ผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าฝากความหวังไว้ที่ตลาดอียูและอาเซียน หลังประเมินการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในปีหน้าไม่ขยายตัว ผลพวงวิกฤตการเงินโลก จากปีนี้ที่คาดว่าการส่งออกขยายตัว 9-10% คิดเป็นมูลค่า 1.6 ล้านล้านบาท
นายขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปี 2552 น่าจะขยายตัวลดลงหรือใกล้เคียงปีนี้ เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ทำให้ประชาชนลดการใช้สอยในสินค้าที่ไม่จำเป็นลง ซึ่งคาดว่าธันวาคมนี้จะเห็นผลคำสั่งซื้อเริ่มลดลง และเห็นชัดเจนในไตรมาสแรกปีหน้า
ทั้งนี้ ไทยส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในอียู คิดเป็น 17-18% ของมูลค่าการส่งออก ซึ่งกลายเป็นตลาดใหญ่แซงหน้าตลาดสหรัฐฯที่ไม่ได้ขยายตัวมาหลายปีแล้ว โดยมองว่าตลาดอียูยังแข็งแกร่งอยู่ และความต้องการสินค้าที่หลากหลาย เน้นคุณภาพสินค้ามากกว่าราคา ขณะที่ตลาดญี่ปุ่นก็หดตัวเช่นกัน ทำให้ไทยต้องหันไปพึ่งตลาดอาเซียนแทน
“สินค้าอิเล็กทรอนิกส์กว่า 90% พึ่งพาตลาดส่งออก ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไมโครเวฟ ตู้เย็น เชื่อว่า การส่งออกคงลดลง ขณะที่เครื่องปรับอากาศตลาดส่งออกในสหภาพยุโรป ยังดีอยู่ เนื่องจากปัญหาโลกร้อน เชื่อว่า การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปีหน้าขยายตัวไม่ติดลบ เนื่องจากรัฐบาลหลายประเทศต่างออกมาตรการรับมือวิกฤตการเงินโลกและกระตุ้นเศรษฐกิจ”
นายขัติยา กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เติบโตขึ้น 9-10% มูลค่าการส่งออกรวม 1.6 ล้านล้านบาท โดยการส่งออกไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปีนี้ยังดีอยู่ แต่ปีหน้าสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวัง คือ ความผันผวนของค่าเงิน ขณะเดียวกัน แบงก์ชาติควรทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อให้เป็นไปในทิศทางการเดียวกับต่างประเทศ โดย 6 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลไทยออกมานั้น ก็น่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง แต่ก็อยากให้รัฐบาลเจรจาสรุปมาตรการความร่วมมือรับมือวิกฤติที่เกิดขึ้นกับกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อให้เป็นมาตรการเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน
ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินผลกระทบภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ว่า การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก คาดว่า ในปี 2552 การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าอาจจะมีการขยายตัวประมาณ 3-5% ชะลอตัวลงจากที่คาดว่าจะขยายตัว 8-12% ในปี 2551 ส่วนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2552 อาจมีมูลค่าการส่งออกลดลงหรือขยายตัวไม่เกิน 1% ซึ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกยังส่งผลให้การแข่งขันด้านราคาในอุตสาหกรรมมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น
นายขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปี 2552 น่าจะขยายตัวลดลงหรือใกล้เคียงปีนี้ เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ทำให้ประชาชนลดการใช้สอยในสินค้าที่ไม่จำเป็นลง ซึ่งคาดว่าธันวาคมนี้จะเห็นผลคำสั่งซื้อเริ่มลดลง และเห็นชัดเจนในไตรมาสแรกปีหน้า
ทั้งนี้ ไทยส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในอียู คิดเป็น 17-18% ของมูลค่าการส่งออก ซึ่งกลายเป็นตลาดใหญ่แซงหน้าตลาดสหรัฐฯที่ไม่ได้ขยายตัวมาหลายปีแล้ว โดยมองว่าตลาดอียูยังแข็งแกร่งอยู่ และความต้องการสินค้าที่หลากหลาย เน้นคุณภาพสินค้ามากกว่าราคา ขณะที่ตลาดญี่ปุ่นก็หดตัวเช่นกัน ทำให้ไทยต้องหันไปพึ่งตลาดอาเซียนแทน
“สินค้าอิเล็กทรอนิกส์กว่า 90% พึ่งพาตลาดส่งออก ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไมโครเวฟ ตู้เย็น เชื่อว่า การส่งออกคงลดลง ขณะที่เครื่องปรับอากาศตลาดส่งออกในสหภาพยุโรป ยังดีอยู่ เนื่องจากปัญหาโลกร้อน เชื่อว่า การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปีหน้าขยายตัวไม่ติดลบ เนื่องจากรัฐบาลหลายประเทศต่างออกมาตรการรับมือวิกฤตการเงินโลกและกระตุ้นเศรษฐกิจ”
นายขัติยา กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เติบโตขึ้น 9-10% มูลค่าการส่งออกรวม 1.6 ล้านล้านบาท โดยการส่งออกไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปีนี้ยังดีอยู่ แต่ปีหน้าสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวัง คือ ความผันผวนของค่าเงิน ขณะเดียวกัน แบงก์ชาติควรทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อให้เป็นไปในทิศทางการเดียวกับต่างประเทศ โดย 6 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลไทยออกมานั้น ก็น่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง แต่ก็อยากให้รัฐบาลเจรจาสรุปมาตรการความร่วมมือรับมือวิกฤติที่เกิดขึ้นกับกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อให้เป็นมาตรการเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน
ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินผลกระทบภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ว่า การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก คาดว่า ในปี 2552 การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าอาจจะมีการขยายตัวประมาณ 3-5% ชะลอตัวลงจากที่คาดว่าจะขยายตัว 8-12% ในปี 2551 ส่วนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2552 อาจมีมูลค่าการส่งออกลดลงหรือขยายตัวไม่เกิน 1% ซึ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกยังส่งผลให้การแข่งขันด้านราคาในอุตสาหกรรมมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น