ธุรกิจหนังสือ ดิ้นหาทางรอด หลังเศรษฐกิจทรุด พบผู้บริโภคเจียดเงินซื้อหนังสือลดลง มุ่งขุดทองต่างประเทศ ฉีกตลาดหนังสือแปลสู่สายตาชาวโลก ส.ผู้จัดพิมพ์ฯ ร่วมกรุยทาง ร่วมงาน “Taipei International Book Exhibition 2009” หวังขยายการส่งออกหนังสือแปลสู่สากล
นางริสรวล อร่ามเจริญ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (ส.พ.จ.ท.) เปิดเผยว่า จากความวุ่นวายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เชื่อว่า ในหลายๆ ธุรกิจต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า สำหรับธุรกิจสำนักพิมพ์เอง ยอมรับว่า ต่างก็ได้รับผลกระทบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับ โดยเฉพาะในเรื่องของการบริโภคหนังสือ เชื่อมั่นว่า ผู้อ่านจะมีการใช้จ่ายในการซื้อหนังสือลดลง จากเดิมอาจจะ 5 เล่มต่อเดือน อาจจะลดเหลือ 3 เล่มแทน
ส่วนตัวสำนักพิมพ์เอง พบว่า ต่างก็มีการวางแผนการดำเนินธุรกิจไว้ล่วงหน้าบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการคัดสรรหนังสือที่คาดว่าจะทำยอดขายได้ดีจริงๆ เพื่อลงพิมพ์ รวมถึงมีการจัดการและเตรียมแผนรับมือในปีหน้าไว้เป็นอย่างดีแล้ว
ล่าสุด มองว่า ตลาดหนังสือแปล ถือเป็นช่องทางการสร้างรายได้ที่น่าสนใจ เพราะในความเป็นจริงพบว่าตลาดนี้มีอัตราการเติบโตเป็นเท่าตัวทุกปี ขณะที่มูลค่าอาจจะยังไม่สูงมากนัก ไม่ถึง 5% ของมูลค่าตลาดหนังสือ 10,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่การเติบโตจะเกิดจากสำนักพิมพ์เหล่านี้มีการซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือให้กับตลาดต่างประเทศกันเอง จึงยังไม่มีใครสามารถเก็บข้อมูลได้ว่าตลาดหนังสือแปลแบบนี้มีมูลค่าประมาณเท่าไรแน่
ส่วนกลุ่มหนังสือที่ตลาดต่างประเทศให้ความสนใจ ได้แก่ ตำราการปรุงอาหาร ท่องเที่ยว เดินทาง รวมไปถึงวรรณกรรมสำหรับเด็ก
อย่างไรก็ตาม จากที่เห็นโอกาสทางธุรกิจ ในนามสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ได้รับเชิญเป็น Guest of Honor เข้าร่วมงาน Taipei International Book Exhibition 2009 พร้อมแนะนำหนังสือไทยกว่า 1,000 เรื่อง ภายในงาน รวมถึง นำร่องผลงาน 2 นักเขียนชื่อดัง “ชาติ กอบจิตติ-ท่าน ว.วชิรเมธี” จัดพิมพ์เป็นภาษาจีน ออกวางจำหน่ายด้วย เชื่อว่า จะเป็นก้าวแรกที่จะทำให้ตลาดหนังสือแปลเติบโตไปได้มากยิ่งขึ้น
นางริสรวล อร่ามเจริญ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (ส.พ.จ.ท.) เปิดเผยว่า จากความวุ่นวายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เชื่อว่า ในหลายๆ ธุรกิจต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า สำหรับธุรกิจสำนักพิมพ์เอง ยอมรับว่า ต่างก็ได้รับผลกระทบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับ โดยเฉพาะในเรื่องของการบริโภคหนังสือ เชื่อมั่นว่า ผู้อ่านจะมีการใช้จ่ายในการซื้อหนังสือลดลง จากเดิมอาจจะ 5 เล่มต่อเดือน อาจจะลดเหลือ 3 เล่มแทน
ส่วนตัวสำนักพิมพ์เอง พบว่า ต่างก็มีการวางแผนการดำเนินธุรกิจไว้ล่วงหน้าบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการคัดสรรหนังสือที่คาดว่าจะทำยอดขายได้ดีจริงๆ เพื่อลงพิมพ์ รวมถึงมีการจัดการและเตรียมแผนรับมือในปีหน้าไว้เป็นอย่างดีแล้ว
ล่าสุด มองว่า ตลาดหนังสือแปล ถือเป็นช่องทางการสร้างรายได้ที่น่าสนใจ เพราะในความเป็นจริงพบว่าตลาดนี้มีอัตราการเติบโตเป็นเท่าตัวทุกปี ขณะที่มูลค่าอาจจะยังไม่สูงมากนัก ไม่ถึง 5% ของมูลค่าตลาดหนังสือ 10,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่การเติบโตจะเกิดจากสำนักพิมพ์เหล่านี้มีการซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือให้กับตลาดต่างประเทศกันเอง จึงยังไม่มีใครสามารถเก็บข้อมูลได้ว่าตลาดหนังสือแปลแบบนี้มีมูลค่าประมาณเท่าไรแน่
ส่วนกลุ่มหนังสือที่ตลาดต่างประเทศให้ความสนใจ ได้แก่ ตำราการปรุงอาหาร ท่องเที่ยว เดินทาง รวมไปถึงวรรณกรรมสำหรับเด็ก
อย่างไรก็ตาม จากที่เห็นโอกาสทางธุรกิจ ในนามสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ได้รับเชิญเป็น Guest of Honor เข้าร่วมงาน Taipei International Book Exhibition 2009 พร้อมแนะนำหนังสือไทยกว่า 1,000 เรื่อง ภายในงาน รวมถึง นำร่องผลงาน 2 นักเขียนชื่อดัง “ชาติ กอบจิตติ-ท่าน ว.วชิรเมธี” จัดพิมพ์เป็นภาษาจีน ออกวางจำหน่ายด้วย เชื่อว่า จะเป็นก้าวแรกที่จะทำให้ตลาดหนังสือแปลเติบโตไปได้มากยิ่งขึ้น