“วีระศักดิ์” เตรียมยื่นกฤษฎีกาช่วยฟันธง ตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.จะใช้วิธีการคัดเลือกแทนสรรหาได้หรือไม่ อ้างได้รับหนังสือยืนยันจากสหภาพ ททท.ว่า สามารถทำได้ เพราะไม่อยากให้คนนอกเข้ามานั่งตำแหน่งนี้ แหล่งข่าวระบุ มีความเป็นไปได้ ว่า อัตราค่าจ้างตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.2 แสนบาทต่อเดือน ไม่จูงใจ คนในเลยไม่สน
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ (บอร์ด) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติให้นำเรื่องระเบียบว่าด้วยการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ยื่นต่อกฤษฎีกา เพื่อตีความตาม พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ว่า ตำแหน่งดังกล่าวสามารถแต่งโดยมติบอร์ด ททท.ได้หรือไม่
ทั้งนี้ เพราะสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ททท.ได้ยื่นหนังสือต่อที่ประชุมบอร์ด ชี้แจงว่า กรณีของ ททท.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านการส่งเสริม จึงเป็นกรณียกเว้นไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการได้ ซึ่งจะคล้ายกับองค์การสวนยาง ที่เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสงเคราะห์ก็ใช้วิธีแต่งตั้งจากผู้ที่เหมาะสมภายในองค์กรมาดำรงตำแหน่ง
สำหรับ ททท.เป็นหน่วยงานที่อยู่ระหว่างหลักเกณฑ์ว่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจที่ส่งเสริม หรือ เพื่อหารายได้ เพราะ ททท.เองก็มีการลงทุนบ้าง เช่น สนามกอล์ฟ และ น้ำพุร้อน รวมถึงการถือหุ้นใน บริษัท ไทยแลนด์ พรีวิเลจ คาร์ด หรือ อีลิทการ์ด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องให้กฤษฎีกาเป็นผู้ตีความชี้ขาดในข้อกฎหมายที่กำหนดขึ้น ซึ่งหากกฤษฎีกา ระบุว่า ททท.สามารถเข้าข่ายในกลุ่มรัฐวิสาหกิจส่งเสริมและสามารถเลือกตำแหน่งผู้ว่าการเอง ก็ได้ก็จะดำเนินการทันที แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เมื่อยังไม่มีข้อชี้ขาดจากกฤษฎีกาก็ให้คณะกรรมการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.เดินหน้าภารกิจต่อไป
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่าอาจไม่มีบุคลากรใน ททท.สนใจที่จะสมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ในครั้งนี้ เนื่องจากภารกิจความรับผิดชอบที่มากมาย แต่ผลตอบแทนที่ได้ค่อนข้างต่ำ คือ ประมาณเดือนละ 2 แสนบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับรัฐวิสาหกิจในหน่วยงานอื่นๆ นับว่าเป็นค่าตอบแทนที่น้อย จึงไม่จูงใจให้ใครอยากเข้ามาสมัคร ประกอบกับคนในองค์กรเองก็มีความวิตกกังวลว่าจะมีคนจากภายนอกเข้ามารับตำแหน่งนี้ไป ซึ่งอาจทำให้การทำงานไม่เข้าขากันเท่าที่ควร
นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของเงินช่วยเหลือนักท่องเที่ยวที่ตกค้างกรณีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปลายปี 2551 ได้มีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์การได้รับเงินช่วยเหลือในครั้งนี้ เนื่องจากมีการเช่ารถออกไปทางชายแดน เพื่อไปขึ้นเครื่องที่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีวงเงินที่ตั้งเบิกมากับ ททท.กว่า 1 ล้านบาท จึงให้สำนักงบประมาณนำเรื่องไปพิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไข โดยให้เหตุผลว่า การทำเช่นนี้ถือเป็นการช่วยรัฐประหยัดงบเพราะถ้านักท่องเที่ยวอยู่ในประเทศไทยนานรัฐบาลก็ต้องจ่ายชดเชยวันละ 2 พันบาทต่อไป จึงเห็นสมควรว่าสำนักงบประมาณน่าจะผ่อนปรนเงื่อนไขตรงนี้ให้
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ (บอร์ด) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติให้นำเรื่องระเบียบว่าด้วยการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ยื่นต่อกฤษฎีกา เพื่อตีความตาม พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ว่า ตำแหน่งดังกล่าวสามารถแต่งโดยมติบอร์ด ททท.ได้หรือไม่
ทั้งนี้ เพราะสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ททท.ได้ยื่นหนังสือต่อที่ประชุมบอร์ด ชี้แจงว่า กรณีของ ททท.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านการส่งเสริม จึงเป็นกรณียกเว้นไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการได้ ซึ่งจะคล้ายกับองค์การสวนยาง ที่เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสงเคราะห์ก็ใช้วิธีแต่งตั้งจากผู้ที่เหมาะสมภายในองค์กรมาดำรงตำแหน่ง
สำหรับ ททท.เป็นหน่วยงานที่อยู่ระหว่างหลักเกณฑ์ว่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจที่ส่งเสริม หรือ เพื่อหารายได้ เพราะ ททท.เองก็มีการลงทุนบ้าง เช่น สนามกอล์ฟ และ น้ำพุร้อน รวมถึงการถือหุ้นใน บริษัท ไทยแลนด์ พรีวิเลจ คาร์ด หรือ อีลิทการ์ด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องให้กฤษฎีกาเป็นผู้ตีความชี้ขาดในข้อกฎหมายที่กำหนดขึ้น ซึ่งหากกฤษฎีกา ระบุว่า ททท.สามารถเข้าข่ายในกลุ่มรัฐวิสาหกิจส่งเสริมและสามารถเลือกตำแหน่งผู้ว่าการเอง ก็ได้ก็จะดำเนินการทันที แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เมื่อยังไม่มีข้อชี้ขาดจากกฤษฎีกาก็ให้คณะกรรมการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.เดินหน้าภารกิจต่อไป
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่าอาจไม่มีบุคลากรใน ททท.สนใจที่จะสมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ในครั้งนี้ เนื่องจากภารกิจความรับผิดชอบที่มากมาย แต่ผลตอบแทนที่ได้ค่อนข้างต่ำ คือ ประมาณเดือนละ 2 แสนบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับรัฐวิสาหกิจในหน่วยงานอื่นๆ นับว่าเป็นค่าตอบแทนที่น้อย จึงไม่จูงใจให้ใครอยากเข้ามาสมัคร ประกอบกับคนในองค์กรเองก็มีความวิตกกังวลว่าจะมีคนจากภายนอกเข้ามารับตำแหน่งนี้ไป ซึ่งอาจทำให้การทำงานไม่เข้าขากันเท่าที่ควร
นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของเงินช่วยเหลือนักท่องเที่ยวที่ตกค้างกรณีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปลายปี 2551 ได้มีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์การได้รับเงินช่วยเหลือในครั้งนี้ เนื่องจากมีการเช่ารถออกไปทางชายแดน เพื่อไปขึ้นเครื่องที่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีวงเงินที่ตั้งเบิกมากับ ททท.กว่า 1 ล้านบาท จึงให้สำนักงบประมาณนำเรื่องไปพิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไข โดยให้เหตุผลว่า การทำเช่นนี้ถือเป็นการช่วยรัฐประหยัดงบเพราะถ้านักท่องเที่ยวอยู่ในประเทศไทยนานรัฐบาลก็ต้องจ่ายชดเชยวันละ 2 พันบาทต่อไป จึงเห็นสมควรว่าสำนักงบประมาณน่าจะผ่อนปรนเงื่อนไขตรงนี้ให้