ธุรกิจโรงแรมซบเซา 9 เดือนแรกยอดพักเฉลี่ยลดลง ทีเอชเอ ระบุโดยเฉพาะเดือนกันยายน อัตราเข้าพักโรงแรมเฉลี่ยทั้งเดือนวูบกว่า 16% เมื่อเทียบกับปีก่อน เหตุรัฐประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และสถานการณ์ทางเมืองไม่สงบ หวั่นโรงแรมขนาดเล็กล้มตาย วอนรัฐคุมกำเนิดโรงแรมเกิดใหม่ ก่อนซัพพลายล้นตลาด ด้านสทน.จี้ปรับเกณฑ์เข้มออกใบอนุญาตมัคคุเทศก์ เหตุปริมาณมากแต่ขาดคุณภาพ
ในการประชุมสมาชิกสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทยหรือเฟสต้า นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทยหรือ ทีเอชเอ กล่าวว่า อัตราเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรม 4-5 ดาว ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนเกือบ 16% เหลืออัตราเข้าพักเพียง 50.67% สาเหตุเพราะในเดือนดังกล่าวประเทศไทยเกิดความวุ่นวายทางการเมือง ประกอบกับรัฐบาลได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 2-14 กันยายน และจากข้อมูลดังกล่าว ยังส่งผลให้ ตัวเลขอัตราเข้าพักโรงแรมเฉลี่ย 9 เดือน(ม.ค.-ก.ย.) ลดลงด้วย โดยลงมาอยู่ที่ 66.38% ซึ่งช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 67.51%
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้สมาคมฯห่วงและกังวลในกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี โดยเฉพาะกลุ่มที่มีลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยวจากจีนและเกาหลี เพราะทั้ง 2 ตลาดนักท่องเที่ยวลดลงมาก เพราะเกิดความกังวลจึงยกเลิกการเดินทาง เป็นผลให้โรงแรมขนาดเล็กมีอัตราเข้าพักเฉลี่ยลดลงเหลือประมาณ 30% บางแห่งถึงขนาดงดจ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นการชั่วคราว และยังไม่ถึงขนาดปลดพนักงานออก
นอกจากนั้น สมาคมฯ ยังเป็นห่วงและรู้สึกกังวล กับจำนวนโรงแรมเปิดใหม่ ที่จะเริ่มทยอยเปิดให้บริการในช่วง 3-4 ปีนับจากนี้ไป คิดเป็นจำนวนห้องพักกว่า 20,000 ห้อง แบ่งเป็น ในกรุงเทพฯราว 8,000 ห้อง ที่เหลือจะกระจายอยู่ตามจังหวัดท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต และสมุย เป็นต้น โดยเกรงว่าจะเกิดโอเวอร์ซัพพลายในกลุ่มธุรกิจโรงแรม เพราะในพ.ร.บ.ธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 ที่ประกาศใช้อยู่ในขณะนี้ เปิดกว้างให้ อพาร์ทเม้นต์ สามารถ ปรับปรุงกิจการ แล้วนำมาขอใบอนุญาต ให้บริการเป็นธุรกิจโรงแรมได้
"ปัจจุบันห้องพักโรงแรมที่เปิดให้บริการทั่วประเทศมีทั้งหมดราว 4 แสนห้อง และยังมีโรงแรมเปิดใหม่กับ อพาร์ทเม้นต์ที่จะจดทะเบียนเข้าสู่ระบบอีก จึงมองว่า จะเกิดการแข่งขันที่รุนแรง ใครที่ทุนน้อย ก็อาจต้องล้มหายตายจาก หรือเกิดภาวะสงครามราคา"
ดังนั้นจึงต้องการให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องการลงทุนในธุรกิจโรงแรม ว่ามีอุปสงค์อุปทานมากน้อยแค่ไหนในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจลงทุน และยังช่วยไม่ให้การลงทุนเกิดการกระจุกตัวเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวหลักเท่านั้น
ทางด้านนายอภิชาต สังฆอารี นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลรณรงค์ให้ข้าราชการ หน่วยงานรัฐ จัดประชุมสัมมนาภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือภาคธุรกิจท่องเที่ยว เพราะนอกจากได้ช่วยภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแล้ว ยังทำให้ภาพการเดินทางท่องเที่ยวมีความคึกคักมากขึ้น แต่ทั้งนี้การเลือกเดสติเนชั่นเดินทางก็ต้องกระจายไปทั่วประเทศ ไม่กระจุกอยู่เพียงจังหวัดท่องเที่ยวหลักเท่านั้น และควรเฉลี่ยให้มีการเดินทางท่องเที่ยวทั้งปี จะได้ไม่ต้องมากระจุกตัวเพียงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสิ้นปีงบประมาณ
ทางด้านนางสาวมัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศส นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) กล่าวว่า ต้องการให้ ททท.และกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟให้ชัดเจนกว่านี้ เพราะ มองว่ายังไม่มีการประชาสัมพันธ์เท่าที่ควร ประกอบกับต้องการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ปรับปรุงเรื่องความสะอาดของรถไฟ โดยเฉพาะ ห้องสุขา และเบาะนั่ง และจะต้องพัฒนาบุคลากรไว้สำหรับต้อนรับผู้โดยสารในกลุ่มที่เป็นนักท่องเที่ยวด้วย นอกจากนั้นยังเรียกร้องให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ปรับเกณฑ์การขอใบอนุญาตมัคคุเทศก์ โดยผู้สนใจขอใบอนุญาต ควรผ่านการฝึกงานด้านมัคคุเทศก์มาอย่างน้อย 6 เดือน ถึง 1 ปี เพราะปัจจุบันนี้มองว่าจำนวนมัคคุเทศก์มีจำนวนมากแต่กลับขาดมัคคุเทศก์ที่มีคุณภาพ
ในการประชุมสมาชิกสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทยหรือเฟสต้า นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทยหรือ ทีเอชเอ กล่าวว่า อัตราเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรม 4-5 ดาว ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนเกือบ 16% เหลืออัตราเข้าพักเพียง 50.67% สาเหตุเพราะในเดือนดังกล่าวประเทศไทยเกิดความวุ่นวายทางการเมือง ประกอบกับรัฐบาลได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 2-14 กันยายน และจากข้อมูลดังกล่าว ยังส่งผลให้ ตัวเลขอัตราเข้าพักโรงแรมเฉลี่ย 9 เดือน(ม.ค.-ก.ย.) ลดลงด้วย โดยลงมาอยู่ที่ 66.38% ซึ่งช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 67.51%
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้สมาคมฯห่วงและกังวลในกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี โดยเฉพาะกลุ่มที่มีลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยวจากจีนและเกาหลี เพราะทั้ง 2 ตลาดนักท่องเที่ยวลดลงมาก เพราะเกิดความกังวลจึงยกเลิกการเดินทาง เป็นผลให้โรงแรมขนาดเล็กมีอัตราเข้าพักเฉลี่ยลดลงเหลือประมาณ 30% บางแห่งถึงขนาดงดจ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นการชั่วคราว และยังไม่ถึงขนาดปลดพนักงานออก
นอกจากนั้น สมาคมฯ ยังเป็นห่วงและรู้สึกกังวล กับจำนวนโรงแรมเปิดใหม่ ที่จะเริ่มทยอยเปิดให้บริการในช่วง 3-4 ปีนับจากนี้ไป คิดเป็นจำนวนห้องพักกว่า 20,000 ห้อง แบ่งเป็น ในกรุงเทพฯราว 8,000 ห้อง ที่เหลือจะกระจายอยู่ตามจังหวัดท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต และสมุย เป็นต้น โดยเกรงว่าจะเกิดโอเวอร์ซัพพลายในกลุ่มธุรกิจโรงแรม เพราะในพ.ร.บ.ธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 ที่ประกาศใช้อยู่ในขณะนี้ เปิดกว้างให้ อพาร์ทเม้นต์ สามารถ ปรับปรุงกิจการ แล้วนำมาขอใบอนุญาต ให้บริการเป็นธุรกิจโรงแรมได้
"ปัจจุบันห้องพักโรงแรมที่เปิดให้บริการทั่วประเทศมีทั้งหมดราว 4 แสนห้อง และยังมีโรงแรมเปิดใหม่กับ อพาร์ทเม้นต์ที่จะจดทะเบียนเข้าสู่ระบบอีก จึงมองว่า จะเกิดการแข่งขันที่รุนแรง ใครที่ทุนน้อย ก็อาจต้องล้มหายตายจาก หรือเกิดภาวะสงครามราคา"
ดังนั้นจึงต้องการให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องการลงทุนในธุรกิจโรงแรม ว่ามีอุปสงค์อุปทานมากน้อยแค่ไหนในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจลงทุน และยังช่วยไม่ให้การลงทุนเกิดการกระจุกตัวเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวหลักเท่านั้น
ทางด้านนายอภิชาต สังฆอารี นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลรณรงค์ให้ข้าราชการ หน่วยงานรัฐ จัดประชุมสัมมนาภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือภาคธุรกิจท่องเที่ยว เพราะนอกจากได้ช่วยภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแล้ว ยังทำให้ภาพการเดินทางท่องเที่ยวมีความคึกคักมากขึ้น แต่ทั้งนี้การเลือกเดสติเนชั่นเดินทางก็ต้องกระจายไปทั่วประเทศ ไม่กระจุกอยู่เพียงจังหวัดท่องเที่ยวหลักเท่านั้น และควรเฉลี่ยให้มีการเดินทางท่องเที่ยวทั้งปี จะได้ไม่ต้องมากระจุกตัวเพียงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสิ้นปีงบประมาณ
ทางด้านนางสาวมัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศส นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) กล่าวว่า ต้องการให้ ททท.และกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟให้ชัดเจนกว่านี้ เพราะ มองว่ายังไม่มีการประชาสัมพันธ์เท่าที่ควร ประกอบกับต้องการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ปรับปรุงเรื่องความสะอาดของรถไฟ โดยเฉพาะ ห้องสุขา และเบาะนั่ง และจะต้องพัฒนาบุคลากรไว้สำหรับต้อนรับผู้โดยสารในกลุ่มที่เป็นนักท่องเที่ยวด้วย นอกจากนั้นยังเรียกร้องให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ปรับเกณฑ์การขอใบอนุญาตมัคคุเทศก์ โดยผู้สนใจขอใบอนุญาต ควรผ่านการฝึกงานด้านมัคคุเทศก์มาอย่างน้อย 6 เดือน ถึง 1 ปี เพราะปัจจุบันนี้มองว่าจำนวนมัคคุเทศก์มีจำนวนมากแต่กลับขาดมัคคุเทศก์ที่มีคุณภาพ