อุตสาหกรรมโฆษณาหวั่นซ้ำรอยวิกฤตต้มยำกุ้ง ปีหน้ามีแนวโน้มขาลง ติดลบในทิศทางเดียวกัน ภาวนาให้อยู่ในตัวเลข 1 หลัก “มายด์แชร์” ฟันธง 4 กลุ่มธุรกิจหลักยังพร้อมใช้เงินลุยโฆษณา มองสื่อเอาต์ ออฟ โฮม ปีหน้าตกกระแส นิวมีเดียโตพรวด 2 หลัก
นางสเตฟานี่ เบลล์ ประธานกรรมการบริหาร มายด์แชร์ ภูมิภาค อินโดจีน และ ฟิลิปปินส์ ดำเนินธุรกิจการวางแผนการใช้สื่อให้ธุรกิจต่างๆ เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค.พบว่า มีมูลค่าที่ 74,138 ล้านบาท เติบโตติดลบที่ 1.4% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากสภาพเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นหลัก รวมถึงการเมืองอีกส่วนหนึ่ง
ทั้งที่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ถือว่ามีการเติบโตที่น่าพอใจ เพราะเริ่มต้นได้ดีทั้งในแง่ของภาครัฐที่ได้รัฐบาลชุดใหม่ รวมถึงอีเว้นต์โอลิมปิกที่เข้ามาช่วยกระตุ้นตลาดได้อีกส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามในอีก 2 เดือนที่เหลือ คาดว่า อุตสาหกรรมโฆษณายังโตติดลบอยู่ประมาณ 2-3% ในแต่ละเดือน หรือทั้งปีคาดว่าจะมีอัตราเติบโตติดลบที่ 1-2%
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อย้อนกลับไปดูสถานการณ์ที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2541 จะพบว่า ก่อนเกิดเหตุต้มยำกุ้งในปี 2540 ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาโตติดลบถึง 3% หรือมีมูลค่าที่ 46,782 ล้านบาท พอมาในปี 2541 ที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ส่งผลให้อุตสาหกรรมโฆษณาโตติดลบลงถึง 23% หรืออุตสาหกรรมโฆษณาตกลงมาที่ 35,917 ล้านบาท
ดังนั้น กับสถานการณ์วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่ไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรงในปี 2552 นี้ จึงมองว่า อุตสาหกรรมโฆษณาจะมีทิศทางไปติดลบเช่นเดียวกับปี 2541 แต่ทั้งนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่น่าจะร้ายแรงเท่า หรืออย่างมาก คาดว่า จะมีการเติบโตลดลงเพียงตัวเลข 1 หลักเท่านั้น หรือยังมีมูลค่ารวมที่ 91,000 ล้านบาท เนื่องปัจจัยหลายๆด้านไม่ได้รุนแรงเท่า
ทั้งนี้ ในปี 2552 สำหรับเทรนด์การใช้สื่อโฆษณา ในแง่ของงบประมาณนั้น มองว่า ลูกค้าจะใช้เป็นงบเดียวกัน ทั้ง อะโบฟ เดอะ ไลน์ และ บีโลว์ เดอะ ไลน์ ในแบบวางแผนการใช้สื่อแบบระยะสั้น เน้นใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น วัดผลได้ ไม่ว่าจะเป็นสื่อหลักอย่างสื่อโทรทัศน์ ในปีหน้ามองว่าลูกค้ายังมีความต้องการที่สูงอยู่ โดยเฉพาะช่วงเวลาไพร์ทไทม์ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ โอกาสของหนังสือพิมพ์หัวใหญ่ ลูกค้ายังพร้อมใช้เงินอยู่
รวมไปถึงสื่อรอง ที่มองว่า ยังมีความต้องการในการใช้เพื่อให้เข้ากับตัวสินค้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อนิวมีเดีย อย่างอินเทอร์เน็ต เนื่องจากพบว่าในปีหน้า เทรนด์ผู้บริโภคจะมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น หรือทำงานมากยิ่งขึ้น การใช้เวลากับโทรทัศน์ หรืออินเทอร์เน็ตจะมากขึ้น บวกกับฟังก์ชันการทำงานของโทรศัพท์มือถือจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้สื่อนิวมีเดียในปีหน้าจะมีการเติบโตที่สูง หรือมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักแน่นอน
ขณะเดียวกัน สื่อเคเบิลทีวี ยังเป็นอีกสื่อทางเลือกหนึ่งที่คาดว่าลูกค้าจะให้สนใจเข้ามาใช้มากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของการลงสปอตโฆษณา การทำเป็นสปอนเซฮร์รายการร่วม หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยตัวเลขเฉพาะสปอตโฆษณาในสื่อนี้ คาดว่าจะมีประมาณ 1-2% ของภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณามูลค่า 91,000 ล้านบาทในปีหน้า
