ยักษ์ “โตโยต้า” คอนเฟิร์มอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยสาหัส คาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปีวัวบ้า ทรุด 15.4% ร่วงเกือบแตะ 5 แสนคัน โตโยต้าเองติดลบ 15.7% ขณะที่ตัวเลขส่งออกผันผวนหนัก จากวิกฤตเศรษฐกิจโลก จนไม่สามารถประเมินยอดส่งออกและผลิตได้ แต่ยังหวังรัฐบาลใหม่ออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจดันตลาดในประเทศช่วย ย้ำ เป็นไปได้หากรัฐบาลมีเสถียรภาพ และเข้าใจสถานการณ์ ส่วนการขาดทุนของบริษัทแม่ ส่งผลต้องเลื่อนลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซลแห่งใหม่ออกไป
นายมิทซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดรถยนต์ในปีที่ผ่านมา ประสบกับความผันผวนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในช่วงต้นปีมียอดขายเติบโตอย่างมาก แต่เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่สองราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นสูงมาก ทำให้ยอดขายเริ่มชะลอตัว โดยเฉพาะปิกอัพที่ลดลงอย่างมาก ส่งผลต่อเนื่องถึงไตรมาสที่สาม และยังเกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในไทย ประกอบกับช่วงปลายปีเกิดวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนลุกลามไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทย ทำให้ตลาดรถยนต์ในไทยลดลงเหลือเพียง 6.15 แสนคัน หรือลดลง 2.5% เมื่อเทียบกับปี 2550
“ในช่วงไตรมาสสุดท้ายแม้สถานการณ์ราคาน้ำมันจะลดลง แต่ปัญหาการเมืองภายในประเทศ และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศ ช่วงไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วตกลงมากที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปีจึงสะท้อนถึงสถานการณ์ปัจจุบัน จึงคาดว่า ตลาดรถยนต์ไทยน่าจะลดลงระดับใกล้เคียงกันประมาณ 15%”
สำหรับประมาณการตลาดรถยนต์ในปีนี้ คาดว่า จะมีปริมาณการขายประมาณ 520,0000 คัน หรือลดจากปีที่แล้ว 15.4% โดยแบ่งออกเป็นตลาดรถยนต์นั่ง หรือ เก๋ง 205,000 คัน ตลาดปิกอัพขนาด 1 ตัน 269,000 คัน และในส่วนของโตโยต้าได้ตั้งเป้าการขายไว้ที่ 221,000 คัน ลดลง 15.7% เมื่อเทียบกับปี 2551 และคาดว่า จะมีส่วนแบ่งทางการตลาด 42.5% ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
นายโซโนดะ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ตลาดรถยนต์อาจมีการเปลี่ยนแปลง เพราะเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่ง ประกอบกับไทยมีรัฐบาลใหม่ที่คาดว่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น และสถานการณ์ราคาน้ำมันปรับลดลงจึงอยู่ในระดับทรงตัว ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยมีความมั่นใจ ที่จะใช้รถเพื่อการพาณิชย์อย่างปิกอัพ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญและใหญ่ที่สุดในไทย และหากดูอัตราการครองรถยนต์ของไทย ในต่างจังหวัดจะอยู่ในระดับ 15 คน ต่อรถยนต์ 1 คน และในกรุงเทพฯ 22 คน ต่อรถยนต์ 1 คัน จากปัจจัยเหล่านี้จึงยังมองเห็นโอกาสทางการตลาดและช่องทางการสำหรับการเติบโตของตลาดรถยนต์ในประเทศ
ดังนั้น เพื่อรักษาเป้าหมายที่วางไว้ ในปีนี้โตโยต้าจะยังคงเดินหน้ารักษาฐานลูกค้าผ่านกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ สู่ตลาด โดยเฉพาะรถยนต์ที่ตอบสนองพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด, โตโยต้า อัลติส เครื่องยนต์รองรับก๊าซธรรมชาติ (CNG) ในรุ่นจำหน่ายลูกค้าทั่วไป และเพิ่มเครื่องยนต์ของรุ่นอัลติส รวมถึงการไมเนอร์เชนจ์ โตโยต้า ยาริส
“ปัญหาสำคัญอีกอย่างของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย มาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้ความต้องการในตลาดต่างประเทศลดลง ซึ่งเริ่มเห็นผลชัดเจนจากยอดสั่งซื้อลดลง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา จึงคาดว่า ปีนี้จะส่งผลกระทบอย่างหนัก แต่ยังไม่สามารถประเมินได้จะเป็นอย่างไร เพราะต้องรอดูสถานการณ์เดือนต่อเดือน ทำให้ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์การผลิตปีนี้ได้” นายโซโนดะ กล่าวและว่า
