“กรณ์” ยอมรับการจัดเก็บรายได้งบปี 52 มีแนวโน้มอาจหลุดเป้าสูงถึง 3 แสนล้านบาท ยันไม่ขึ้น VAT และภาษีที่ดิน ในตอนนี้
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แนวดน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2552 มีแนวโน้มจะต่ำกว่าเป้าหมายถึง 3 แสนล้านบาท จากประมาณการรายได้ที่ตั้งไว้ที่ 1.5 ล้านล้านบาท โดยช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าแล้วกว่า 50,000 ล้านบาท
“การจัดเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าประมาณการมากขึ้น ยอมรับว่าจะส่งผลกระทบต่อการขาดดุลงบประมาณมากขึ้นตาม และมีผลต่อเงินงบประมาณที่รัฐบาลจะนำมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ”
อย่างไรก็ตาม การขาดดุลงบประมาณของไทยที่ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เมื่อเทียบต่างประเทศถือว่าอยู่ระดับต่ำมาก
นอกจากนั้น อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศที่ยังอยู่ระดับที่ดีและมีสภาพคล่องในประเทศระดับสูง เอื้อต่อการที่รัฐบาลจะระดมเงินมาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเงินกู้จากต่างประเทศ
“ด้านการเงินการคลังของเรายังอยู่ระดับดีหากเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งสภาพคล่องเรายังมีอยู่สูง ถือเป็นความได้เปรียบกว่าหลายประเทศ ไทยขาดดุลงบประมาณแค่ 5% หากเทียบต่างประเทศ เช่นอังกฤษ ขาดดุลงบประมาณสูงถึง 12% ของจีดีพี เพราะเค้าต้องใช้งบประมาณไปเพิ่มทุนให้สถาบันการเงิน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ของเราขาดดุลระดับไม่น่าเป็นห่วง”
อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลจะมีปัญหาในการจัดเก็บรายได้ แต่ก็ยังไม่มีนโยบายที่จะเพิ่มการจัดเก็บภาษี ทั้งการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือการขยายฐานภาษี โดยการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภาษีทรัพย์สิน) เนื่องจากยังไม่ใช่จังหวะเวลาที่เหมาะสม แต่ยอมรับว่าการปรับขึ้น VAT ทุก 1% จะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 50,000 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลได้ลดอัตรา VAT จาก 10% เหลือ 7% มาหลายปีแล้ว
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แนวดน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2552 มีแนวโน้มจะต่ำกว่าเป้าหมายถึง 3 แสนล้านบาท จากประมาณการรายได้ที่ตั้งไว้ที่ 1.5 ล้านล้านบาท โดยช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าแล้วกว่า 50,000 ล้านบาท
“การจัดเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าประมาณการมากขึ้น ยอมรับว่าจะส่งผลกระทบต่อการขาดดุลงบประมาณมากขึ้นตาม และมีผลต่อเงินงบประมาณที่รัฐบาลจะนำมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ”
อย่างไรก็ตาม การขาดดุลงบประมาณของไทยที่ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เมื่อเทียบต่างประเทศถือว่าอยู่ระดับต่ำมาก
นอกจากนั้น อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศที่ยังอยู่ระดับที่ดีและมีสภาพคล่องในประเทศระดับสูง เอื้อต่อการที่รัฐบาลจะระดมเงินมาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเงินกู้จากต่างประเทศ
“ด้านการเงินการคลังของเรายังอยู่ระดับดีหากเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งสภาพคล่องเรายังมีอยู่สูง ถือเป็นความได้เปรียบกว่าหลายประเทศ ไทยขาดดุลงบประมาณแค่ 5% หากเทียบต่างประเทศ เช่นอังกฤษ ขาดดุลงบประมาณสูงถึง 12% ของจีดีพี เพราะเค้าต้องใช้งบประมาณไปเพิ่มทุนให้สถาบันการเงิน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ของเราขาดดุลระดับไม่น่าเป็นห่วง”
อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลจะมีปัญหาในการจัดเก็บรายได้ แต่ก็ยังไม่มีนโยบายที่จะเพิ่มการจัดเก็บภาษี ทั้งการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือการขยายฐานภาษี โดยการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภาษีทรัพย์สิน) เนื่องจากยังไม่ใช่จังหวะเวลาที่เหมาะสม แต่ยอมรับว่าการปรับขึ้น VAT ทุก 1% จะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 50,000 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลได้ลดอัตรา VAT จาก 10% เหลือ 7% มาหลายปีแล้ว