นายสุชาติ สิทธิชัย รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ตามที่กรมทรัพยากรน้ำได้ประเมินสถานการณ์ภัยแล้งในปี 2552 ว่ามีพื้นที่เสี่ยงภัยอยู่ถึง 36 จังหวัดโดย จ.นครราชสีมามีชื่อติดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้วยนั้น โรงงานแปรรูปเนื้อไก่นครราชสีมาของซีพีเอฟ จึงร่วมมือกับชุมชนใกล้เคียงเดินหน้า “โครงการรักษ์น้ำมูล” เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำของโรงงานจากแหล่งธรรมชาติในแม่น้ำมูล รวมถึง ส่งเสริมให้ชุมชนใกล้เคียงนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วของโรงงานซึ่งได้ค่ามาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ไปใช้รดน้ำต้นไม้ด้วย
ทั้งนี้ โรงงานของซีพีเอฟทุกแห่งจะดำเนินการผลิตอาหารปลอดภัยบนความใส่ใจสิ่งแวดล้อมทุกด้าน เช่น การลงทุนระบบบำบัดน้ำเสียภายในโรงงานนครราชสีมาที่ใช้เงินลงทุนสูงถึงกว่า 150 ล้านบาท และยังคงทุ่มเทศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดวางเป้าหมายถึงขั้นที่จะสามารถนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ให้ได้ 100% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน
“ที่โรงงานแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 170 ไร่ แบ่งเป็นอาคารผลิต 30 ไร่ ที่เหลืออีก 140 ไร่เป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งสามารถนำน้ำที่บำบัดแล้วของโรงงานกลับมารดต้นไม้และทำความสะอาดพื้นบริเวณรอบโรงงาน เช่น พื้นถนน หรือ ลานจอดรถ ได้ถึงวันละประมาณ 2,000 คิว เป็นการอนุรักษ์น้ำในแนวทาง REUSE ที่ช่วยลดการนำน้ำจากแหล่งธรรมชาติมาใช้เพิ่มเติม บรรเทาภาวะภัยแล้งให้ชาวบ้านได้อีกระดับหนึ่ง ทั้งยังสอดคล้องกับหลักการของ SHE Management System และ ISO 14001 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลอีกด้วย”
โครงการรักษ์น้ำมูลนี้ นอกเหนือจากซีพีเอฟจะเร่งดำเนินการพัฒนาระบบบำบัดน้ำภายในโรงงานแล้ว ยังจะดำเนินการด้านชุมชนควบคู่ไปด้วยใน 2 ส่วน คือ การร่วมมือกับชุมชนบริเวณเหนือน้ำ ทำการปลูกป่าลดภาวะโลกร้อนและร่วมอนุรักษ์ปลาในลำน้ำ อีกทั้งร่วมมือกับชาวบ้านในชุมชนบริเวณท้ายน้ำให้นำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วของโรงงานไปใช้รดต้นไม้ เพื่อลดการใช้น้ำในแม่น้ำมูลได้อีกทางหนี่ง
“คุณภาพของน้ำที่บำบัดจากโรงงานแปรรูปอาหารของซีพีเอฟทุกแห่ง ต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพเยี่ยมสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากโรงงานอาหารต้องดำเนินการผลิตบนความปลอดภัยสูงสุด Food Safety ที่สุด แม้แต่น้ำที่ผ่านการใช้แล้วจะนำกลับมาใช้เพียงลดต้นไม้หรือล้างพื้นก็ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากเชื้อโรคใดๆ เช่นกัน” นายสุชาติกล่าวทิ้งท้าย.
ทั้งนี้ โรงงานของซีพีเอฟทุกแห่งจะดำเนินการผลิตอาหารปลอดภัยบนความใส่ใจสิ่งแวดล้อมทุกด้าน เช่น การลงทุนระบบบำบัดน้ำเสียภายในโรงงานนครราชสีมาที่ใช้เงินลงทุนสูงถึงกว่า 150 ล้านบาท และยังคงทุ่มเทศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดวางเป้าหมายถึงขั้นที่จะสามารถนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ให้ได้ 100% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน
“ที่โรงงานแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 170 ไร่ แบ่งเป็นอาคารผลิต 30 ไร่ ที่เหลืออีก 140 ไร่เป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งสามารถนำน้ำที่บำบัดแล้วของโรงงานกลับมารดต้นไม้และทำความสะอาดพื้นบริเวณรอบโรงงาน เช่น พื้นถนน หรือ ลานจอดรถ ได้ถึงวันละประมาณ 2,000 คิว เป็นการอนุรักษ์น้ำในแนวทาง REUSE ที่ช่วยลดการนำน้ำจากแหล่งธรรมชาติมาใช้เพิ่มเติม บรรเทาภาวะภัยแล้งให้ชาวบ้านได้อีกระดับหนึ่ง ทั้งยังสอดคล้องกับหลักการของ SHE Management System และ ISO 14001 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลอีกด้วย”
โครงการรักษ์น้ำมูลนี้ นอกเหนือจากซีพีเอฟจะเร่งดำเนินการพัฒนาระบบบำบัดน้ำภายในโรงงานแล้ว ยังจะดำเนินการด้านชุมชนควบคู่ไปด้วยใน 2 ส่วน คือ การร่วมมือกับชุมชนบริเวณเหนือน้ำ ทำการปลูกป่าลดภาวะโลกร้อนและร่วมอนุรักษ์ปลาในลำน้ำ อีกทั้งร่วมมือกับชาวบ้านในชุมชนบริเวณท้ายน้ำให้นำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วของโรงงานไปใช้รดต้นไม้ เพื่อลดการใช้น้ำในแม่น้ำมูลได้อีกทางหนี่ง
“คุณภาพของน้ำที่บำบัดจากโรงงานแปรรูปอาหารของซีพีเอฟทุกแห่ง ต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพเยี่ยมสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากโรงงานอาหารต้องดำเนินการผลิตบนความปลอดภัยสูงสุด Food Safety ที่สุด แม้แต่น้ำที่ผ่านการใช้แล้วจะนำกลับมาใช้เพียงลดต้นไม้หรือล้างพื้นก็ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากเชื้อโรคใดๆ เช่นกัน” นายสุชาติกล่าวทิ้งท้าย.