ในส่วนของโตโยต้าปีที่ผ่านมา ตัวเลขการส่งออกกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ตลอดทั้งปียังคงเติบโตอยู่ เพราะเพิ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยสามารถส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวนทั้งสิ้น 313,000 คัน เติบโต 32% มูลค่ากรรส่งออก 13,400 ล้านบาท ส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่ 28,800 คอนเทนเนอร์ มูลค่าการส่งออก 44,000 ล้านบาท
นายโซโนดะ กล่าวว่า ตลาดส่งออกหลักของโตโยต้ามีอยู่ทั้งหมด 3 ตลาด คือ ตลาดอาเซียนส่งออกประมาณ 9 หมื่นคัน-1 แสนคัน ตัวเลขการส่งออกเริ่มลดลงมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ตลาดตะวันออกกลางมีการส่งออกระดับเดียวกัน แต่ยอดสั่งซื้อลดลงชัดเจนเมื่อปลายปี เช่นเดียวกับตลาดออสเตรเลียที่ส่งออกประมาณ 4-5 หมื่นคันต่อปี ซึ่งขณะนี้ยอดการสั่งซื้อยังผันผวนอยู่ จึงยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ชัดเจนในตอนนี้ คงต้องรอดูสถานการณ์สักระยะ แต่จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ลุกลาดทั่วโลก ซึ่งต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา จึงคาดว่าส่งผลกระทบต่อการส่งออกอย่างมากแน่นอน
“ตลาดส่งออกคงต้องลดลงพอสมควร จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่เราคาดหวังว่า การมีรัฐบาลใหม่ที่มีเสถียรภาพ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาเมื่อวานนี้ (13 ม.ค.) จะช่วยผลักดันตลาดรถยนต์ในประเทศให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปัญหาตลาดส่งออกชะลอตัวได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดขึ้นอยู่ที่การมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ และมีความเข้าใจในสถานการณ์เศรษฐกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ”
สำหรับปัญหาการขาดทุนของบริษัทแม่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น (TMC) ไม่ส่งผลต่อการผลิตของรถยนต์ในไทย เพราะเป็นปัญหาของแต่ละตลาดมากกว่า แต่ในส่วนของการลงทุนได้มีการชะลอบางโครงการออกไป อย่างแผนการตั้งโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซลแห่งใหม่ที่ประกาศไปเมื่อปลายปี ก็จะมีการเลื่อนออกไปจนกว่าสถานการณ์ตลาดจะพร้อม ส่วนโครงการอีโคคาร์ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาโปรดักต์ ทุกอย่างยังเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
นายมิทซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดรถยนต์ในปีที่ผ่านมา ประสบกับความผันผวนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในช่วงต้นปีมียอดขายเติบโตอย่างมาก แต่เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่สองราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นสูงมาก ทำให้ยอดขายเริ่มชะลอตัว โดยเฉพาะปิกอัพที่ลดลงอย่างมาก ส่งผลต่อเนื่องถึงไตรมาสที่สาม และยังเกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในไทย ประกอบกับช่วงปลายปีเกิดวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนลุกลามไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทย ทำให้ตลาดรถยนต์ในไทยลดลงเหลือเพียง 6.15 แสนคัน หรือลดลง 2.5% เมื่อเทียบกับปี 2550
“ในช่วงไตรมาสสุดท้ายแม้สถานการณ์ราคาน้ำมันจะลดลง แต่ปัญหาการเมืองภายในประเทศ และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศ ช่วงไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วตกลงมากที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปีจึงสะท้อนถึงสถานการณ์ปัจจุบัน จึงคาดว่า ตลาดรถยนต์ไทยน่าจะลดลงระดับใกล้เคียงกันประมาณ 15%”
สำหรับประมาณการตลาดรถยนต์ในปีนี้ คาดว่า จะมีปริมาณการขายประมาณ 520,0000 คัน หรือลดจากปีที่แล้ว 15.4% โดยแบ่งออกเป็นตลาดรถยนต์นั่ง หรือ เก๋ง 205,000 คัน ตลาดปิกอัพขนาด 1 ตัน 269,000 คัน และในส่วนของโตโยต้าได้ตั้งเป้าการขายไว้ที่ 221,000 คัน ลดลง 15.7% เมื่อเทียบกับปี 2551 และคาดว่า จะมีส่วนแบ่งทางการตลาด 42.5% ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
