี้ และ 3. ย่านปิ่นเกล้า ขนาด 12 ไร่ (เป็นที่ดินของกลุ่มบริษัทปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ) ราคา 470 ล้านบาท พัฒนาเป็นอาคารสูง 30 ชั้นจำนวน 4 อาคาร 2,400 ยูนิต มูลค่า 3,100 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ประมาณ กลางไตรมาส 3 ของปีนี้ ทั้งนี้ทุกโครงการจะทยอยเปิดที่ละเฟส เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและภาวะการเมือง โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปี และจะสามารถรับรู้รายได้ในปีหน้า นอกจากนี้บริษัทจะเปิดตัวอีก 2 โครงการ ได้แก่ เฟสต่อเนื่องจองโครงการย่านพระราม 9 และอีกโครงการอยู่ระหว่างหาที่ดิน
“แม้ว่าภาวะตลาดจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น และซับพลายตามแนวรถไฟฟ้าเริ่มเหลือน้อยลงแล้ว แต่บริษัทยังไม่ลงเล่นในตลาดนี้ เพราะเมื่อเรามองเห็นคนอื่นก็เห็นด้วย มีผู้ประกอบการหลายรายรอจังหวะนี้อยู่ เราไม่ต้องการเข้าไปในตลาดที่มีคู่แข่งเยอะและเรามีประสบการณ์ในการพัฒนาคอนโดมิเนียมมานาน ทำให้กล้าที่จะเข้าไปในตลาดที่ไม่มีใครกล้ามาแข่งขันด้วย”
นอกจากนี้ หากพิจารณาจากสถิติของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ยังพบว่า ปัจจุบันประชากรในเขตกรุงเทพฯ เช่าอพาร์ตเมนต์อยู่ประมาณ 30-40% ของประชากรทั้งหมด 10 กว่าล้านคน หากเฉลี่ยง่ายๆ คือประมาณ 3-4 ล้านคน และในจำนวนนี้เช่าที่อยู่อาศัย 3,000-4,000 บาท/เดือน ประมาณ 1.5 ล้านคน ทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทยังมีอีกจำนวนมาก
สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาส 1/52 บริษัทมีรายได้รวม 2,036.42 ล้านบาท โตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อหน้า 46.44% จากยอดขาย 1,390.59 ล้านบาท กำไรสุทธิ 364.46 ล้านบาท โตขึ้น 78.37% จาก 204.33 ล้านบาทในไตรมาส 1/51 ส่วนเป้าหมายการดำเนินงานในปีนี้ตั้งเป้ายอดขาย 10,000 ล้านบาท ยอดรายได้รวม 8,000 ล้านบาท