งบฯ กลางปีแสนล้านยังวุ่นไม่ลงตัว หลายแบงก์รัฐทึ้งงบเพิ่มทุน 9 พันล้าน เอสเอ็มแอล สธ. ศธ. และ วธ. แย่งชงโครงการเสนอ ‘โอฬาร’ ขีดเส้นตาย ทุกโครงการ ชงเข้า ครม.เคาะ 19 ธ.ค. ก่อนเข้าสภาเบิกจ่ายภายใน มี.ค. 52 ขรก.ได้ขึ้นเงินเดือนถาวรแค่ 3% อีก 3%ให้วิธีแจกโบนัสพิเศษช่วง 9 เดือน พาณิชย์หวังฟาด 1,720 ล้าน อ้างแผนรับมือวิกฤต ศก.ในประเทศ อัด 3 มาตรการ ฝันทำเงินหมุนเวียนในระบบกว่าแสนล้าน
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการวางกรอบการใช้งบประมาณกลางปี 1 แสนล้านบาท โดยมีนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ว่าในที่ประชุมได้มีการหารือกันในเรื่องแนวคิดและวิธีการในการใช้งบประมาณ รวมถึงที่มาของโครงการต้องเป็นไปได้ โดยจะต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม สิ่งสำคัญจะต้องให้ได้ข้อสรุปภายในปีนี้
"ในที่ประชุมได้มอบหมายให้แต่ละกระทรวงกลับไปนำเสนอกรอบและโครงการเพื่อนำกลับมาเสนอต่อนายโอฬาร เพื่อพิจารณา โดยนายโอฬาร จะเรียกประชุมหารือเป็นรายกระทรวงอีกครั้งต่อไปเพื่อหาข้อสรุป"
รมว.คลัง กล่าวต่อว่า ในที่ประชุมได้มีการหารือถึงแนวคิดและที่มาของโครงการ เช่น โครงการดูแลรายได้และความเป็นอยู่ข้าราชการ ซึ่งบางคนในที่ประชุมเสนอให้มีการปรับขึ้นเงินเดือน 3% โดยจะเป็นการขึ้นเงินเดือนแบบถาวร คือ ต้องใช้งบประมาณในฐานของปีถัดไป และ ยังจะให้มีเงินโบนัสพิเศษ 3% แก่ข้าราชการด้วยเป็นระยะเวลา 9 เดือน
นอกจากนี้สำหรับโครงการเพิ่มทุนธนาคารตามกรอบวงเงิน 9 พันล้านบาท มีหลายธนาคารรัฐต้องการเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการด้วย หรือ โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ เอสเอ็มแอล ตามกรอบเดิมงบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท จะนำไปเพิ่มในการใช้ประโยชน์อย่างไร รวมถึงโครงการบ้านมั่นคง หรือ โครงการตามแนวทางพระราชดำริ หรือโครงการที่กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวัฒนธรรม หรือ กระทรวงศึกษาธิการ เสนอมา ทั้งหมดจะต้องเป็นโครงการในระยะสั้น
ด้านนายวรวัจน์ เอื้ออภิญากุล รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่าในที่ประชุมยังคงเห็นชอบการใช้งบประมาณให้อยู่ในกรอบ 10 หมวด โดยเน้นให้การดูแลชุมชน ด้านสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม โดยในที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไปเสนอกรอบในการใช้งบประมาณและโครงการกลับมาใหม่ ซึ่งจะต้องเป็นกรอบและโครงการที่จะต้องสอดคล้องกับ 10 หมวด เพื่อให้ทันเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาภายในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ หลังจากนั้นประมาณต้นเดือน ม.ค. 2552 จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาออกเป็น ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณกลางปี ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ภายในเดือน มี.ค. 52 แต่สิ่งสำคัญในที่ประชุมเน้น คือ ต้องเป็นโครงการที่กระตุ้นเศรษฐกิจ และ สร้างการจ้างงานภายใน 9 เดือน
“หลายกระทรวงมีกิจกรรมเสนอเข้ามา เช่น กระทรวงท่องเที่ยวฯ และ กระทรวงวัฒนธรรม เสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะต้องเป็นกิจกรรมที่เข้ากับ 10 หมวด และ เป็นโครงการที่ต้องสอดคล้องกันระหว่างกระทรวง” นายวรวัจน์ กล่าว
