สคร.จ้องดึงเงินค่าก่อสร้างโรงงานยาสูบ 6.8 พันล้าน เข้าคลัง หลังพบปีนี้ก่อสร้างไม่ทัน ด้านยาสูบรับเริ่มก่อสร้างปี 53 จริงแต่หากให้กันเงินกำไรใหม่อาจไม่ทันการณ์ ระบุต้องออกเป็นมติ ครม.ก่อน พร้อมเล็งเงินหวยบนดิน 1.7 หมื่นล้าน หลังพบช่องทางทำได้ตามกฎหมาย หวังรายได้รัฐวิสาหกิจนำส่งรัฐเกินเป้า 9.3 หมื่นล้าน ขณะที่กรมบัญชีกลางยันเงินคงคลัง 8 หมื่นล้านและเงินกู้ 9.4 หมื่นล้าน เพียงพอ
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) โดยนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หารือกับรัฐวิสาหกิจที่มีกระแสเงินสดเหลือจากการลงทุนนำส่งเงินเข้าคลังมากขึ้น เพื่อชดเชยรายได้ภาษีที่หายไปในปี 2552 ว่า สคร.คงต้องหารือกับผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจก่อนว่ามีความจำเป็นต้องใช้เงินดังกล่าวหรือไม่
โดยเฉพาะเงินสดส่วนที่เหลือจากการดำเนินงานปกติ การจ่ายเงินเดือนโบนัส โดยส่วนใหญ่ฝากไว้ในบัญชี ซึ่งเบื้องต้นจะหารือกับผู้บริหารโรงงานยาสูบก่อน เพราะมีเงินส่วนที่กันไว้จากการนำส่งรายได้ปกติเพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงงานหลายพันล้านบาท หากโครงการก่อสร้างชะลอออกไปก็ควรนำเงินส่วนนี้มาส่งเข้าคลังในปีนี้ก่อน หากจะเริ่มก่อสร้างก็สามารถหักจากเงินนำส่งได้ในปีถัดไป
***ดึงเงินหวย 1.7 หมื่นล้านโปะงบ
อย่างไรก็ตาม เท่าที่พิจารณาเห็นว่ารัฐวิสาหกิจรายอื่นๆ อาจจะไม่มีกระแสเงินสดเหลือพอที่จะดึงเข้าคลังเพิ่ม นอกจากกรณีเงินจากการขายหวยบนดินก่อนหน้านี้จำนวน 1.7 หมื่นล้านบาทที่นำฝากธนาคารไว้ ซึ่งเบื้องต้นเห็นว่ามีช่องทางที่จะดึงมาเป็นรายได้ของแผ่นดินได้โดยไม่ต้องออกกฎหมาย ซึ่งน่าจะดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ 52 นี้
“เฉพาะเงินลงทุนของโรงงานยาสูบที่ดึงมาหลายพันล้านบาทก็น่าจะครอบคลุมเงินนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจปีนี้ที่คาดว่าจะต่ำกว่าเป้าหมาย 5-6 พันล้านบาทแล้ว และหากรวมกับเงินของสำนักงานสลากกินแบ่งอีก 1.7 หมื่นล้านก็จะกลายเป็นเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9.3 หมื่นล้านบาท” นายอารีพงศ์ กล่าว
ที่ผ่านมา สคร.ดูแลรัฐวิสาหกิจที่มีกระแสเงินสดเหลือเพื่อให้นำส่งเงินเข้าคลังเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว โดย 2 ปีก่อนก็ขอให้องค์การโทรศัพท์นำส่งเข้าเพิ่มเนื่องจากมีกระแสเงินสดเหลือ ส่วนปีนี้น่าจะนำส่งรายได้เต็มที่แล้ว รวมไปถึงรายใหญ่ๆ อย่าง บมจ.ปตท.ก็นำส่งเพิ่มจากปีก่อน 30% เป็น 44% ของกำไรสุทธิแล้วแต่ที่เม็ดเงินลดลงเป็นผลจากรายได้ที่ลดลง ส่วยรายอื่นๆ ก็ล้วนมีปัญหาด้านสภาพคล่องทั้ง บมจ.การบินไทยTHAI และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
