แบงก์ชาติแจกข่าวดีรับปีใหม่ เผย “ราเกซ สักเสนา” กำลังถูกแคนาดาส่งตัวมารับผิดในไทยเร็วๆ นี้ คาด ประมาณเดือน มี.ค.ปีหน้า หลังคดียืดเยื้อกว่า 10 ปี ระบุแม้คดีแรกจะหมดอายุความในเดือน ก.พ.แต่ยังเหลือคดีอื่นที่มีอายุความสามารถเอาผิดได้ถึงปี 53
นายวีระชาติ ศรีบุญมา ผู้อำนวยการ สำนักคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน มี.ค.ของปี 2552 นี้ คาดว่า จะมีการส่งตัว นายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการ หรือ บีบีซี มาดำเนินคดีทุจริตและยักยอกทรัพย์บีบีซีในประเทศไทยได้ หลังจากศาลประเทศแคนาดา และ รมว.ยุติธรรม ได้ตัดสินให้ส่งตัว นายราเกซ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีตามที่อัยการร้องขอไปแล้ว จึงเหลือเพียงการรอการลงนามของ รมว.ยุติธรรม ให้ส่งตัวเข้ามาดำเนินคดีในไทยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ในคดีแรกจะไม่สามารถเอาผิดนายราเกซได้ เพราะอายุความจะหมดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2552 แต่ยังเหลือคดีอื่นๆ ซึ่งโดยรวมจะหมดในปี 2553 ถือเป็นความพยายามของหลายหน่วยงานที่พยายามจะนำตัวบุคคลที่ทำผิดจนส่งผลให้ภาคการเงินเสียหายแล้วหลบหนีมาดำเนินคดีได้ แม้จะใช้ระยะเวลานานนับ 10 ปีก็ตาม
โดยก่อนหน้านี้ ศาลฎีกาประเทศแคนาดา มีคำพิพากษาให้ส่งตัว นายราเกซ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาให้ทางการไทย แต่ นายราเกซ ยังได้ยื่นเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแคนาดาให้พิจารณาทบทวนอีกครั้ง โดยอ้างว่าหากถูกส่งตัวกลับมาอาจไม่ได้รับความปลอดภัย เนื่องจากประเทศไทยอาจจะเกิดความไม่สงบเรียบร้อย แต่อัยการพยายามติดตามตัว นายราเกซ กลับมาให้ได้ก่อนคดีหมดอายุความ
เมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าทีมติดตามตัว นายราเกซ ยอมรับว่า ได้รับรายงานคำสั่งของศาลแคนาดาในการส่งตัวกลับประเทศไทยแล้ว แต่กำลังรอเอกสารอย่างเป็นทางการจากแคนาดา หลังจากนั้นก็จะมีการเปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการถึงขั้นตอนหลังจากนี้ว่าจะต้องทำอย่างไร
สำหรับขั้นตอนหลังจากแคนาดาส่งตัวมา อัยการก็จะต้องทำการยื่นฟ้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในฐานะจำเลยความผิดกรณีอนุมัติการปล่อยสินเชื่อของธนาคารบีบีซีโดยมิชอบและมีเจตนาทุจริต เพื่อให้มีการพิจารณาคดีกันใหม่ โดยจะมีการสืบพยานตามขั้นตอน ส่วนจะให้ประกันตัวหรือไม่เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณา
นายราเกซ สักเสนา เป็นนักการเงินชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามายังไทย โดยเป็นที่ปรึกษาในหลายบริษัท เนื่องจากมีความชำนาญด้านทางการเงินและการลงทุน และได้เป็นอดีตที่ปรึกษาให้แก่นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บีบีซี ในปี 2535
การชักนำของ นายเกริกเกียรติ นี่เองถือเป็นจุดเริ่มต้นความหายนะของบีบีซี นายเกริกเกียรติเปิดออฟฟิศให้นายราเกซบนชั้น 8 ของสำนักงานใหญ่บีบีซี หลังจากนั้น โครงสร้างธุรกิจของบีบีซีเริ่มเปลี่ยนจากหากินจากส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้เงินฝากไปสู่สายงานวาณิชธนกิจ บริหารเงิน ฝ่ายต่างประเทศ
การเข้ามาของ นายราเกซ สร้างผลกำไรให้ธนาคารในรูปแบบผลตอบแทนที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย เป็นจำนวนมหาศาล แต่นั่นเป็นเพียงภาพลวงตา เพราะมีการถ่ายโอนเงินเข้ากระเป๋าส่วนตัว รวมทั้งนักการเมืองโดยเฉพาะกลุ่ม 16 และโยงใยไปถึงการปั่นราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อีกด้วย
กระทั่งปี 2538 บีบีซี ได้ล้มละลาย และพบว่า นายราเกซ ได้ยักยอกทรัพย์เป็นเงินจำนวน 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อปี 2539 และถูกออกหมายจับในเวลาต่อมา แต่ยังไม่สามารถนำตัวมาลงโทษได้ ส่วน นายเกริกเกียรติ บางคดีได้ถูกศาลพิพากษาในคดียักยอกทรัพย์ และเบียดบังทรัพย์ โดยตีราคาประเมินหลักประกันสูงเกินกว่าความเป็นจริง โดยไม่ผ่านการกลั่นกรอง และตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ของธนาคาร และเป็นการอนุมัติสินเชื่อโดยไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการบริหารบีบีซีพิจารณากลั่นกรอง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง ธปท.ด้วย ทำให้ศาลตัดสินลงโทษจำคุกเป็นเวลา 20 ปี และให้ชดใช้เงินแก่ธนาคารเป็นจำนวนกว่า 5 พันล้านบาท เป็นต้น