****พาณิชย์ หวังฟาด 1.72 พันล.
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดมาตรการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจที่จะดำเนินการในปี 2552 โดยจะใช้เงินจากงบกลางจำนวน 1,720 ล้านบาท จัดทำโครงการเพิ่มเติม นอกเหนือจากโครงการที่จะดำเนินการภายใต้งบประมาณปกติ เพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยคาดว่าผลจากมาตรการที่จะดำเนินการนี้ จะช่วยให้มีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทันที 2.43 หมื่นล้านบาท และเกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจแบบทวีคูณอย่างต่อเนื่อง 3-4 รอบ ทำให้มีเงินเพิ่มขึ้นในระบบไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท
โดยมาตรการที่จะดำเนินการนั้น มี 3 มาตรการสำคัญ คือ 1.การเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศอีก 6,600 ล้านบาท หรือ 0.1% ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ 6.6 ล้านล้านบาท โดยจะมีงบประมาณในส่วนนี้ 370 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการไปดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การพัฒนาย่านการค้าในประเทศเพื่อการส่งออก เช่น ย่านโบ๊เบ๊ ใบหยก ประตูน้ำ เป็นแหล่งส่งออกเสื้อผ้า วรจักร เป็นแหล่งส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ และมเหสักข์ เป็นแหล่งส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
2.การเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร อีก 12,000 ล้านบาท หรือ 1% ของมูลค่าภาคเกษตร 1.2 ล้านล้านบาท โดยจะเพิ่มงบประมาณในส่วนนี้ 600 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาและเพิ่มคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร การส่งเสริมตลาดกลางชุมชน โดยเชื่อมโยงเกษตรกร ไปโรงงานแปรรูป และผู้ส่งออก การสร้างช่วยทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพ และการส่งเสริมการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพื่อสร้างโอกาส
3.การกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ โดยตั้งเป้าให้มีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 5,700 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.1% ของ GPP ของจังหวัด 5.386 ล้านล้านบาท โดยจะมีงบประมาณ 750 ล้านบาท ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะธุรกิจไทยให้มีความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง สร้างพลังธุรกิจเพื่อการอยู่รอดให้กับธุรกิจไทย การพัฒนาย่านการค้าในภูมิภาคใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ การจัดกิจกรรมงานแสดงสินค้าและสร้างช่องทางจำหน่ายสินค้าจากโรงงาน การจัดคู่ธุรกิจระหว่างจังหวัด และการจัดมหกรรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
“มาตรการที่กระทรวงพาณิชย์ทำเพิ่มเติมนี้ เป็นการทำงานต่อเนื่อง เพราะก่อนหน้านี้ ก็ได้มีมาตรการรับมือวิกฤตที่เกิดขึ้น ตั้งแต่สหรัฐฯ เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ วิกฤตซัมไพร์ม ต่อเนื่องมาจนถึงวิกฤตทางการเงิน ซึ่งรู้มาโดยตลอดว่าจะเกิดผลกระทบแน่ แต่กระทรวงพาณิชย์ก็พยายามหามาตรการรับมือ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ครั้งนี้ ก็เช่นเดียวกัน”
นายไชยากล่าวว่า นอกเหนือจากมาตรการข้างต้น ได้ขอให้มีการเพิ่มมาตรการเป็นพิเศษในการส่งเสริมด้านการตลาดสินค้า OTOP เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และส่งเสริมธุรกิจบริการไทยไปต่างประเทศเป็นพิเศษ เช่น ครัวไทยสู่ครัวโลก และสปา เพราะบางประเทศน่าจะมี แต่กลับไม่มี ทำให้ไทยเสียโอกาส ทั้งนี้ ให้รวมไปถึงการผลักดันให้ธุรกิจไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ ซึ่งทูตพาณิชย์จะต้องเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและดำเนินการให้
