รัฐมนตรีคลังอาเซียนเห็นพ้องต้องร่วมมือกันเพื่อเสริมความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจการเงินหวังป้องกันและสร้างเสถียรภาพให้เกิดในภูมิภาค เล็งตั้งหน่วยงานเฉพาะแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของประเทศกลุ่ม ASEAN+3 หลังเกิดวิกฤตการเงินลุกลามทั่วโลก
นายศุภรัตน์ ควัตน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยสาระสำคัญของผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในนามประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอเมิเรตส์
1.) การประชุมครั้งนี้ไดัจัดขึ้นในขณะเวลาที่เหมาะสมอย่างมาก และประเทศในโลกกำลังเผชิญปัญหาจากผลของวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาและยุโรป จากการประเมินสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่า ยังมีความเข้มแข็ง และไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนมีความเห็นพ้องต้องกันที่จะต้องมีการสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งมากขึ้นในด้านเศรษฐกิจการเงินเพื่อปกป้องและสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้
2.) ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอการเพิ่มศักยภาพของการติดตามและสร้างระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจ(ASEAN Survcillance Process) ของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน โดยการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาเพื่อการศึกษาและติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมหภาคของแต่ละประเทศ การเพิ่มศักยภาพนี้จะช่วยสนับสนุนและเร่งรัดโครงการริเริ่มเชียงใหม่แบบพหุภาคี (Chiang Mai Initiative (CMI) Multilateralisation) ระหว่างอาเซียนกับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของประเทศในกลุ่ม ASEAN+3 อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.) ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอโครงการประเมินความพร้อมของระบบการเงินของประเทศในอาเซียนในมิติต่างๆเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและกำหนดขั้นตอนที่เหมาะสมสำหรับประเทศต่างๆ เพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ.2015) นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับข้อเสนอของนายศุภรัตน์ ควัตน์กุล ว่า การศึกษาการประเมินความพร้อมของประเทศต่างๆ นั้น ต้องพิจารณาถึงกรณีที่จะดำเนินการหรือร่วมมือระหว่างกันในกรณีที่จะต้องแก้ปัญหาวิกฤตให้เป็นผล มิได้ดูเฉพาะการก้าวไปข้างหน้าอย่างเดียว ซึ่งประเด็นนี้ก็กำลังเป็นปัญหาความยากลำบากในการหาความร่วมมือกันในประชาคมยุโรป เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการเงินที่ลุกลามเข้าสู่ยุโรปในขณะนี้
นายศุภรัตน์ ควัตน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยสาระสำคัญของผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในนามประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอเมิเรตส์
1.) การประชุมครั้งนี้ไดัจัดขึ้นในขณะเวลาที่เหมาะสมอย่างมาก และประเทศในโลกกำลังเผชิญปัญหาจากผลของวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาและยุโรป จากการประเมินสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่า ยังมีความเข้มแข็ง และไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนมีความเห็นพ้องต้องกันที่จะต้องมีการสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งมากขึ้นในด้านเศรษฐกิจการเงินเพื่อปกป้องและสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้
2.) ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอการเพิ่มศักยภาพของการติดตามและสร้างระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจ(ASEAN Survcillance Process) ของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน โดยการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาเพื่อการศึกษาและติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมหภาคของแต่ละประเทศ การเพิ่มศักยภาพนี้จะช่วยสนับสนุนและเร่งรัดโครงการริเริ่มเชียงใหม่แบบพหุภาคี (Chiang Mai Initiative (CMI) Multilateralisation) ระหว่างอาเซียนกับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของประเทศในกลุ่ม ASEAN+3 อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.) ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอโครงการประเมินความพร้อมของระบบการเงินของประเทศในอาเซียนในมิติต่างๆเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและกำหนดขั้นตอนที่เหมาะสมสำหรับประเทศต่างๆ เพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ.2015) นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับข้อเสนอของนายศุภรัตน์ ควัตน์กุล ว่า การศึกษาการประเมินความพร้อมของประเทศต่างๆ นั้น ต้องพิจารณาถึงกรณีที่จะดำเนินการหรือร่วมมือระหว่างกันในกรณีที่จะต้องแก้ปัญหาวิกฤตให้เป็นผล มิได้ดูเฉพาะการก้าวไปข้างหน้าอย่างเดียว ซึ่งประเด็นนี้ก็กำลังเป็นปัญหาความยากลำบากในการหาความร่วมมือกันในประชาคมยุโรป เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการเงินที่ลุกลามเข้าสู่ยุโรปในขณะนี้