***ยาสูบพร้อมทำตามมติ ครม.
นายประจวบ ตันตินนท์ ผู้อำนวยการยาสูบ โรงงานยาสูบ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้หารือกับสคร.ที่จะขอดึงเงินในส่วนของค่าก่อสร้างโรงงานใหม่ประมาณ 6 พันล้านบาทเข้าเป็นรายได้คลังในปีงบ 2552 ซึ่งถือเป็นเรื่องระดับนโยบายและขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐมนตรีโดยโรงงานยาสูบพร้อมจะดำเนินการ แต่หากจะให้ยาสูบกันเงินกำไรในปีถัดๆ ไปมาใช้ก่อสร้างต้องแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเดิมก่อนที่ห้ามกันเงินเพิ่มเติม
ด้าน นายอำนาจ เพิ่มชาติ รองผู้อำนวยการยาสูบด้านใบยา กล่าวว่า เงินค่าก่อสร้างโงงานที่กันไว้ 6.8 พันล้านบาทนั้น หากจะดึงเข้าเป็นรายได้คลังและให้ยาสูบกันเงินจากกำไรในปีถัดๆ ไปนั้นต้องออกเป็นมติครม.ก่อนเพราะก่อนหน้านี้มติครม.ห้ามยาสูบกันเงินกำไรเพิ่มเติม โดยวงเงินก่อสร้างโรงงานและค่าเครื่องจักรต่างๆอีกประมาณ 9 พันล้านบาทนั้นยาสูบต้องหาจากแหล่งเงินอื่นๆ และหากจะนำเข้าเป็นรายได้รัฐหมดคงไม่ทันกับกระทบวนการก่อสร้างโรงงานที่คาดว่าจะเริ่มได้ต้นปี 2553 เพราะต้องใช้เงินจากปี 2554
***ยันเริ่มก่อสร้างได้ปี 53
“ขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกสถานที่ใช้ก่อสร้างโรงงานใหม่และจะมีการเจรจาต่อรองราคาคาดได้ข้อสรุปภายในเดือน พ.ค.นี้ จากนั้นจะคัดเลือกแบบหาผู้รับเหมาซึ่งต้องใช้เวลาจึงไม่ทันปีงบ2552 แต่อย่างช้าน่าจะเริ่มได้ต้นปี 2553 หากถูกดึงเงินคืนไปก็จะกระทบกับแผนการก่อสร้างที่วางไว้โดยปีแรกจะใช้เงินประมาณ 3-4 พันล้านบาท” นายอำนาจ กล่าวและว่า โรงงานยาสูบไม่ได้เป็นนิติบุคคลทำให้ไม่สามารถกู้เงินมาใช้ดำเนินการได้ และที่ผ่านมาก็ไม่เคยกู้เงินมาก่อน ในส่วนของค่าเครื่องจักรต่างๆ จึงต้องให้กระทรวงการคลังกู้เงินให้ ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการก่อสร้างโรงงานเพื่อให้ติดตั้งได้ทันทีหลังก่อสร้างเสร็จ
อย่างไรก็ตาม หากแผนการก่อสร้างโรงงานใหม่ต้องชะลอออกไปอีกก็จะส่งผลกระทบทั้งแผนการดำเนินงานที่ต้องวางล่วงหน้า 1 ปี และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพราะเครื่องจักรเก่าและสภาพโรงงานปัจจุบันไม่สามารถปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งจะกระทบกับการย้ายโรงงานและสร้างสวนสาธารณะที่ล่าช้ามานานแล้วด้วย แต่ทั้งนี้ คงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลเพราะยาสูบเป็นองค์กรที่ต้องดำเนินงานตามมติ ครม.
