ไลอ้อน ชูนโยบายการตลาดอุปโภคบริโภคปีวัวมูลค่าไม่โต เดินเกมโฟกัสสินค้าเพื่อสุขภาพปีที่ 5 รองรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพ ปั้นสินค้าใหม่กว่า 30 ตัว ทะลวงกำลังซื้อหด ชี้เทรนด์ปีหน้า ผู้ประกอบการพาเหรดคลอดสินค้าเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม “กรีนคอนเซปต์”มาแรง ตั้งเป้ารายได้ปีหน้าโต 10% จากรายได้ปีนี้กว่า 8,000 ล้านบาท
นายบุญฤทธิ์ มหามนตรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลอ้อน ประเทศไทย จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในเครือสหพัฒน์ เปิดเผยว่า นโยบายการตลาดในปีหน้านี้ บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาสินค้าเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยจะใช้เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกมาตอบสนองเฮลธ์สไตล์ของผู้บริโภคคนไทย รวมทั้งรองรับกับจำนวนประชากรไทยซึ่งในอนาคตจะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวกำลังเกิดขึ้นในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็น 20% จากจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ
“เราพัฒนาสินค้าเพื่อสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทำให้กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคของเครือสหพัฒน์ ได้รับการยอมรับและขยายตัวในวงกว้างมากขึ้น และผลักดันให้สินค้ามีส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การดำเนินการพัฒนาสินค้าเพื่อสุขภาพของไลอ้อนเป็นทิศทางที่ถูกต้อง”
สำหรับในปีหน้านี้บริษัทจะเปิดตัวสินค้าใหม่มากกว่า 30 ตัว หรือราว 50-100 รายการ เนื่องจากวงจรสินค้าอุปโภคบริโภคสั้นลง จึงต้องการมีสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทจะวางสินค้าลงสู่ตลาดทุกเดือน โดยปีหน้านี้บริษัทวางงบการตลาด 30% ของยอดขาย ผ่านการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการดำเนินกิจกรรม เพื่อตอกย้ำแบรนด์อย่างต่อเนื่อง และจากการดำเนินการตลาดในเชิงรุก ปีหน้านี้บริษัทตั้งเป้ารายได้มีอัตราการเติบโต 10% จากปีนี้บริษัทมีอัตราการเติบโตใกล้ 10% หรือมีรายได้กว่า 8,000ล้านบาท
ทั้งนี้จากสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยในปีหน้านี้ ประธานเครือสหพัฒน์ บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ได้ให้แนวทางการดำเนินธุรกิจว่า ต้องทำธุรกิจอย่างมีคุณธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ส่วนแผนการรับมือรับวิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทมุ่งเน้นการลดต้นทุนอย่างเต็มที่ เพราะหากต้นทุนสูงทำให้ดำเนินธุรกิจลำบาก และต้องทำงานหนักมากขึ้น เมื่อเทียบกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 โดยกังวลว่า ปีหน้านี้การส่งออกจะไม่ขยายตัว ขณะที่ภายในประเทศ ก็เริ่มมีปัญหาการว่างงาน ซึ่งจะนำไปสู่กำลังการซื้อของผู้บริโภคถดถอย
สำหรับแนวโน้มตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคปีหน้านี้ คาดว่ามีอัตราการเติบโตในแง่ปริมาณ 4-5% ส่วนในแง่มูลค่าไม่มีอัตราการเติบโต ทั้งนี้เพราะกำลังการซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้เม็ดเงินเข้าสู่ตลาดไม่มีอัตราการเติบโต ส่วนทิศทางการแข่งขันผู้ประกอบการจะชูความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือกลุ่มสินค้ากรีน คอนเซปต์ ตลอดจนสินค้าเพื่อสุขภาพและอนามัย จะมีการดำเนินการตลาดในเชิงรุกมากขึ้น ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์ ลด แลก แจก แถม เพื่อกระตุ้นยอดขาย
นายบุญฤทธิ์ มหามนตรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลอ้อน ประเทศไทย จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในเครือสหพัฒน์ เปิดเผยว่า นโยบายการตลาดในปีหน้านี้ บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาสินค้าเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยจะใช้เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกมาตอบสนองเฮลธ์สไตล์ของผู้บริโภคคนไทย รวมทั้งรองรับกับจำนวนประชากรไทยซึ่งในอนาคตจะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวกำลังเกิดขึ้นในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็น 20% จากจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ
“เราพัฒนาสินค้าเพื่อสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทำให้กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคของเครือสหพัฒน์ ได้รับการยอมรับและขยายตัวในวงกว้างมากขึ้น และผลักดันให้สินค้ามีส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การดำเนินการพัฒนาสินค้าเพื่อสุขภาพของไลอ้อนเป็นทิศทางที่ถูกต้อง”
สำหรับในปีหน้านี้บริษัทจะเปิดตัวสินค้าใหม่มากกว่า 30 ตัว หรือราว 50-100 รายการ เนื่องจากวงจรสินค้าอุปโภคบริโภคสั้นลง จึงต้องการมีสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทจะวางสินค้าลงสู่ตลาดทุกเดือน โดยปีหน้านี้บริษัทวางงบการตลาด 30% ของยอดขาย ผ่านการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการดำเนินกิจกรรม เพื่อตอกย้ำแบรนด์อย่างต่อเนื่อง และจากการดำเนินการตลาดในเชิงรุก ปีหน้านี้บริษัทตั้งเป้ารายได้มีอัตราการเติบโต 10% จากปีนี้บริษัทมีอัตราการเติบโตใกล้ 10% หรือมีรายได้กว่า 8,000ล้านบาท
ทั้งนี้จากสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยในปีหน้านี้ ประธานเครือสหพัฒน์ บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ได้ให้แนวทางการดำเนินธุรกิจว่า ต้องทำธุรกิจอย่างมีคุณธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ส่วนแผนการรับมือรับวิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทมุ่งเน้นการลดต้นทุนอย่างเต็มที่ เพราะหากต้นทุนสูงทำให้ดำเนินธุรกิจลำบาก และต้องทำงานหนักมากขึ้น เมื่อเทียบกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 โดยกังวลว่า ปีหน้านี้การส่งออกจะไม่ขยายตัว ขณะที่ภายในประเทศ ก็เริ่มมีปัญหาการว่างงาน ซึ่งจะนำไปสู่กำลังการซื้อของผู้บริโภคถดถอย
สำหรับแนวโน้มตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคปีหน้านี้ คาดว่ามีอัตราการเติบโตในแง่ปริมาณ 4-5% ส่วนในแง่มูลค่าไม่มีอัตราการเติบโต ทั้งนี้เพราะกำลังการซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้เม็ดเงินเข้าสู่ตลาดไม่มีอัตราการเติบโต ส่วนทิศทางการแข่งขันผู้ประกอบการจะชูความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือกลุ่มสินค้ากรีน คอนเซปต์ ตลอดจนสินค้าเพื่อสุขภาพและอนามัย จะมีการดำเนินการตลาดในเชิงรุกมากขึ้น ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์ ลด แลก แจก แถม เพื่อกระตุ้นยอดขาย