อาร์เอส มั่นใจสื่ออินสโตร์รุ่งโรจน์ เหตุลงทุนน้อย ได้ประสิทธิภาพ ในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ด ปีนี้เปิดแผนลุยต่อ เปิดสื่อใหม่ ดีดีเอส หวังรายได้ทะลุ 180 ล้านบาท โต 30%
นายวิญญลักษณ์ โสรัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอส อินสโตร์ มีเดีย จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจสื่อในเครืออาร์เอส เปิดเผยว่า แนวโน้มของสื่ออินสโตร์มีเดีย ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะปัจจุบันมูลค่าตลาดยังน้อยมาก โดยจากตัวเลขของนีลเส็นมีเดียรีเสิร์ช ระบุว่า ปีที่แล้ว สื่ออินสโตร์มีเดีย มีประมาณ 300 กว่าล้านบาท ซึ่งความเป็นจริงน่าจะมากกว่านั้น อีกทั้งเม็ดเงินจากเจ้าของสินค้าและเอเยนซีก็เริ่มหันมาใช้สื่อแบบนี้มากขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดีและงบประมาณด้านการตลาดมีจำกัด
โดยปีที่แล้วบริษัทมีอัตราเติบโตมากกว่า 100% หรือมีรายได้รวมประมาณ 130 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ 5% จากรายได้รวมของอาร์เอสทั้งกลุ่ม เนื่องจากการใช้เม็ดเงินโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าในสื่ออินสโตร์มากขึ้น เพราะได้ประสิทธิผลดี ใช้เม็ดเงินไม่มาก ยังสามารถกระตุ้นการซื้อ ณ จุดขายได้เป็นอย่างดี โดยปีนี้ตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 180 ล้านบาท หรือเติบโต 30% ซึ่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์มีการเติบโตมากกว่า 7-10% จากเดือนมกราคมที่ผ่านมา
แผนการดำเนินงานของอาร์เอสอินสโตร์มีเดียปีนี้ จะเริ่มสื่อแบบใหม่ คือ สื่อภาพ หรือสื่อไดนามิค ดิจิตอล ไซน์เนจ (Dynamic Digital Signage) ซึ่งเป็นสื่อที่บริษัทได้ทำการทดสอบอุปกรณ์ และระบบมาตลอดทั้งปีโดยปีนี้ได้ลงทุนประมาณ 60 ล้านบาท ในการติดตั้งสื่อดีดีเอสในโมเดิร์นเทรดต่างๆ ที่กำหนดไว้
เมื่อสิ้นปีที่แล้วบริษัทมีสื่อเฉพาะวิทยุใน 4 โมเดิร์นเทรดใหญ่ คือ เทสโก้โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟูร์ ท็อปส์ แต่ปีนี้จะขยายไปยังสื่อทีวีมากขึ้นด้วยสื่อ ดีดีเอส หลังจากเริ่มทดลองไปบ้างแล้ว เช่นที่ คาร์ฟูร์ 10 สาขาในเฟสแรก ติดตั้ง 4 จุด คือ แคชเชียร์ เอชบีเอ เฟรชฟู้ด และตู้แช่ เช่นเดียวกับทดลองที่ท็อปส์ สาขารัชดาภิเษก บิ๊กซี สาขาราชดำริ เทสโก้โลตัส เอ็กซ์เพรส ทั้งนี้ ราคาสื่อ แบ่งเป็น สื่อวิทยุประมาณ 60,000-2 ล้านบาท แล้วแต่กรณี สื่อทีวีคิด 1.5 แสนบาทต่อเดือน หรือ 120 ครั้งต่อวัน
สำหรับลูกค้าหลักๆของบริษัทนั้น มีประมาณ 10 กว่ารายที่ซื้อสัญญากันยาวข้ามปี นอกนั้นก็เป็นระยะสั้น 3 เดือน 6 เดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคิดเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณ 3-5 สตางค์ต่อคน เมื่อใช้สื่อประเภทนี้ โดย 50% เป็นคอนเทนต์ และอีก 50% เป็นโฆษณาภายในเนื้อหาที่ออนแอร์
“ผมมั่นใจว่า แนวโน้มของสื่ออินสโตร์ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง เพราะพฤติกรรมผู้บริโภควันนี้เปลี่ยนไป ไม่ได้ซื้อสินค้าครั้งละมากชิ้น แต่จะซื้อจำนวนน้อย แต่เข้าสโตร์ถี่มากขึ้น เลือกแบรนด์ที่ต้องการมากที่สุด จึงทำให้บทบาทของสื่ออินสโตร์ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้บริโภคเติบโตได้ และเรายังมีสื่อรูปแบบใหม่ที่เตรียมเปิดตัวในปีนี้อีกมากด้วย” นายวิญญลักษณ์ กล่าว
ปัจจุบันอาร์เอสอินสโตร์มีเดีย บริหารสื่อวิทยุหรือ สื่อ P.O.P.ในโมเดิร์นเทรด 5 แห่ง คือ เทสโก้โลตัส โลตัสเอ็กซ์เพรส บิ๊กซี คาร์ฟูร์ ท็อปส์ รวมทั้งหมด 746 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ 51 จังหวัด มีคนเข้าใช้บริการประมาณ 21 ล้านคนต่อเดือน
