“พรศิริ” ยัน บอร์ดททท. ไฟเขียว รับตำแหน่งประธานบอร์ดพาต้าได้ อ้าง ระเบียบว่าจ้างข้อ 6.3 ระบุเป็นได้หากบอร์ดยินยอม ยันไม่ต่ออายุสัญญาจ้างตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. แน่ หากครบกำหนด เล็งนั่งเป็นที่ปรึกษาพิเศษแทน
นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) เห็นชอบให้ตนเองรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค หรือ สมาคมพาต้า (Pacific Asia Travel Association —PATA) โดยไม่ผิดข้อบังคับของเงื่อนไขการว่าจ้างดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เพราะตามหลักเกณฑ์บังคับในข้อ 6.3 ตามสัญญาว่าจ้าง ระบุไว้ว่า ผู้ว่า ททท.ไม่มีสิทธิ์ที่จะรับตำแหน่งใดที่จะนำความรู้หรือสายสัมพันธ์จากการเป็นผู้ว่าฯ ไปใช้ภายในระยะเวลา 12 เดือน ยกเว้นแต่จะได้รับหนังสือยินยอมจากบอร์ดอย่างเป็นทางการ
“เมื่อบอร์ดเห็นชอบกับการรับตำแหน่งในครั้งนี้ก็ย่อมทำได้โดยไม่ขัดหลักเกณฑ์ ส่วนกรณีที่การรับตำแหน่งครั้งนี้ เป็นการรับตำแหน่งในนามที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐบาลนั้น ก็สามารถทำได้ เพราะหากหมดวาระในการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. ซึ่งจะสิ้นสุดหน้าที่ในเดือนมีนาคม 2552 นั้น หากได้รับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอิสระของหน่วยงานททท. หรือ ที่ปรึกษาให้กับผู้ว่าการ ททท.คนใหม่ ก็เข้ากับหลักเกณฑ์ เช่นกัน โดยในการประชุมบอร์ดครั้งหน้า จะคุยกันในรายละเอียด“
ทั้งนี้โดยส่วนตัวมองว่า การรับตำแหน่งดังกล่าวแล้วทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลการท่องเที่ยวในระดับโลก ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก และที่สำคัญตำแหน่งนี้ก็ไม่ได้มีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน จึงไม่น่าจะมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งหากทุกอย่างลงตัวก็จะเข้ารับตำแหน่งในเดือนเมษายน 2552 ภายหลังจากหมดสัญญาว่าจ้างจาก ททท. โดยยืนยันจะไม่ต่อสัญญาว่าจ้างในตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. อย่างแน่นอน
สำหรับเหตุผลที่บอร์ด ยินดีให้รับตำแหน่งดังกล่าว เพราะ เห็นว่าเป็นตำแหน่ง ที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย ทั้งด้านภาพลักษณ์ และ ด้านการท่องเที่ยว เพราะพาต้า เป็นองค์กรใหญ่ ตั้งมากว่า 70 ปี มีสมาชิกกว่า 74 ประเทศทั่วโลก จาก 1,000 กว่า หน่วยงาน ครอบคลุมทุกทวีป ดังนั้น หากผู้รับตำแหน่งประธานฯ มาจากประเทศไทย จะช่วยประชาสัมพันธ์ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งประธานคณะกรรมการของ สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (พาต้า)คัดเลือกจากสมาชิก ที่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม หลัก ได้แก่ 1. หน่วยงานจากภาครัฐ 2.หน่วยงานด้านคมนาคมขนส่ง และ 3. หน่วยงานภาคธุรกิจเอกชน โดยแต่ละกลุ่มจะส่งตัวแทนขึ้นมารับตำแหน่งสลับกันไปทุก 3 ปี
ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่ได้เป็นตัวแทนนั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการพาต้า หลังจากที่ เราได้เป็นสมาชิกของ พาต้ามากว่า 51 ปี ตั้งแต่สมัย ท่องเที่ยวอยู่ในความดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ ดังนั้น จึงมองว่า เรื่องที่ไม่เคยทำ ทำไมจะทำไม่ได้ถ้ามีประโยชน์ต่อประเทศ
นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) เห็นชอบให้ตนเองรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค หรือ สมาคมพาต้า (Pacific Asia Travel Association —PATA) โดยไม่ผิดข้อบังคับของเงื่อนไขการว่าจ้างดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เพราะตามหลักเกณฑ์บังคับในข้อ 6.3 ตามสัญญาว่าจ้าง ระบุไว้ว่า ผู้ว่า ททท.ไม่มีสิทธิ์ที่จะรับตำแหน่งใดที่จะนำความรู้หรือสายสัมพันธ์จากการเป็นผู้ว่าฯ ไปใช้ภายในระยะเวลา 12 เดือน ยกเว้นแต่จะได้รับหนังสือยินยอมจากบอร์ดอย่างเป็นทางการ
“เมื่อบอร์ดเห็นชอบกับการรับตำแหน่งในครั้งนี้ก็ย่อมทำได้โดยไม่ขัดหลักเกณฑ์ ส่วนกรณีที่การรับตำแหน่งครั้งนี้ เป็นการรับตำแหน่งในนามที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐบาลนั้น ก็สามารถทำได้ เพราะหากหมดวาระในการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. ซึ่งจะสิ้นสุดหน้าที่ในเดือนมีนาคม 2552 นั้น หากได้รับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอิสระของหน่วยงานททท. หรือ ที่ปรึกษาให้กับผู้ว่าการ ททท.คนใหม่ ก็เข้ากับหลักเกณฑ์ เช่นกัน โดยในการประชุมบอร์ดครั้งหน้า จะคุยกันในรายละเอียด“
ทั้งนี้โดยส่วนตัวมองว่า การรับตำแหน่งดังกล่าวแล้วทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลการท่องเที่ยวในระดับโลก ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก และที่สำคัญตำแหน่งนี้ก็ไม่ได้มีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน จึงไม่น่าจะมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งหากทุกอย่างลงตัวก็จะเข้ารับตำแหน่งในเดือนเมษายน 2552 ภายหลังจากหมดสัญญาว่าจ้างจาก ททท. โดยยืนยันจะไม่ต่อสัญญาว่าจ้างในตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. อย่างแน่นอน
สำหรับเหตุผลที่บอร์ด ยินดีให้รับตำแหน่งดังกล่าว เพราะ เห็นว่าเป็นตำแหน่ง ที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย ทั้งด้านภาพลักษณ์ และ ด้านการท่องเที่ยว เพราะพาต้า เป็นองค์กรใหญ่ ตั้งมากว่า 70 ปี มีสมาชิกกว่า 74 ประเทศทั่วโลก จาก 1,000 กว่า หน่วยงาน ครอบคลุมทุกทวีป ดังนั้น หากผู้รับตำแหน่งประธานฯ มาจากประเทศไทย จะช่วยประชาสัมพันธ์ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งประธานคณะกรรมการของ สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (พาต้า)คัดเลือกจากสมาชิก ที่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม หลัก ได้แก่ 1. หน่วยงานจากภาครัฐ 2.หน่วยงานด้านคมนาคมขนส่ง และ 3. หน่วยงานภาคธุรกิจเอกชน โดยแต่ละกลุ่มจะส่งตัวแทนขึ้นมารับตำแหน่งสลับกันไปทุก 3 ปี
ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่ได้เป็นตัวแทนนั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการพาต้า หลังจากที่ เราได้เป็นสมาชิกของ พาต้ามากว่า 51 ปี ตั้งแต่สมัย ท่องเที่ยวอยู่ในความดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ ดังนั้น จึงมองว่า เรื่องที่ไม่เคยทำ ทำไมจะทำไม่ได้ถ้ามีประโยชน์ต่อประเทศ