***บัญชีกลางยันสภาพคล่องยังดี
นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระทรวงการคลังมีเงินคงคลังในระดับ 80,000 ล้านบาท ถือว่ายังมีสภาพคล่องสูง สามารถใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ตามปกติ และสามารถบริหารจัดการการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินได้ แม้ว่าการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 52 ที่ผ่านมา จะได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติให้ปรับวงเงินกู้เป็น 94,000 ล้านบาท จึงส่งผลโดยตรงต่อการบริหารรายจ่ายภาครัฐ ยังไม่จำเป็นจะต้องดึงเงินนอกงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ มาใช้จ่ายในขณะนี้
“ในการบริหารเงินของแผ่นดิน เพื่อรักษาสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินคงคลังนั้น มีหลายช่องทาง กรมบัญชีกลางจะประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งจะบริหารตราสารหนี้ต่างๆ อาทิ ออกพันธบัตรรัฐบาล ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการคลัง” นายปิยพันธุ์ กล่าว
สำหรับเงินนอกงบประมาณมีอยู่หลายประเภท เช่น เงินรายได้ที่หน่วยงานจัดเก็บและกระทรวงการคลังอนุมัติให้นำไปใช้จ่ายได้ โดยฝากไว้ที่บัญชีเงินคงคลัง หรือเงินที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานเอง ซึ่งมีกฎหมายอื่นอนุญาตให้หน่วยงานเก็บและนำไปใช้จ่าย หากเงินดังกล่าวบริการการใช้จ่ายเงินที่ดี จะเกิดประโยชน์สูงสุดของหน่วยงาน และถ้านำมาฝากคลังได้ ก็จะเกิดผลดีในการบริหารเงินคงคลัง ซึ่งเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) โดยนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หารือกับรัฐวิสาหกิจที่มีกระแสเงินสดเหลือจากการลงทุนนำส่งเงินเข้าคลังมากขึ้น เพื่อชดเชยรายได้ภาษีที่หายไปในปี 2552 ว่า สคร.คงต้องหารือกับผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจก่อนว่ามีความจำเป็นต้องใช้เงินดังกล่าวหรือไม่
โดยเฉพาะเงินสดส่วนที่เหลือจากการดำเนินงานปกติ การจ่ายเงินเดือนโบนัส โดยส่วนใหญ่ฝากไว้ในบัญชี ซึ่งเบื้องต้นจะหารือกับผู้บริหารโรงงานยาสูบก่อน เพราะมีเงินส่วนที่กันไว้จากการนำส่งรายได้ปกติเพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงงานหลายพันล้านบาท หากโครงการก่อสร้างชะลอออกไปก็ควรนำเงินส่วนนี้มาส่งเข้าคลังในปีนี้ก่อน หากจะเริ่มก่อสร้างก็สามารถหักจากเงินนำส่งได้ในปีถัดไป
***ดึงเงินหวย 1.7 หมื่นล้านโปะงบ
อย่างไรก็ตาม เท่าที่พิจารณาเห็นว่ารัฐวิสาหกิจรายอื่นๆ อาจจะไม่มีกระแสเงินสดเหลือพอที่จะดึงเข้าคลังเพิ่ม นอกจากกรณีเงินจากการขายหวยบนดินก่อนหน้านี้จำนวน 1.7 หมื่นล้านบาทที่นำฝากธนาคารไว้ ซึ่งเบื้องต้นเห็นว่ามีช่องทางที่จะดึงมาเป็นรายได้ของแผ่นดินได้โดยไม่ต้องออกกฎหมาย ซึ่งน่าจะดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ 52 นี้
“เฉพาะเงินลงทุนของโรงงานยาสูบที่ดึงมาหลายพันล้านบาทก็น่าจะครอบคลุมเงินนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจปีนี้ที่คาดว่าจะต่ำกว่าเป้าหมาย 5-6 พันล้านบาทแล้ว และหากรวมกับเงินของสำนักงานสลากกินแบ่งอีก 1.7 หมื่นล้านก็จะกลายเป็นเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9.3 หมื่นล้านบาท” นายอารีพงศ์ กล่าว
ที่ผ่านมา สคร.ดูแลรัฐวิสาหกิจที่มีกระแสเงินสดเหลือเพื่อให้นำส่งเงินเข้าคลังเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว โดย 2 ปีก่อนก็ขอให้องค์การโทรศัพท์นำส่งเข้าเพิ่มเนื่องจากมีกระแสเงินสดเหลือ ส่วนปีนี้น่าจะนำส่งรายได้เต็มที่แล้ว รวมไปถึงรายใหญ่ๆ อย่าง บมจ.ปตท.ก็นำส่งเพิ่มจากปีก่อน 30% เป็น 44% ของกำไรสุทธิแล้วแต่ที่เม็ดเงินลดลงเป็นผลจากรายได้ที่ลดลง ส่วยรายอื่นๆ ก็ล้วนมีปัญหาด้านสภาพคล่องทั้ง บมจ.การบินไทยTHAI และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