นายวีระชาติ ศรีบุญมา ผู้อำนวยการ สำนักคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน มี.ค.ของปี 2552 นี้ คาดว่า จะมีการส่งตัว นายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการ หรือ บีบีซี มาดำเนินคดีทุจริตและยักยอกทรัพย์บีบีซีในประเทศไทยได้ หลังจากศาลประเทศแคนาดา และ รมว.ยุติธรรม ได้ตัดสินให้ส่งตัว นายราเกซ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีตามที่อัยการร้องขอไปแล้ว จึงเหลือเพียงการรอการลงนามของ รมว.ยุติธรรม ให้ส่งตัวเข้ามาดำเนินคดีในไทยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ในคดีแรกจะไม่สามารถเอาผิดนายราเกซได้ เพราะอายุความจะหมดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2552 แต่ยังเหลือคดีอื่นๆ ซึ่งโดยรวมจะหมดในปี 2553 ถือเป็นความพยายามของหลายหน่วยงานที่พยายามจะนำตัวบุคคลที่ทำผิดจนส่งผลให้ภาคการเงินเสียหายแล้วหลบหนีมาดำเนินคดีได้ แม้จะใช้ระยะเวลานานนับ 10 ปีก็ตาม
โดยก่อนหน้านี้ ศาลฎีกาประเทศแคนาดา มีคำพิพากษาให้ส่งตัว นายราเกซ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาให้ทางการไทย แต่ นายราเกซ ยังได้ยื่นเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแคนาดาให้พิจารณาทบทวนอีกครั้ง โดยอ้างว่าหากถูกส่งตัวกลับมาอาจไม่ได้รับความปลอดภัย เนื่องจากประเทศไทยอาจจะเกิดความไม่สงบเรียบร้อย แต่อัยการพยายามติดตามตัว นายราเกซ กลับมาให้ได้ก่อนคดีหมดอายุความ
เมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าทีมติดตามตัว นายราเกซ ยอมรับว่า ได้รับรายงานคำสั่งของศาลแคนาดาในการส่งตัวกลับประเทศไทยแล้ว แต่กำลังรอเอกสารอย่างเป็นทางการจากแคนาดา หลังจากนั้นก็จะมีการเปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการถึงขั้นตอนหลังจากนี้ว่าจะต้องทำอย่างไร
สำหรับขั้นตอนหลังจากแคนาดาส่งตัวมา อัยการก็จะต้องทำการยื่นฟ้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในฐานะจำเลยความผิดกรณีอนุมัติการปล่อยสินเชื่อของธนาคารบีบีซีโดยมิชอบและมีเจตนาทุจริต เพื่อให้มีการพิจารณาคดีกันใหม่ โดยจะมีการสืบพยานตามขั้นตอน ส่วนจะให้ประกันตัวหรือไม่เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณา
นายราเกซ สักเสนา เป็นนักการเงินชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามายังไทย โดยเป็นที่ปรึกษาในหลายบริษัท เนื่องจากมีความชำนาญด้านทางการเงินและการลงทุน และได้เป็นอดีตที่ปรึกษาให้แก่นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บีบีซี ในปี 2535
การชักนำของ นายเกริกเกียรติ นี่เองถือเป็นจุดเริ่มต้นความหายนะของบีบีซี นายเกริกเกียรติเปิดออฟฟิศให้นายราเกซบนชั้น 8 ของสำนักงานใหญ่บีบีซี หลังจากนั้น โครงสร้างธุรกิจของบีบีซีเริ่มเปลี่ยนจากหากินจากส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้เงินฝากไปสู่สายงานวาณิชธนกิจ บริหารเงิน ฝ่ายต่างประเทศ
การเข้ามาของ นายราเกซ สร้างผลกำไรให้ธนาคารในรูปแบบผลตอบแทนที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย เป็นจำนวนมหาศาล แต่นั่นเป็นเพียงภาพลวงตา เพราะมีการถ่ายโอนเงินเข้ากระเป๋าส่วนตัว รวมทั้งนักการเมืองโดยเฉพาะกลุ่ม 16 และโยงใยไปถึงการปั่นราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อีกด้วย
กระทั่งปี 2538 บีบีซี ได้ล้มละลาย และพบว่า นายราเกซ ได้ยักยอกทรัพย์เป็นเงินจำนวน 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อปี 2539 และถูกออกหมายจับในเวลาต่อมา แต่ยังไม่สามารถนำตัวมาลงโทษได้ ส่วน นายเกริกเกียรติ บางคดีได้ถูกศาลพิพากษาในคดียักยอกทรัพย์ และเบียดบังทรัพย์ โดยตีราคาประเมินหลักประกันสูงเกินกว่าความเป็นจริง โดยไม่ผ่านการกลั่นกรอง และตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ของธนาคาร และเป็นการอนุมัติสินเชื่อโดยไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการบริหารบีบีซีพิจารณากลั่นกรอง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง ธปท.ด้วย ทำให้ศาลตัดสินลงโทษจำคุกเป็นเวลา 20 ปี และให้ชดใช้เงินแก่ธนาคารเป็นจำนวนกว่า 5 พันล้านบาท เป็นต้น