วีระศักดิ์ เดินหน้าปั้นนโยบายเป็นรูปธรรม หลังรับตำแหน่ง รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯสมัยที่ 2 ล่าสุดเตรียมจับมือ ททท.และภาคเอกชน ร่วมร่างนโยบายการท่องเที่ยวปี 2552 หวังแชร์แนวคิด เพื่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการ สู่การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน สอดรับปีส่งเสริมการลงทุนและท่องเที่ยวไทย
ในการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 2 ของนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ได้กล่าวว่า นโยบายการทำงานจะสานต่อแนวคิดเดิม ที่วางไว้ เพื่อนำพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตแบบยั่งยืน ภายใต้แนวคิด สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้เอกลักษณ์ พร้อมกันนี้ จะเร่งนำนโยบายด้านการท่องเที่ยว ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อหากในอนาคตแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ หรือ รัฐบาล นโยบายก็จะยังสานต่อไปไม่ขาดช่วง
ล่าสุด จะร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และ ภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว อาทิ สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) สมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) และ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) เป็นต้น จัดทำร่างนโยบายการท่องเที่ยวปี 2552 สาระสำคัญ คือ กำหนดแนวทางด้านการตลาด และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้การทำงานของทุกภาคส่วนสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
“การที่เราดึงเอกชนเข้ามาร่วมร่างนโยบายนั้นก็เพื่อจะได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในฐานะที่ภาคเอกชนเป็นส่วนที่สัมผัสกับนักท่องเที่ยวโดยตรง เพื่อให้นโยบายที่สรุปออกมานั้นครอบคลุมทุกด้าน และ นำไปปฎิบัติเป็นรูปธรรมได้จริง”
นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า นับจากนี้ไป การทำงานร่วมระหว่างรัฐกับเอกชน จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เฉพาะที่จะต้องร่วมมือกันต่อเมื่อเกิดวิกฤตเท่านั้น
สำหรับกรอบเบื้องต้น วางไว้ว่า นโยบาย จะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือระยะสั้น คือการเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ของประเทศ โดยกระทรวงฯจะเดินสาย ออกงานโรดโชว์ และ เทรดโชว์ ในต่างประเทศ กับ ททท.และภาคเอกชน ทั้งใน ยุโรป และ เอเชีย เพื่อใช้เป็นเวทีชี้แจ้งทำความเข้าใจ ให้ต่างชาติ เข้าใจประเทศไทยมากขึ้น
แผนระยะกลาง ให้เร่งเดินหน้าโครงการด้านการท่องเที่ยวตามที่วางไว้ เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ทั้งตลาดในประเทศ และ ต่างประเทศ เพราะ ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูไฮซีซั่นแล้ว ถือเป็นการเปิดฤดูท่องเที่ยวให้คึกคัก
ส่วนแผนระยะยาว คือการประชาสัมพันธ์โครงการลงทุนด้านการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ในแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 14 คลัสเตอร์ เช่น โครงการรอยัลโคส หรือ โครงการริเวียร่า โครงการเส้นทางน้ำพุร้อน เป็นต้น ตรงนี้ เมื่อแผนงานมีความชัดเจน นอกจากจะได้เรื่องการดึงเงินลงทุนให้ไหลเข้าประเทศแล้ว ยัง หมายถึงความมั่นใจ ว่า ประเทศไทยจะมีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน กระจายไปในทุกภูมิภาค แต่ที่สำคัญ ต้องเน้นการท่องเที่ยวเชิงมูลค่าและคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปกระทรวงการท่องเที่ยวฯ จะทำงานแบบบูรณาการ คือ การประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ กระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนทั้งทางบก อากาศและทางน้ำ
ในการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 2 ของนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ได้กล่าวว่า นโยบายการทำงานจะสานต่อแนวคิดเดิม ที่วางไว้ เพื่อนำพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตแบบยั่งยืน ภายใต้แนวคิด สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้เอกลักษณ์ พร้อมกันนี้ จะเร่งนำนโยบายด้านการท่องเที่ยว ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อหากในอนาคตแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ หรือ รัฐบาล นโยบายก็จะยังสานต่อไปไม่ขาดช่วง
ล่าสุด จะร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และ ภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว อาทิ สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) สมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) และ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) เป็นต้น จัดทำร่างนโยบายการท่องเที่ยวปี 2552 สาระสำคัญ คือ กำหนดแนวทางด้านการตลาด และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้การทำงานของทุกภาคส่วนสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
“การที่เราดึงเอกชนเข้ามาร่วมร่างนโยบายนั้นก็เพื่อจะได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในฐานะที่ภาคเอกชนเป็นส่วนที่สัมผัสกับนักท่องเที่ยวโดยตรง เพื่อให้นโยบายที่สรุปออกมานั้นครอบคลุมทุกด้าน และ นำไปปฎิบัติเป็นรูปธรรมได้จริง”
นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า นับจากนี้ไป การทำงานร่วมระหว่างรัฐกับเอกชน จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เฉพาะที่จะต้องร่วมมือกันต่อเมื่อเกิดวิกฤตเท่านั้น
สำหรับกรอบเบื้องต้น วางไว้ว่า นโยบาย จะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือระยะสั้น คือการเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ของประเทศ โดยกระทรวงฯจะเดินสาย ออกงานโรดโชว์ และ เทรดโชว์ ในต่างประเทศ กับ ททท.และภาคเอกชน ทั้งใน ยุโรป และ เอเชีย เพื่อใช้เป็นเวทีชี้แจ้งทำความเข้าใจ ให้ต่างชาติ เข้าใจประเทศไทยมากขึ้น
แผนระยะกลาง ให้เร่งเดินหน้าโครงการด้านการท่องเที่ยวตามที่วางไว้ เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ทั้งตลาดในประเทศ และ ต่างประเทศ เพราะ ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูไฮซีซั่นแล้ว ถือเป็นการเปิดฤดูท่องเที่ยวให้คึกคัก
ส่วนแผนระยะยาว คือการประชาสัมพันธ์โครงการลงทุนด้านการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ในแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 14 คลัสเตอร์ เช่น โครงการรอยัลโคส หรือ โครงการริเวียร่า โครงการเส้นทางน้ำพุร้อน เป็นต้น ตรงนี้ เมื่อแผนงานมีความชัดเจน นอกจากจะได้เรื่องการดึงเงินลงทุนให้ไหลเข้าประเทศแล้ว ยัง หมายถึงความมั่นใจ ว่า ประเทศไทยจะมีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน กระจายไปในทุกภูมิภาค แต่ที่สำคัญ ต้องเน้นการท่องเที่ยวเชิงมูลค่าและคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปกระทรวงการท่องเที่ยวฯ จะทำงานแบบบูรณาการ คือ การประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ กระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนทั้งทางบก อากาศและทางน้ำ