***ยาสูบพร้อมทำตามมติ ครม.
นายประจวบ ตันตินนท์ ผู้อำนวยการยาสูบ โรงงานยาสูบ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้หารือกับสคร.ที่จะขอดึงเงินในส่วนของค่าก่อสร้างโรงงานใหม่ประมาณ 6 พันล้านบาทเข้าเป็นรายได้คลังในปีงบ 2552 ซึ่งถือเป็นเรื่องระดับนโยบายและขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐมนตรีโดยโรงงานยาสูบพร้อมจะดำเนินการ แต่หากจะให้ยาสูบกันเงินกำไรในปีถัดๆ ไปมาใช้ก่อสร้างต้องแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเดิมก่อนที่ห้ามกันเงินเพิ่มเติม
ด้าน นายอำนาจ เพิ่มชาติ รองผู้อำนวยการยาสูบด้านใบยา กล่าวว่า เงินค่าก่อสร้างโงงานที่กันไว้ 6.8 พันล้านบาทนั้น หากจะดึงเข้าเป็นรายได้คลังและให้ยาสูบกันเงินจากกำไรในปีถัดๆ ไปนั้นต้องออกเป็นมติครม.ก่อนเพราะก่อนหน้านี้มติครม.ห้ามยาสูบกันเงินกำไรเพิ่มเติม โดยวงเงินก่อสร้างโรงงานและค่าเครื่องจักรต่างๆอีกประมาณ 9 พันล้านบาทนั้นยาสูบต้องหาจากแหล่งเงินอื่นๆ และหากจะนำเข้าเป็นรายได้รัฐหมดคงไม่ทันกับกระทบวนการก่อสร้างโรงงานที่คาดว่าจะเริ่มได้ต้นปี 2553 เพราะต้องใช้เงินจากปี 2554
***ยันเริ่มก่อสร้างได้ปี 53
“ขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกสถานที่ใช้ก่อสร้างโรงงานใหม่และจะมีการเจรจาต่อรองราคาคาดได้ข้อสรุปภายในเดือน พ.ค.นี้ จากนั้นจะคัดเลือกแบบหาผู้รับเหมาซึ่งต้องใช้เวลาจึงไม่ทันปีงบ2552 แต่อย่างช้าน่าจะเริ่มได้ต้นปี 2553 หากถูกดึงเงินคืนไปก็จะกระทบกับแผนการก่อสร้างที่วางไว้โดยปีแรกจะใช้เงินประมาณ 3-4 พันล้านบาท” นายอำนาจ กล่าวและว่า โรงงานยาสูบไม่ได้เป็นนิติบุคคลทำให้ไม่สามารถกู้เงินมาใช้ดำเนินการได้ และที่ผ่านมาก็ไม่เคยกู้เงินมาก่อน ในส่วนของค่าเครื่องจักรต่างๆ จึงต้องให้กระทรวงการคลังกู้เงินให้ ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการก่อสร้างโรงงานเพื่อให้ติดตั้งได้ทันทีหลังก่อสร้างเสร็จ
อย่างไรก็ตาม หากแผนการก่อสร้างโรงงานใหม่ต้องชะลอออกไปอีกก็จะส่งผลกระทบทั้งแผนการดำเนินงานที่ต้องวางล่วงหน้า 1 ปี และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพราะเครื่องจักรเก่าและสภาพโรงงานปัจจุบันไม่สามารถปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งจะกระทบกับการย้ายโรงงานและสร้างสวนสาธารณะที่ล่าช้ามานานแล้วด้วย แต่ทั้งนี้ คงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลเพราะยาสูบเป็นองค์กรที่ต้องดำเนินงานตามมติ ครม.
***บัญชีกลางยันสภาพคล่องยังดี
นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระทรวงการคลังมีเงินคงคลังในระดับ 80,000 ล้านบาท ถือว่ายังมีสภาพคล่องสูง สามารถใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ตามปกติ และสามารถบริหารจัดการการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินได้ แม้ว่าการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 52 ที่ผ่านมา จะได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติให้ปรับวงเงินกู้เป็น 94,000 ล้านบาท จึงส่งผลโดยตรงต่อการบริหารรายจ่ายภาครัฐ ยังไม่จำเป็นจะต้องดึงเงินนอกงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ มาใช้จ่ายในขณะนี้
“ในการบริหารเงินของแผ่นดิน เพื่อรักษาสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินคงคลังนั้น มีหลายช่องทาง กรมบัญชีกลางจะประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งจะบริหารตราสารหนี้ต่างๆ อาทิ ออกพันธบัตรรัฐบาล ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการคลัง” นายปิยพันธุ์ กล่าว
สำหรับเงินนอกงบประมาณมีอยู่หลายประเภท เช่น เงินรายได้ที่หน่วยงานจัดเก็บและกระทรวงการคลังอนุมัติให้นำไปใช้จ่ายได้ โดยฝากไว้ที่บัญชีเงินคงคลัง หรือเงินที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานเอง ซึ่งมีกฎหมายอื่นอนุญาตให้หน่วยงานเก็บและนำไปใช้จ่าย หากเงินดังกล่าวบริการการใช้จ่ายเงินที่ดี จะเกิดประโยชน์สูงสุดของหน่วยงาน และถ้านำมาฝากคลังได้ ก็จะเกิดผลดีในการบริหารเงินคงคลัง ซึ่งเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