แรงงานป่วนหลังสงกรานต์ กลุ่มรถบรรทุกหมดทางอุ้มแรงงานส่อปลด 3 แสนคน กลุ่มขนส่ง เล็งชง 6 มาตรการเสนอรัฐดูแล ด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า จ่อปลดอีก 5 หมื่นคนหลังออเดอร์หดหนัก
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยในการเสวนาโลจิสติกส์ หัวข้อ “ทางเลือก ทางรอดของผู้ประกอบการขนส่งโลจิสติกส์ภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจถดถอย” วานนี้ (24 มี.ค.) ว่า จากการสำรวจแรงงานภาคขนส่งและระบบโลจิสติกส์ที่มีอยู่ประมา 2-3 ล้านคน นั้น พบว่า ในส่วนของภาคขนส่งที่เป็นรถบรรทุกสินค้ามีงานลดลงไปมาก จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ประเมินว่าหลังสงกรานต์นี้อาจเห็นแรงงานในกลุ่มขนส่งตกงานอีก 3 แสนคน เนื่องจากไม่สามารถรักษาสภาพการจ้างงานไว้ได้อีก
“เราสำรวจพบว่ารถบรรทุกจอดสนิท 2.5 แสนคันแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาเขาก็แจ้งว่าพยายามรักษาคนไว้ แต่สงกรานต์นี้ส่วนใหญ่บอกว่าไม่ไหวแล้ว ซึ่งแรงงานกลุ่มรถบรรทุกมีมากถึง 1.5 ล้านคนเมื่องานลดลงไปมากก็ย่อมกระทบมาก และที่น่าวิตก คือ แรงงานเหล่านี้ตกสำรวจเพราะไม่อยู่ในระบบประกันสังคม” นายธนิต กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการโลกจิสติกส์จะเสนอ 6 มาตรการ ให้ภาครัฐช่วยเหลือ ประกอบด้วย 1.ขอให้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในวงเงิน 20,000 ล้านบาท 2.ขอให้ออกมาตรการลดค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระเอกชน เช่น การลดภาระที่เกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียม ท่าเรือ ท่าอากาศยานต่างๆ 3.ขอให้ลดค่าเช่าสถานประกอบการในพื้นที่ปลอดอากรของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 4.ขอให้ปรับลดค่าสัมปทานสถานีขนส่งสินค้าไอซีดีลาดกระบัง 5.ขอให้ภาครัฐมีมาตรการให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้ผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ และ 6.ขอให้ภาครัฐจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือผู้ตกงานจากภาคขนส่ง
นายจารึก เฮงรัศมี ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยว่า บริษัทกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เตรียมปลดแรงงานอีก 5 หมื่นคน เพื่อลดต้นทุนของบริษัท เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ถดถอยทำให้ผู้ผลิตต้องลดการผลิตลง 30-40% ตามคำสั่งซื้อที่ลดต่ำ อย่างไรก็ตาม ต้นปี 2552 ได้มีการปลดแรงงานไปแล้วกว่า 3 หมื่นคน ซึ่งเป็นสถานการณ์น่าเป็นห่วงอย่างมาก ดังนั้น ต้องการให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือโดยการฝึกอบรมแรงงานกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกปลดออกพร้อมให้เบี้ยเลี้ยงวันละ 200 บาท และออกมาตรการด้านภาษีในการกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการ
“บางรายมีสต๊อกคงค้างอีก 1-2 เดือน เพราะถูกคู่ค้ายกเลิกการซื้อขายอย่างกระทันหัน ซึ่งต่างกับช่วงปกติที่แทบไม่มีสต๊อก ส่งผลให้ผู้ประกอบการเร่งระบายสินค้าในตลาดใหม่และลดราคาเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งโดยคาดว่าปีนี้การส่งออก สินค้าไฟฟ้าในปี 2552 อยู่ที่ 1.3-1.4 ล้านล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 2-3 แสนล้านบาท” นายจารึก กล่าว
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เตรียมปลดแรงงาน 4.5 หมื่นคน ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มรับจ้างชั่วคราว เนื่องจากค่ายรถยนต์ได้ลดกำลังการผลิตต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน กว่า 50% ขณะที่เดือน มี.ค.คาดว่า ยอดกำลังการผลิตที่ 7 หมื่นคันลดลงอีก 50% ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ทรุดตัวอย่างหนัก
เล็งถกสัปดาห์หน้าขอแจมต้นกล้าอาชีพ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท. เตรียมหารือกับ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สัปดาห์หน้า เพื่อสรุปโครงการรักษาสภาพการจ้างงานภาคอุตสาหกรรม โดยใช้งบประมาณจากโครงการ “ต้นกล้าอาชีพ” ที่ล่าสุด มีผู้สมัครร่วมโครงการน้อยกว่าเป้าที่คาดไว้ หรือรัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ใหม่
