ศูนย์ข่าวภูเก็ต -สถานการณ์ภัยแล้งในภูเก็ตเริ่มรุนแรงหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มขอความช่วยเหลือแจกน้ำแล้ว 2 อำเภอ ขณะที่ ในเขตเมือง ต.เกาะแก้วขอรถน้ำช่วยแน่อาทิตย์หน้าเหตุเริ่มแล้งหนัก
นายโชตินรินทร์ เกิดสม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเริ่มมีปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งหนักขึ้น ซึ่งในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ของทุกปีจะมีความแห้งแล้ง และขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค
อีกทั้งลักษณะของจังหวัดภูเก็ตมีลักษณะเป็นเกาะ ไม่มีแม่น้ำสายหลัก มีเพียงคลองบางใหญ่ และน้ำจากสระน้ำ ขุมเหมือง เป็นหลักในการสำรองน้ำไว้เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำ
อย่างไรก็ตาม จากการตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ถึงปัจจุบันพบว่ามีประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว 2 อำเภอ คือ อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้ ซึ่งมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้วจำนวน 6 ตำบล 16 หมู่บ้าน 503 ครัวเรือน จำนวน 1,222 คน
พื้นที่ที่ประชาชนประสบปัญหาภัยแล้งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่อำถลางมากว่า ซึ่งมีทั้งตำบลเชิงทะเล ศรีสุนทร และป่าคลอก ขณะที่ อ.กะทู้ มีเพียงชุมชนปั๊กกั้วหลาวกะทู้ 2 และกะทู้ 3 โดยขณะนี้ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งได้มีการนำรถน้ำไปแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนแล้วจำนวน 646,800 ลิตร
นายโชตินรินทร์กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจข้องมูลพบว่าในส่วนของพื้นที่อำเภอเมืองก็เริ่มที่จะประสบปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่แต่อยู่ในระดับที่ท้องถิ่นยังสามารถดูแลได้อยู่ ยกเว้นในส่วนของพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว ที่เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นเกินขีดความสามารถของท้องถิ่นที่จะดูแลได้ และคาดว่าอีกประมาณ 1 สัปดาห์จะต้องส่งรถน้ำเข้าไปช่วยเหลือที่ตำบลเกาะแล้วแน่นอนอย่างน้อย 2 คัน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ขณะที่ นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเริ่มประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรกทุกพื้นที่ เริ่มขอความช่วยเหลือมายังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งคิดว่าในส่วนของจำนวนประชากรที่มีอยู่กว่า 3 แสนคน ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ จำนวนประชาชากรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากอาจจะได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนน้ำได้ ซึ่งเรื่องนี้คิดว่านอกจากจะแก้ปัญหาโดยการจัดหาน้ำแล้วควรจะต้องทำ ในเรื่องของการรณรงค์ลดการใช้น้ำด้วยซึ่งจะต้องทำทั้งในส่วนของประชาชนและนักท่องเที่ยว
นายโชตินรินทร์ เกิดสม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเริ่มมีปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งหนักขึ้น ซึ่งในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ของทุกปีจะมีความแห้งแล้ง และขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค
อีกทั้งลักษณะของจังหวัดภูเก็ตมีลักษณะเป็นเกาะ ไม่มีแม่น้ำสายหลัก มีเพียงคลองบางใหญ่ และน้ำจากสระน้ำ ขุมเหมือง เป็นหลักในการสำรองน้ำไว้เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำ
อย่างไรก็ตาม จากการตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ถึงปัจจุบันพบว่ามีประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว 2 อำเภอ คือ อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้ ซึ่งมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้วจำนวน 6 ตำบล 16 หมู่บ้าน 503 ครัวเรือน จำนวน 1,222 คน
พื้นที่ที่ประชาชนประสบปัญหาภัยแล้งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่อำถลางมากว่า ซึ่งมีทั้งตำบลเชิงทะเล ศรีสุนทร และป่าคลอก ขณะที่ อ.กะทู้ มีเพียงชุมชนปั๊กกั้วหลาวกะทู้ 2 และกะทู้ 3 โดยขณะนี้ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งได้มีการนำรถน้ำไปแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนแล้วจำนวน 646,800 ลิตร
นายโชตินรินทร์กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจข้องมูลพบว่าในส่วนของพื้นที่อำเภอเมืองก็เริ่มที่จะประสบปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่แต่อยู่ในระดับที่ท้องถิ่นยังสามารถดูแลได้อยู่ ยกเว้นในส่วนของพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว ที่เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นเกินขีดความสามารถของท้องถิ่นที่จะดูแลได้ และคาดว่าอีกประมาณ 1 สัปดาห์จะต้องส่งรถน้ำเข้าไปช่วยเหลือที่ตำบลเกาะแล้วแน่นอนอย่างน้อย 2 คัน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ขณะที่ นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเริ่มประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรกทุกพื้นที่ เริ่มขอความช่วยเหลือมายังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งคิดว่าในส่วนของจำนวนประชากรที่มีอยู่กว่า 3 แสนคน ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ จำนวนประชาชากรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากอาจจะได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนน้ำได้ ซึ่งเรื่องนี้คิดว่านอกจากจะแก้ปัญหาโดยการจัดหาน้ำแล้วควรจะต้องทำ ในเรื่องของการรณรงค์ลดการใช้น้ำด้วยซึ่งจะต้องทำทั้งในส่วนของประชาชนและนักท่องเที่ยว