นายโซโนดะ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ตลาดรถยนต์อาจมีการเปลี่ยนแปลง เพราะเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่ง ประกอบกับไทยมีรัฐบาลใหม่ที่คาดว่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น และสถานการณ์ราคาน้ำมันปรับลดลงจึงอยู่ในระดับทรงตัว ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยมีความมั่นใจ ที่จะใช้รถเพื่อการพาณิชย์อย่างปิกอัพ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญและใหญ่ที่สุดในไทย และหากดูอัตราการครองรถยนต์ของไทย ในต่างจังหวัดจะอยู่ในระดับ 15 คน ต่อรถยนต์ 1 คน และในกรุงเทพฯ 22 คน ต่อรถยนต์ 1 คัน จากปัจจัยเหล่านี้จึงยังมองเห็นโอกาสทางการตลาดและช่องทางการสำหรับการเติบโตของตลาดรถยนต์ในประเทศ
ดังนั้น เพื่อรักษาเป้าหมายที่วางไว้ ในปีนี้โตโยต้าจะยังคงเดินหน้ารักษาฐานลูกค้าผ่านกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ สู่ตลาด โดยเฉพาะรถยนต์ที่ตอบสนองพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด, โตโยต้า อัลติส เครื่องยนต์รองรับก๊าซธรรมชาติ (CNG) ในรุ่นจำหน่ายลูกค้าทั่วไป และเพิ่มเครื่องยนต์ของรุ่นอัลติส รวมถึงการไมเนอร์เชนจ์ โตโยต้า ยาริส
“ปัญหาสำคัญอีกอย่างของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย มาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้ความต้องการในตลาดต่างประเทศลดลง ซึ่งเริ่มเห็นผลชัดเจนจากยอดสั่งซื้อลดลง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา จึงคาดว่า ปีนี้จะส่งผลกระทบอย่างหนัก แต่ยังไม่สามารถประเมินได้จะเป็นอย่างไร เพราะต้องรอดูสถานการณ์เดือนต่อเดือน ทำให้ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์การผลิตปีนี้ได้” นายโซโนดะ กล่าวและว่า
ในส่วนของโตโยต้าปีที่ผ่านมา ตัวเลขการส่งออกกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ตลอดทั้งปียังคงเติบโตอยู่ เพราะเพิ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยสามารถส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวนทั้งสิ้น 313,000 คัน เติบโต 32% มูลค่ากรรส่งออก 13,400 ล้านบาท ส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่ 28,800 คอนเทนเนอร์ มูลค่าการส่งออก 44,000 ล้านบาท
นายโซโนดะ กล่าวว่า ตลาดส่งออกหลักของโตโยต้ามีอยู่ทั้งหมด 3 ตลาด คือ ตลาดอาเซียนส่งออกประมาณ 9 หมื่นคัน-1 แสนคัน ตัวเลขการส่งออกเริ่มลดลงมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ตลาดตะวันออกกลางมีการส่งออกระดับเดียวกัน แต่ยอดสั่งซื้อลดลงชัดเจนเมื่อปลายปี เช่นเดียวกับตลาดออสเตรเลียที่ส่งออกประมาณ 4-5 หมื่นคันต่อปี ซึ่งขณะนี้ยอดการสั่งซื้อยังผันผวนอยู่ จึงยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ชัดเจนในตอนนี้ คงต้องรอดูสถานการณ์สักระยะ แต่จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ลุกลาดทั่วโลก ซึ่งต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา จึงคาดว่าส่งผลกระทบต่อการส่งออกอย่างมากแน่นอน
“ตลาดส่งออกคงต้องลดลงพอสมควร จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่เราคาดหวังว่า การมีรัฐบาลใหม่ที่มีเสถียรภาพ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาเมื่อวานนี้ (13 ม.ค.) จะช่วยผลักดันตลาดรถยนต์ในประเทศให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปัญหาตลาดส่งออกชะลอตัวได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดขึ้นอยู่ที่การมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ และมีความเข้าใจในสถานการณ์เศรษฐกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ”
สำหรับปัญหาการขาดทุนของบริษัทแม่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น (TMC) ไม่ส่งผลต่อการผลิตของรถยนต์ในไทย เพราะเป็นปัญหาของแต่ละตลาดมากกว่า แต่ในส่วนของการลงทุนได้มีการชะลอบางโครงการออกไป อย่างแผนการตั้งโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซลแห่งใหม่ที่ประกาศไปเมื่อปลายปี ก็จะมีการเลื่อนออกไปจนกว่าสถานการณ์ตลาดจะพร้อม ส่วนโครงการอีโคคาร์ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาโปรดักต์ ทุกอย่างยังเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้