อย่างไรก็ตาม มองว่า สื่อเอาต์ ออฟ โฮม หรือป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ จะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่ จะเป็น ด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจากแนวโน้มมีการเติบโตลดลง รวมไปถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ปีหน้าจะชะลอตัวลง แต่ในกลุ่มสื่อเอาต์ ออฟ โฮม ประเภทอินสโตร์ มีเดีย กลับมีแนวโน้มเติบโตขึ้นแทน เพราะมองว่าในปีหน้ากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคจะมีการแข่งขันสูง การโฆษณา ณ จุดขาย จะเป็นอีกสื่อหนึ่งที่จะมีการแข่งขันที่รุนแรง
สำหรับกลุ่มธุรกิจในปีหน้าที่ยังมองว่า พร้อมที่จะลงเม็ดเงินโฆษณาอยู่นั้น คาดว่า จะมีอยู่ 4 กลุ่มหลัก คือ 1.สินค้าอุปโภคบริโภค เพราะผู้บริโภคยังพร้อมจ่ายกับสินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน 2.กลุ่มรีเทล เชื่อว่า ห้างสรรพสินค้าจะใช้กลยุทธ์ ลด แลก แจก แถม มากขึ้น เพื่อดึงลูกค้า การโฆษณาก็จะใช้มากขึ้นด้วย 3.สถาบันการเงิน เนื่อจากเศรษฐกิจไม่ดีกลุ่มสถาบันการเงินก็จะมีการโฆษณาเพื่อดึงลูกค้าให้เข้ามากู้เงิน และ 4.กลุ่มอาหาร จะมีการแข่งขันในการเรียกลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้น
นางสเตฟานี่ กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมของมายด์แชร์ ในปีหน้าได้เตรียมแผนปรับโครงสร้างธุรกิจรับการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพเศรษฐกิจและความต้องการของลูกค้าไว้เรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าจะส่งผลให้ปีหน้าจะมีรายได้ตามที่วางไว้ หรือมีการเติบโตที่ 9% ขณะที่ปีนี้วางเป้าการเติบโตที่ 10% แต่สามารถทำได้เกินเป้าที่ 11%
นางสเตฟานี่ เบลล์ ประธานกรรมการบริหาร มายด์แชร์ ภูมิภาค อินโดจีน และ ฟิลิปปินส์ ดำเนินธุรกิจการวางแผนการใช้สื่อให้ธุรกิจต่างๆ เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค.พบว่า มีมูลค่าที่ 74,138 ล้านบาท เติบโตติดลบที่ 1.4% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากสภาพเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นหลัก รวมถึงการเมืองอีกส่วนหนึ่ง
ทั้งที่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ถือว่ามีการเติบโตที่น่าพอใจ เพราะเริ่มต้นได้ดีทั้งในแง่ของภาครัฐที่ได้รัฐบาลชุดใหม่ รวมถึงอีเว้นต์โอลิมปิกที่เข้ามาช่วยกระตุ้นตลาดได้อีกส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามในอีก 2 เดือนที่เหลือ คาดว่า อุตสาหกรรมโฆษณายังโตติดลบอยู่ประมาณ 2-3% ในแต่ละเดือน หรือทั้งปีคาดว่าจะมีอัตราเติบโตติดลบที่ 1-2%
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อย้อนกลับไปดูสถานการณ์ที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2541 จะพบว่า ก่อนเกิดเหตุต้มยำกุ้งในปี 2540 ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาโตติดลบถึง 3% หรือมีมูลค่าที่ 46,782 ล้านบาท พอมาในปี 2541 ที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ส่งผลให้อุตสาหกรรมโฆษณาโตติดลบลงถึง 23% หรืออุตสาหกรรมโฆษณาตกลงมาที่ 35,917 ล้านบาท
ดังนั้น กับสถานการณ์วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่ไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรงในปี 2552 นี้ จึงมองว่า อุตสาหกรรมโฆษณาจะมีทิศทางไปติดลบเช่นเดียวกับปี 2541 แต่ทั้งนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่น่าจะร้ายแรงเท่า หรืออย่างมาก คาดว่า จะมีการเติบโตลดลงเพียงตัวเลข 1 หลักเท่านั้น หรือยังมีมูลค่ารวมที่ 91,000 ล้านบาท เนื่องปัจจัยหลายๆด้านไม่ได้รุนแรงเท่า