นายวิญญลักษณ์ โสรัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอส อินสโตร์ มีเดีย จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจสื่อในเครืออาร์เอส เปิดเผยว่า แนวโน้มของสื่ออินสโตร์มีเดีย ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะปัจจุบันมูลค่าตลาดยังน้อยมาก โดยจากตัวเลขของนีลเส็นมีเดียรีเสิร์ช ระบุว่า ปีที่แล้ว สื่ออินสโตร์มีเดีย มีประมาณ 300 กว่าล้านบาท ซึ่งความเป็นจริงน่าจะมากกว่านั้น อีกทั้งเม็ดเงินจากเจ้าของสินค้าและเอเยนซีก็เริ่มหันมาใช้สื่อแบบนี้มากขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดีและงบประมาณด้านการตลาดมีจำกัด
โดยปีที่แล้วบริษัทมีอัตราเติบโตมากกว่า 100% หรือมีรายได้รวมประมาณ 130 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ 5% จากรายได้รวมของอาร์เอสทั้งกลุ่ม เนื่องจากการใช้เม็ดเงินโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าในสื่ออินสโตร์มากขึ้น เพราะได้ประสิทธิผลดี ใช้เม็ดเงินไม่มาก ยังสามารถกระตุ้นการซื้อ ณ จุดขายได้เป็นอย่างดี โดยปีนี้ตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 180 ล้านบาท หรือเติบโต 30% ซึ่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์มีการเติบโตมากกว่า 7-10% จากเดือนมกราคมที่ผ่านมา
แผนการดำเนินงานของอาร์เอสอินสโตร์มีเดียปีนี้ จะเริ่มสื่อแบบใหม่ คือ สื่อภาพ หรือสื่อไดนามิค ดิจิตอล ไซน์เนจ (Dynamic Digital Signage) ซึ่งเป็นสื่อที่บริษัทได้ทำการทดสอบอุปกรณ์ และระบบมาตลอดทั้งปีโดยปีนี้ได้ลงทุนประมาณ 60 ล้านบาท ในการติดตั้งสื่อดีดีเอสในโมเดิร์นเทรดต่างๆ ที่กำหนดไว้
เมื่อสิ้นปีที่แล้วบริษัทมีสื่อเฉพาะวิทยุใน 4 โมเดิร์นเทรดใหญ่ คือ เทสโก้โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟูร์ ท็อปส์ แต่ปีนี้จะขยายไปยังสื่อทีวีมากขึ้นด้วยสื่อ ดีดีเอส หลังจากเริ่มทดลองไปบ้างแล้ว เช่นที่ คาร์ฟูร์ 10 สาขาในเฟสแรก ติดตั้ง 4 จุด คือ แคชเชียร์ เอชบีเอ เฟรชฟู้ด และตู้แช่ เช่นเดียวกับทดลองที่ท็อปส์ สาขารัชดาภิเษก บิ๊กซี สาขาราชดำริ เทสโก้โลตัส เอ็กซ์เพรส ทั้งนี้ ราคาสื่อ แบ่งเป็น สื่อวิทยุประมาณ 60,000-2 ล้านบาท แล้วแต่กรณี สื่อทีวีคิด 1.5 แสนบาทต่อเดือน หรือ 120 ครั้งต่อวัน
สำหรับลูกค้าหลักๆของบริษัทนั้น มีประมาณ 10 กว่ารายที่ซื้อสัญญากันยาวข้ามปี นอกนั้นก็เป็นระยะสั้น 3 เดือน 6 เดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคิดเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณ 3-5 สตางค์ต่อคน เมื่อใช้สื่อประเภทนี้ โดย 50% เป็นคอนเทนต์ และอีก 50% เป็นโฆษณาภายในเนื้อหาที่ออนแอร์
“ผมมั่นใจว่า แนวโน้มของสื่ออินสโตร์ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง เพราะพฤติกรรมผู้บริโภควันนี้เปลี่ยนไป ไม่ได้ซื้อสินค้าครั้งละมากชิ้น แต่จะซื้อจำนวนน้อย แต่เข้าสโตร์ถี่มากขึ้น เลือกแบรนด์ที่ต้องการมากที่สุด จึงทำให้บทบาทของสื่ออินสโตร์ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้บริโภคเติบโตได้ และเรายังมีสื่อรูปแบบใหม่ที่เตรียมเปิดตัวในปีนี้อีกมากด้วย” นายวิญญลักษณ์ กล่าว
ปัจจุบันอาร์เอสอินสโตร์มีเดีย บริหารสื่อวิทยุหรือ สื่อ P.O.P.ในโมเดิร์นเทรด 5 แห่ง คือ เทสโก้โลตัส โลตัสเอ็กซ์เพรส บิ๊กซี คาร์ฟูร์ ท็อปส์ รวมทั้งหมด 746 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ 51 จังหวัด มีคนเข้าใช้บริการประมาณ 21 ล้านคนต่อเดือน