“พาณิชย์”ดิ้นสู้ต่อหลังถูกครม.เบรกแล้วเบรกอีก เตรียมเสนอ“ไชยา” คลอดกฎกระทรวง 3 ฉบับ อาศัยกฎหมายที่มีอยู่ทั้งกฎหมายสินค้าและบริการ คลังสินค้า และทะเบียนพาณิชย์ มั่นใจคุมธุรกิจค้าปลีก ค้าส่งได้อยู่หมัด
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ กำลังปรับปรุงแก้ไขร่างกฎกระทรวง 3 ฉบับภายใต้กฎหมายที่กระทรวงพาณิชย์ดูแลอยู่ เพื่อใช้ในการดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง หลังจากที่นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งให้กรมฯ ไปจัดหามาตรการมาช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย (โชห่วย) ในช่วงที่ยังไม่มี พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง มาบังคับใช้
ทั้งนี้ การออกกฎกระทรวง 3 ฉบับ จะออกภายใต้พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่จะกำหนดให้ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเป็นบริการควบคุม ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องแจ้งแผนการขยายสาขาล่วงหน้า การดูแลบัญชี และแผนการจำหน่ายและการกำหนดราคาสินค้าต่อกรมการค้าภายใน
การออกกฎกระทรวงภายใต้ พ.ร.บ.คลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น พ.ศ... เพื่อดูแลคลังสินค้าของธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง จากเดิมกฎหมายนี้จะดูแลเฉพาะคลังสินค้าที่ให้บริการโดยภาคเอกชนเท่านั้น เนื่องจากธุรกิจประเภทนี้มีความจำเป็นต้องสร้างคลัง ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าจำนวนมาก
และการกฎกระทรวงภายใต้ พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 เพื่อกำหนดให้ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยจะกำหนดให้รายใหญ่ต้องขึ้นทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเหมือนกับรายเล็ก จากเดิมที่เคยยกเว้นให้กับธุรกิจรายใหญ่ประเภทธุรกิจมหาชนไม่ต้องจด เพื่อให้เกิดความสมดุลในการประกอบการทั้งรายใหญ่และรายเล็ก
“กฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ ได้เสนอให้นายไชยาพิจารณาแล้ว ซึ่งนายไชยาเห็นด้วย แต่ยังอยากให้มีรายละเอียดและมาตรการที่ชัดเจนนี้กว่านี้ ซึ่งจะกลับไปปรับปรุงแก้ไข และนำมาเสนออีกครั้ง โดยคาดว่าจะสรุปและนำกลับไปเสนอให้นายไชยาเพื่อลงนามเร็วๆ นี้ และจะมีผลบังคับใช้ทันที ไม่ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)” นายยรรยง กล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า การออกกฎกระทรวง 3 แนวทางดังกล่าว เชื่อว่าจะสามารถดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่งได้ ในช่วงที่ยังไม่มีกฎหมายค้าปลีกค้าส่งบังคับใช้ โดยลักษณะการดูแล จะจัดให้เป็นบริการควบคุม เหมือนกับที่ใช้ในธุรกิจคาราโอเกะ ซึ่งผู้ประกอบการต้องแจ้งแผนขยายสาขา การดูแลบัญชี และแผนจำหน่าย เพื่อดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่งของไทยและต่างชาติได้อย่างเท่าเทียมกัน
“การออกกฎกระทรวงภายใต้กฎหมายทั้ง 3 ฉบับของกระทรวงพาณิชย์ จะไม่เป็นการจำกัดการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะกฎกระทรวงทั้งหมดนี้จะมุ่งเน้นการสร้างการแข่งขันที่ยุติธรรมทั้งผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ” นายยรรยง กล่าว
ในยุคที่นายไชยาเป็นรมว.พาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอร่างกฎหมายค้าปลีกให้ครม. พิจารณามาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่ไม่สามารถผ่านการพิจารณาได้ โดยครั้งแรก นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี ได้ขอให้ถอนออกก่อน โดยให้เหตุผลว่าครม.หลายคนยังไม่เคยพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ขอให้ครม.มีการพิจารณาก่อน