ทั้งนี้ ในปี 2552 สำหรับเทรนด์การใช้สื่อโฆษณา ในแง่ของงบประมาณนั้น มองว่า ลูกค้าจะใช้เป็นงบเดียวกัน ทั้ง อะโบฟ เดอะ ไลน์ และ บีโลว์ เดอะ ไลน์ ในแบบวางแผนการใช้สื่อแบบระยะสั้น เน้นใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น วัดผลได้ ไม่ว่าจะเป็นสื่อหลักอย่างสื่อโทรทัศน์ ในปีหน้ามองว่าลูกค้ายังมีความต้องการที่สูงอยู่ โดยเฉพาะช่วงเวลาไพร์ทไทม์ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ โอกาสของหนังสือพิมพ์หัวใหญ่ ลูกค้ายังพร้อมใช้เงินอยู่
รวมไปถึงสื่อรอง ที่มองว่า ยังมีความต้องการในการใช้เพื่อให้เข้ากับตัวสินค้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อนิวมีเดีย อย่างอินเทอร์เน็ต เนื่องจากพบว่าในปีหน้า เทรนด์ผู้บริโภคจะมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น หรือทำงานมากยิ่งขึ้น การใช้เวลากับโทรทัศน์ หรืออินเทอร์เน็ตจะมากขึ้น บวกกับฟังก์ชันการทำงานของโทรศัพท์มือถือจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้สื่อนิวมีเดียในปีหน้าจะมีการเติบโตที่สูง หรือมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักแน่นอน
ขณะเดียวกัน สื่อเคเบิลทีวี ยังเป็นอีกสื่อทางเลือกหนึ่งที่คาดว่าลูกค้าจะให้สนใจเข้ามาใช้มากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของการลงสปอตโฆษณา การทำเป็นสปอนเซฮร์รายการร่วม หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยตัวเลขเฉพาะสปอตโฆษณาในสื่อนี้ คาดว่าจะมีประมาณ 1-2% ของภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณามูลค่า 91,000 ล้านบาทในปีหน้า
อย่างไรก็ตาม มองว่า สื่อเอาต์ ออฟ โฮม หรือป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ จะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่ จะเป็น ด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจากแนวโน้มมีการเติบโตลดลง รวมไปถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ปีหน้าจะชะลอตัวลง แต่ในกลุ่มสื่อเอาต์ ออฟ โฮม ประเภทอินสโตร์ มีเดีย กลับมีแนวโน้มเติบโตขึ้นแทน เพราะมองว่าในปีหน้ากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคจะมีการแข่งขันสูง การโฆษณา ณ จุดขาย จะเป็นอีกสื่อหนึ่งที่จะมีการแข่งขันที่รุนแรง
สำหรับกลุ่มธุรกิจในปีหน้าที่ยังมองว่า พร้อมที่จะลงเม็ดเงินโฆษณาอยู่นั้น คาดว่า จะมีอยู่ 4 กลุ่มหลัก คือ 1.สินค้าอุปโภคบริโภค เพราะผู้บริโภคยังพร้อมจ่ายกับสินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน 2.กลุ่มรีเทล เชื่อว่า ห้างสรรพสินค้าจะใช้กลยุทธ์ ลด แลก แจก แถม มากขึ้น เพื่อดึงลูกค้า การโฆษณาก็จะใช้มากขึ้นด้วย 3.สถาบันการเงิน เนื่อจากเศรษฐกิจไม่ดีกลุ่มสถาบันการเงินก็จะมีการโฆษณาเพื่อดึงลูกค้าให้เข้ามากู้เงิน และ 4.กลุ่มอาหาร จะมีการแข่งขันในการเรียกลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้น
นางสเตฟานี่ กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมของมายด์แชร์ ในปีหน้าได้เตรียมแผนปรับโครงสร้างธุรกิจรับการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพเศรษฐกิจและความต้องการของลูกค้าไว้เรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าจะส่งผลให้ปีหน้าจะมีรายได้ตามที่วางไว้ หรือมีการเติบโตที่ 9% ขณะที่ปีนี้วางเป้าการเติบโตที่ 10% แต่สามารถทำได้เกินเป้าที่ 11%