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า มาตรการของกระทรวงพาณิชย์ที่ออกมาในครั้งนี้ เป็นมาตรการเสริมในสิ่งที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว โดยจะเน้นการเพิ่มยอดการส่งออกให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ซึ่งจะมีมาตรการลงไปช่วยเหลืออย่างเต็มที่ รวมไปถึงการกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจภายในประเทศแข็งแรง
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า มาตรการที่กระทรวงพาณิชย์กำลังจะดำเนินการรับมือกับวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการทำงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ เหนือกว่ากระทรวงอื่นๆ ซึ่งภาคเอกชนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการทำงานตามมาตรการต่างๆ ที่ออกมา เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และในโอกาสที่จะมีการประชุมหอการค้าทั่วประเทศในวันที่ 28-30 พ.ย.นี้ ที่หาดใหญ่ ภาคเอกชนจะหารือกับกระทรวงพาณิชย์อีกครั้งด้วย
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการวางกรอบการใช้งบประมาณกลางปี 1 แสนล้านบาท โดยมีนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ว่าในที่ประชุมได้มีการหารือกันในเรื่องแนวคิดและวิธีการในการใช้งบประมาณ รวมถึงที่มาของโครงการต้องเป็นไปได้ โดยจะต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม สิ่งสำคัญจะต้องให้ได้ข้อสรุปภายในปีนี้
"ในที่ประชุมได้มอบหมายให้แต่ละกระทรวงกลับไปนำเสนอกรอบและโครงการเพื่อนำกลับมาเสนอต่อนายโอฬาร เพื่อพิจารณา โดยนายโอฬาร จะเรียกประชุมหารือเป็นรายกระทรวงอีกครั้งต่อไปเพื่อหาข้อสรุป"
รมว.คลัง กล่าวต่อว่า ในที่ประชุมได้มีการหารือถึงแนวคิดและที่มาของโครงการ เช่น โครงการดูแลรายได้และความเป็นอยู่ข้าราชการ ซึ่งบางคนในที่ประชุมเสนอให้มีการปรับขึ้นเงินเดือน 3% โดยจะเป็นการขึ้นเงินเดือนแบบถาวร คือ ต้องใช้งบประมาณในฐานของปีถัดไป และ ยังจะให้มีเงินโบนัสพิเศษ 3% แก่ข้าราชการด้วยเป็นระยะเวลา 9 เดือน
นอกจากนี้สำหรับโครงการเพิ่มทุนธนาคารตามกรอบวงเงิน 9 พันล้านบาท มีหลายธนาคารรัฐต้องการเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการด้วย หรือ โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ เอสเอ็มแอล ตามกรอบเดิมงบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท จะนำไปเพิ่มในการใช้ประโยชน์อย่างไร รวมถึงโครงการบ้านมั่นคง หรือ โครงการตามแนวทางพระราชดำริ หรือโครงการที่กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวัฒนธรรม หรือ กระทรวงศึกษาธิการ เสนอมา ทั้งหมดจะต้องเป็นโครงการในระยะสั้น
ด้านนายวรวัจน์ เอื้ออภิญากุล รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่าในที่ประชุมยังคงเห็นชอบการใช้งบประมาณให้อยู่ในกรอบ 10 หมวด โดยเน้นให้การดูแลชุมชน ด้านสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม โดยในที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไปเสนอกรอบในการใช้งบประมาณและโครงการกลับมาใหม่ ซึ่งจะต้องเป็นกรอบและโครงการที่จะต้องสอดคล้องกับ 10 หมวด เพื่อให้ทันเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาภายในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ หลังจากนั้นประมาณต้นเดือน ม.ค. 2552 จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาออกเป็น ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณกลางปี ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ภายในเดือน มี.ค. 52 แต่สิ่งสำคัญในที่ประชุมเน้น คือ ต้องเป็นโครงการที่กระตุ้นเศรษฐกิจ และ สร้างการจ้างงานภายใน 9 เดือน
“หลายกระทรวงมีกิจกรรมเสนอเข้ามา เช่น กระทรวงท่องเที่ยวฯ และ กระทรวงวัฒนธรรม เสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะต้องเป็นกิจกรรมที่เข้ากับ 10 หมวด และ เป็นโครงการที่ต้องสอดคล้องกันระหว่างกระทรวง” นายวรวัจน์ กล่าว