ส่วนการตีกลับครั้งที่ 2 ได้ให้เหตุผลว่า เนื้อหาของกฎหมายยังไม่รัดกุมขาดความชัดเจนในการปฎิบัติ และไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังไม่ได้มีการแก้ไขเนื้อหาที่เอื้อประโยชน์ให้กับซัพพลายเออร์ โดยโชห่วยไม่ได้ประโยชน์จาก กม.นี้เท่าที่ควร จึงให้ทางกระทรวงพาณิชย์ นำกลับไปแก้ไข และการยื่นครั้ง ที่ 3 ทำให้ที่ประชุม ครม.มีมติส่งเรื่องกลับอีกครั้ง นับเป็นเป็นเรื่องที่สะท้อนความบกกพร่องของการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ กำลังปรับปรุงแก้ไขร่างกฎกระทรวง 3 ฉบับภายใต้กฎหมายที่กระทรวงพาณิชย์ดูแลอยู่ เพื่อใช้ในการดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง หลังจากที่นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งให้กรมฯ ไปจัดหามาตรการมาช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย (โชห่วย) ในช่วงที่ยังไม่มี พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง มาบังคับใช้
ทั้งนี้ การออกกฎกระทรวง 3 ฉบับ จะออกภายใต้พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่จะกำหนดให้ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเป็นบริการควบคุม ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องแจ้งแผนการขยายสาขาล่วงหน้า การดูแลบัญชี และแผนการจำหน่ายและการกำหนดราคาสินค้าต่อกรมการค้าภายใน
การออกกฎกระทรวงภายใต้ พ.ร.บ.คลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น พ.ศ... เพื่อดูแลคลังสินค้าของธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง จากเดิมกฎหมายนี้จะดูแลเฉพาะคลังสินค้าที่ให้บริการโดยภาคเอกชนเท่านั้น เนื่องจากธุรกิจประเภทนี้มีความจำเป็นต้องสร้างคลัง ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าจำนวนมาก
และการกฎกระทรวงภายใต้ พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 เพื่อกำหนดให้ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยจะกำหนดให้รายใหญ่ต้องขึ้นทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเหมือนกับรายเล็ก จากเดิมที่เคยยกเว้นให้กับธุรกิจรายใหญ่ประเภทธุรกิจมหาชนไม่ต้องจด เพื่อให้เกิดความสมดุลในการประกอบการทั้งรายใหญ่และรายเล็ก
“กฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ ได้เสนอให้นายไชยาพิจารณาแล้ว ซึ่งนายไชยาเห็นด้วย แต่ยังอยากให้มีรายละเอียดและมาตรการที่ชัดเจนนี้กว่านี้ ซึ่งจะกลับไปปรับปรุงแก้ไข และนำมาเสนออีกครั้ง โดยคาดว่าจะสรุปและนำกลับไปเสนอให้นายไชยาเพื่อลงนามเร็วๆ นี้ และจะมีผลบังคับใช้ทันที ไม่ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)” นายยรรยง กล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า การออกกฎกระทรวง 3 แนวทางดังกล่าว เชื่อว่าจะสามารถดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่งได้ ในช่วงที่ยังไม่มีกฎหมายค้าปลีกค้าส่งบังคับใช้ โดยลักษณะการดูแล จะจัดให้เป็นบริการควบคุม เหมือนกับที่ใช้ในธุรกิจคาราโอเกะ ซึ่งผู้ประกอบการต้องแจ้งแผนขยายสาขา การดูแลบัญชี และแผนจำหน่าย เพื่อดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่งของไทยและต่างชาติได้อย่างเท่าเทียมกัน
“การออกกฎกระทรวงภายใต้กฎหมายทั้ง 3 ฉบับของกระทรวงพาณิชย์ จะไม่เป็นการจำกัดการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะกฎกระทรวงทั้งหมดนี้จะมุ่งเน้นการสร้างการแข่งขันที่ยุติธรรมทั้งผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ” นายยรรยง กล่าว
ในยุคที่นายไชยาเป็นรมว.พาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอร่างกฎหมายค้าปลีกให้ครม. พิจารณามาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่ไม่สามารถผ่านการพิจารณาได้ โดยครั้งแรก นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี ได้ขอให้ถอนออกก่อน โดยให้เหตุผลว่าครม.หลายคนยังไม่เคยพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ขอให้ครม.มีการพิจารณาก่อน
ส่วนการตีกลับครั้งที่ 2 ได้ให้เหตุผลว่า เนื้อหาของกฎหมายยังไม่รัดกุมขาดความชัดเจนในการปฎิบัติ และไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังไม่ได้มีการแก้ไขเนื้อหาที่เอื้อประโยชน์ให้กับซัพพลายเออร์ โดยโชห่วยไม่ได้ประโยชน์จาก กม.นี้เท่าที่ควร จึงให้ทางกระทรวงพาณิชย์ นำกลับไปแก้ไข และการยื่นครั้ง ที่ 3 ทำให้ที่ประชุม ครม.มีมติส่งเรื่องกลับอีกครั้ง นับเป็นเป็นเรื่องที่สะท้อนความบกกพร่องของการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว