รัฐบาลน้องเขยแม้วใช้เงินปากมัน สั่งคลังทำงานแทนแบงก์พาณิชยหลังถกนายแบงก์แล้วอ้างติดกฎหมายปล่อยกู้ไม่ได้ เผยเตรียมตั้งกองทุน 4 หมื่นล้าน อัดฉีดผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ดูดจากเงินงบประมาณและการออกพันธบัตร "สุชาติ" วอน 4 แบงก์ที่ยอมปล่อยกู้ ธ.ก.ส.ไปก่อนหน้า ขอให้คิดดอกเบี้ยถูกๆ
ก่อนการนำผู้บริหารจากสมาคมธนาคารไทยจะเข้าประชุมกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เมื่อบ่ายวานนี้ (6 พ.ย.) นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า อยากจะฝากให้ทางสมาคมธนาคารไทยช่วยดูแล คือ การขยายสินเชื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจระดับรากหญ้า โดยเฉพาะการขอความร่วมมือธนาคารที่ร่วมปล่อยสินเชื่อในโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตร ให้ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เหลือไม่เกิน 4-5% จากที่กำหนด MLR-2 หรือเฉลี่ยในปัจจุบันอยู่ที่ 5.25-5.5% เนื่องจากโครงการดังกล่าวรัฐบาลต้องการเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกร ดังนั้นจึงควรกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ทั้งนี้ 4 ธนาคารที่ร่วมปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงินรวม 1.1 แสนล้านบาท ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารทหารไทยและธนาคารนครหลวงไทย
นายสุชาติย้ำด้วยว่า บทบาทธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในขณะนี้ควรเร่งซื้อคืนพันธบัตร ธปท.นำออกขายในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวงเงินสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อนำสภาพคล่องกลับเข้าสู่ระบบ เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินจำนวนมากเพื่อนำมาใช้สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ
***สุดท้ายทำตัวเป็นแบงก์ปล่อยกู้เอง
นายคณวัฒน์ วศินสังวร เลขานุการ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมฯ ว่า สมาคมธนาคารไทยเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) เนื่องจากเห็นว่าก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนามย่อม (เอสเอ็มอี) ผ่านการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ แต่เนื่องจาก พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ ที่ให้ลดบทบาทของ ธปท.ลงและต้องยุติการสนับสนุนซอฟต์โลน จึงทำให้เอสเอ็มอีได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังจัดตั้งกองทุนซอฟต์โลนตามข้อเสนอของสมาคมธนาคารไทย ซึ่งคาดว่าจะเป็นการจัดตั้งกองทุนในวงเงินเท่ากับวงเงินเดิมที่ 4 หมื่นล้านบาท กระทรวงการคลังสามารถจัดหาได้จากหลายแหล่งทั้งการขอเงินงบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งกองทุน หรือการออกพันธบัตรรัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง
"แบงก์ชาติแจ้งว่าต้องยุติการให้เงินช่วยเหลือซอฟต์โลน ซึ่งจะทำให้กระทบต่อต้นทุนแบงก์พาณิชย์ในการให้สินเชื่อ" เลขานุการ รมว.คลังกล่าวและว่า นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง ตั้งข้อสังเกตว่าภายใต้ พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ ไม่ได้มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการให้ซอฟท์โลนแก่แบงก์พาณิชย์ ซึ่งจะได้ประสานงานกับ ธปท.ในเรื่องนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวอาจจะยังไม่สามารถดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้
**แบงก์ยอมรับชงคลังปล่อยกู้เอง
นางศศิธร พงศธร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) หรือ LH BANK กล่าวว่า การพูดคุยครั้งนี้เป็นข้อเสนอแนะที่สมาคมธนาคารไทยได้เคยเสนอต่อกระทรวงการคลัง และมีการหยิบข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานบางอย่างท่ามกลางภาวะฉุกเฉินที่ภาคสถาบันการเงินไทยต้องมีมาตรการรองรับ โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนให้กับภาคธุรกิจที่ประสบภัยพิบัติ เนื่องจากก่อนหน้านี้ ธปท.เป็นผู้สนับสนุนแหล่งเงินให้ธนาคารพาณิชย์นำไปปล่อยสินเชื่อ
แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย มีผลบังคับใช้ก็ส่งผลให้ ธปท.ไม่สามารถปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนได้อีก จึงมีความเห็นว่าจะต้องมีการหารือว่าหลังจาก ธปท.ดำเนินการไม่ได้แล้ว จะมีหน่วยงานใดมาเป็นผู้ดำเนินการต่อ ซึ่งนายกฯ ก็จะนำข้อเสนอนี้ไปศึกษาแต่จะมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายหรือไม่ ก็ต้องมีการหารือกันอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้หากสามารถดำเนินการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนได้ต่อเนื่อง ธนาคารพาณิชย์มองว่าจะทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์ และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่จะเกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ก็จะไม่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ในการประชุมครั้งนี้ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ยังได้เสนอแนะให้รัฐบาลมีการควบคุมและการจัดการดูแลสภาพคล่องในประเทศไทย เนื่องจากมีความเป็นห่วงว่าสภาพคล่องของไทยอาจถูกนำออกไปใช้ต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันต่างชาติเล็งเห็นว่าประเทศไทยได้รับปัญหาจากวิกฤตการเงินโลก ดังนั้นจึงอาจหาทางมาดึงสภาพคล่องจากประเทศไทยออกไปใช้ได้ ซึ่งก็จะทำให้ประเทศไทยเองเสียประโยชน์ เพราะสภาพคล่องของประเทศไทยควรถูกใช้ประโยชน์อยู่ในประเทศไทย
ก่อนการนำผู้บริหารจากสมาคมธนาคารไทยจะเข้าประชุมกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เมื่อบ่ายวานนี้ (6 พ.ย.) นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า อยากจะฝากให้ทางสมาคมธนาคารไทยช่วยดูแล คือ การขยายสินเชื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจระดับรากหญ้า โดยเฉพาะการขอความร่วมมือธนาคารที่ร่วมปล่อยสินเชื่อในโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตร ให้ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เหลือไม่เกิน 4-5% จากที่กำหนด MLR-2 หรือเฉลี่ยในปัจจุบันอยู่ที่ 5.25-5.5% เนื่องจากโครงการดังกล่าวรัฐบาลต้องการเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกร ดังนั้นจึงควรกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ทั้งนี้ 4 ธนาคารที่ร่วมปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงินรวม 1.1 แสนล้านบาท ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารทหารไทยและธนาคารนครหลวงไทย
นายสุชาติย้ำด้วยว่า บทบาทธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในขณะนี้ควรเร่งซื้อคืนพันธบัตร ธปท.นำออกขายในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวงเงินสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อนำสภาพคล่องกลับเข้าสู่ระบบ เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินจำนวนมากเพื่อนำมาใช้สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ
***สุดท้ายทำตัวเป็นแบงก์ปล่อยกู้เอง
นายคณวัฒน์ วศินสังวร เลขานุการ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมฯ ว่า สมาคมธนาคารไทยเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) เนื่องจากเห็นว่าก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนามย่อม (เอสเอ็มอี) ผ่านการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ แต่เนื่องจาก พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ ที่ให้ลดบทบาทของ ธปท.ลงและต้องยุติการสนับสนุนซอฟต์โลน จึงทำให้เอสเอ็มอีได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังจัดตั้งกองทุนซอฟต์โลนตามข้อเสนอของสมาคมธนาคารไทย ซึ่งคาดว่าจะเป็นการจัดตั้งกองทุนในวงเงินเท่ากับวงเงินเดิมที่ 4 หมื่นล้านบาท กระทรวงการคลังสามารถจัดหาได้จากหลายแหล่งทั้งการขอเงินงบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งกองทุน หรือการออกพันธบัตรรัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง
"แบงก์ชาติแจ้งว่าต้องยุติการให้เงินช่วยเหลือซอฟต์โลน ซึ่งจะทำให้กระทบต่อต้นทุนแบงก์พาณิชย์ในการให้สินเชื่อ" เลขานุการ รมว.คลังกล่าวและว่า นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง ตั้งข้อสังเกตว่าภายใต้ พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ ไม่ได้มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการให้ซอฟท์โลนแก่แบงก์พาณิชย์ ซึ่งจะได้ประสานงานกับ ธปท.ในเรื่องนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวอาจจะยังไม่สามารถดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้
**แบงก์ยอมรับชงคลังปล่อยกู้เอง
นางศศิธร พงศธร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) หรือ LH BANK กล่าวว่า การพูดคุยครั้งนี้เป็นข้อเสนอแนะที่สมาคมธนาคารไทยได้เคยเสนอต่อกระทรวงการคลัง และมีการหยิบข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานบางอย่างท่ามกลางภาวะฉุกเฉินที่ภาคสถาบันการเงินไทยต้องมีมาตรการรองรับ โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนให้กับภาคธุรกิจที่ประสบภัยพิบัติ เนื่องจากก่อนหน้านี้ ธปท.เป็นผู้สนับสนุนแหล่งเงินให้ธนาคารพาณิชย์นำไปปล่อยสินเชื่อ
แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย มีผลบังคับใช้ก็ส่งผลให้ ธปท.ไม่สามารถปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนได้อีก จึงมีความเห็นว่าจะต้องมีการหารือว่าหลังจาก ธปท.ดำเนินการไม่ได้แล้ว จะมีหน่วยงานใดมาเป็นผู้ดำเนินการต่อ ซึ่งนายกฯ ก็จะนำข้อเสนอนี้ไปศึกษาแต่จะมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายหรือไม่ ก็ต้องมีการหารือกันอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้หากสามารถดำเนินการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนได้ต่อเนื่อง ธนาคารพาณิชย์มองว่าจะทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์ และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่จะเกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ก็จะไม่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ในการประชุมครั้งนี้ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ยังได้เสนอแนะให้รัฐบาลมีการควบคุมและการจัดการดูแลสภาพคล่องในประเทศไทย เนื่องจากมีความเป็นห่วงว่าสภาพคล่องของไทยอาจถูกนำออกไปใช้ต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันต่างชาติเล็งเห็นว่าประเทศไทยได้รับปัญหาจากวิกฤตการเงินโลก ดังนั้นจึงอาจหาทางมาดึงสภาพคล่องจากประเทศไทยออกไปใช้ได้ ซึ่งก็จะทำให้ประเทศไทยเองเสียประโยชน์ เพราะสภาพคล่องของประเทศไทยควรถูกใช้ประโยชน์อยู่ในประเทศไทย