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยในการเสวนาโลจิสติกส์ หัวข้อ “ทางเลือก ทางรอดของผู้ประกอบการขนส่งโลจิสติกส์ภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจถดถอย” วานนี้ (24 มี.ค.) ว่า จากการสำรวจแรงงานภาคขนส่งและระบบโลจิสติกส์ที่มีอยู่ประมา 2-3 ล้านคน นั้น พบว่า ในส่วนของภาคขนส่งที่เป็นรถบรรทุกสินค้ามีงานลดลงไปมาก จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ประเมินว่าหลังสงกรานต์นี้อาจเห็นแรงงานในกลุ่มขนส่งตกงานอีก 3 แสนคน เนื่องจากไม่สามารถรักษาสภาพการจ้างงานไว้ได้อีก
“เราสำรวจพบว่ารถบรรทุกจอดสนิท 2.5 แสนคันแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาเขาก็แจ้งว่าพยายามรักษาคนไว้ แต่สงกรานต์นี้ส่วนใหญ่บอกว่าไม่ไหวแล้ว ซึ่งแรงงานกลุ่มรถบรรทุกมีมากถึง 1.5 ล้านคนเมื่องานลดลงไปมากก็ย่อมกระทบมาก และที่น่าวิตก คือ แรงงานเหล่านี้ตกสำรวจเพราะไม่อยู่ในระบบประกันสังคม” นายธนิต กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการโลกจิสติกส์จะเสนอ 6 มาตรการ ให้ภาครัฐช่วยเหลือ ประกอบด้วย 1.ขอให้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในวงเงิน 20,000 ล้านบาท 2.ขอให้ออกมาตรการลดค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระเอกชน เช่น การลดภาระที่เกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียม ท่าเรือ ท่าอากาศยานต่างๆ 3.ขอให้ลดค่าเช่าสถานประกอบการในพื้นที่ปลอดอากรของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 4.ขอให้ปรับลดค่าสัมปทานสถานีขนส่งสินค้าไอซีดีลาดกระบัง 5.ขอให้ภาครัฐมีมาตรการให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้ผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ และ 6.ขอให้ภาครัฐจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือผู้ตกงานจากภาคขนส่ง
นายจารึก เฮงรัศมี ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยว่า บริษัทกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เตรียมปลดแรงงานอีก 5 หมื่นคน เพื่อลดต้นทุนของบริษัท เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ถดถอยทำให้ผู้ผลิตต้องลดการผลิตลง 30-40% ตามคำสั่งซื้อที่ลดต่ำ อย่างไรก็ตาม ต้นปี 2552 ได้มีการปลดแรงงานไปแล้วกว่า 3 หมื่นคน ซึ่งเป็นสถานการณ์น่าเป็นห่วงอย่างมาก ดังนั้น ต้องการให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือโดยการฝึกอบรมแรงงานกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกปลดออกพร้อมให้เบี้ยเลี้ยงวันละ 200 บาท และออกมาตรการด้านภาษีในการกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการ
“บางรายมีสต๊อกคงค้างอีก 1-2 เดือน เพราะถูกคู่ค้ายกเลิกการซื้อขายอย่างกระทันหัน ซึ่งต่างกับช่วงปกติที่แทบไม่มีสต๊อก ส่งผลให้ผู้ประกอบการเร่งระบายสินค้าในตลาดใหม่และลดราคาเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งโดยคาดว่าปีนี้การส่งออก สินค้าไฟฟ้าในปี 2552 อยู่ที่ 1.3-1.4 ล้านล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 2-3 แสนล้านบาท” นายจารึก กล่าว
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เตรียมปลดแรงงาน 4.5 หมื่นคน ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มรับจ้างชั่วคราว เนื่องจากค่ายรถยนต์ได้ลดกำลังการผลิตต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน กว่า 50% ขณะที่เดือน มี.ค.คาดว่า ยอดกำลังการผลิตที่ 7 หมื่นคันลดลงอีก 50% ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ทรุดตัวอย่างหนัก
เล็งถกสัปดาห์หน้าขอแจมต้นกล้าอาชีพ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท. เตรียมหารือกับ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สัปดาห์หน้า เพื่อสรุปโครงการรักษาสภาพการจ้างงานภาคอุตสาหกรรม โดยใช้งบประมาณจากโครงการ “ต้นกล้าอาชีพ” ที่ล่าสุด มีผู้สมัครร่วมโครงการน้อยกว่าเป้าที่คาดไว้ หรือรัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ใหม่