****พาณิชย์ หวังฟาด 1.72 พันล.
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดมาตรการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจที่จะดำเนินการในปี 2552 โดยจะใช้เงินจากงบกลางจำนวน 1,720 ล้านบาท จัดทำโครงการเพิ่มเติม นอกเหนือจากโครงการที่จะดำเนินการภายใต้งบประมาณปกติ เพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยคาดว่าผลจากมาตรการที่จะดำเนินการนี้ จะช่วยให้มีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทันที 2.43 หมื่นล้านบาท และเกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจแบบทวีคูณอย่างต่อเนื่อง 3-4 รอบ ทำให้มีเงินเพิ่มขึ้นในระบบไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท
โดยมาตรการที่จะดำเนินการนั้น มี 3 มาตรการสำคัญ คือ 1.การเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศอีก 6,600 ล้านบาท หรือ 0.1% ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ 6.6 ล้านล้านบาท โดยจะมีงบประมาณในส่วนนี้ 370 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการไปดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การพัฒนาย่านการค้าในประเทศเพื่อการส่งออก เช่น ย่านโบ๊เบ๊ ใบหยก ประตูน้ำ เป็นแหล่งส่งออกเสื้อผ้า วรจักร เป็นแหล่งส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ และมเหสักข์ เป็นแหล่งส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
2.การเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร อีก 12,000 ล้านบาท หรือ 1% ของมูลค่าภาคเกษตร 1.2 ล้านล้านบาท โดยจะเพิ่มงบประมาณในส่วนนี้ 600 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาและเพิ่มคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร การส่งเสริมตลาดกลางชุมชน โดยเชื่อมโยงเกษตรกร ไปโรงงานแปรรูป และผู้ส่งออก การสร้างช่วยทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพ และการส่งเสริมการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพื่อสร้างโอกาส
3.การกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ โดยตั้งเป้าให้มีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 5,700 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.1% ของ GPP ของจังหวัด 5.386 ล้านล้านบาท โดยจะมีงบประมาณ 750 ล้านบาท ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะธุรกิจไทยให้มีความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง สร้างพลังธุรกิจเพื่อการอยู่รอดให้กับธุรกิจไทย การพัฒนาย่านการค้าในภูมิภาคใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ การจัดกิจกรรมงานแสดงสินค้าและสร้างช่องทางจำหน่ายสินค้าจากโรงงาน การจัดคู่ธุรกิจระหว่างจังหวัด และการจัดมหกรรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
“มาตรการที่กระทรวงพาณิชย์ทำเพิ่มเติมนี้ เป็นการทำงานต่อเนื่อง เพราะก่อนหน้านี้ ก็ได้มีมาตรการรับมือวิกฤตที่เกิดขึ้น ตั้งแต่สหรัฐฯ เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ วิกฤตซัมไพร์ม ต่อเนื่องมาจนถึงวิกฤตทางการเงิน ซึ่งรู้มาโดยตลอดว่าจะเกิดผลกระทบแน่ แต่กระทรวงพาณิชย์ก็พยายามหามาตรการรับมือ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ครั้งนี้ ก็เช่นเดียวกัน”
นายไชยากล่าวว่า นอกเหนือจากมาตรการข้างต้น ได้ขอให้มีการเพิ่มมาตรการเป็นพิเศษในการส่งเสริมด้านการตลาดสินค้า OTOP เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และส่งเสริมธุรกิจบริการไทยไปต่างประเทศเป็นพิเศษ เช่น ครัวไทยสู่ครัวโลก และสปา เพราะบางประเทศน่าจะมี แต่กลับไม่มี ทำให้ไทยเสียโอกาส ทั้งนี้ ให้รวมไปถึงการผลักดันให้ธุรกิจไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ ซึ่งทูตพาณิชย์จะต้องเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและดำเนินการให้
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า มาตรการของกระทรวงพาณิชย์ที่ออกมาในครั้งนี้ เป็นมาตรการเสริมในสิ่งที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว โดยจะเน้นการเพิ่มยอดการส่งออกให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ซึ่งจะมีมาตรการลงไปช่วยเหลืออย่างเต็มที่ รวมไปถึงการกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจภายในประเทศแข็งแรง
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า มาตรการที่กระทรวงพาณิชย์กำลังจะดำเนินการรับมือกับวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการทำงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ เหนือกว่ากระทรวงอื่นๆ ซึ่งภาคเอกชนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการทำงานตามมาตรการต่างๆ ที่ออกมา เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และในโอกาสที่จะมีการประชุมหอการค้าทั่วประเทศในวันที่ 28-30 พ.ย.นี้ ที่หาดใหญ่ ภาคเอกชนจะหารือกับกระทรวงพาณิชย์อีกครั้งด้วย