โรงเรียนสอนพิเศษฝ่าพิษการเมืองเศรษฐกิจ ปีนี้ยังเติบโตกว่า 20% เหตุพ่อแม่ให้ความสำคัญกับการศึกษาของลูก “คุมอง” ยิ้ม 9 เดือนยอดนักเรียนทะลุเป้า 90,000 คน ตามแผนโต 30% ตามแผนที่วางไว้ ลั่นกลองรบเดินหน้าขยายแฟรนไชส์แบบมั่นคง มุ่งต่างจังหวัด เป็นหลัก
นายพัธนะชัย กมลเนตร ผู้บริหารฝ่ายบริหารและการวางแผน สถาบันคุมอง เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดการศึกษา หรือโรงเรียนกวดวิชาปีนี้มองว่ายังมีอัตราการเติบโต 15-20% เท่ากับปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่า สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจไม่มีผลกระทบกับตลาดดังกล่าว เนื่องจากผู้ปกครองยังให้ความสำคัญกับการศึกษาของบุตรหลาน ส่งผลให้มีการแข่งขันสูงขึ้นในตลาด เพราะมีผู้เล่นรายใหม่ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศเข้ามาเปิดให้บริการมากขึ้น
ในส่วนของคุมอง 9 เดือนที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตจากจำนวนนักเรียนทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 30% คิดเป็นจำนวนรวมกว่า 90,000 คน ตามเป้าที่วางไว้แล้ว ส่วนศูนย์แฟรนไชส์คุมองทั่วประเทศขณะนี้มีกว่า 420 สาขา แบ่งออกเป็น กทม.75% และต่างจังหวัด 25% โดยปีนี้มีการเปิดให้บริการสาขาใหม่เพียง 60 สาขา น้อยกว่าปีก่อน เพราะทางบริษัทฯจะมุ่งเน้นคุณภาพผู้ซื้อแฟรนไชส์มากยิ่งขึ้น
“การขยายสาขาในปีหน้า ทางบริษัทมีแผนที่จะเปิดลดน้อยลงจากปีนี้ด้วย เพราะต้องการเน้นเรื่องของคุณภาพมากกว่า ขณะที่การขยายสาขาหลังจากนี้ จะมุ่งไปยังตลาดต่างจังหวัดมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากกทม.ค่อนข้างหาพื้นที่เปิดได้ยากขึ้น ขณะที่ต่างจังหวัดยังเป็นตลาดที่สามารถเติบโตได้อีกมาก ในหลายๆ จังหวัดยังไม่มีคุมองเข้าไปเปิดให้บริการ อีกครั้งการแข่งขันของโรงเรียนกวดวิชายังมีน้อย ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องของการเรียนพิเศษแก่บุตรหลานมากขึ้นด้วย”
จากผลสำรวจพบว่า ต่างจังหวัดยังไม่ค่อยมีโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงเข้าไปทำตลาดมากนัก ขณะที่คุมองเริ่มเข้าไปเปิดให้บริการ ในช่วง 2-3 เดือนแรก เฉลี่ยมีจำนวนนักเรียนมาสมัครเรียนไม่ต่ำกว่า 50 คน ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจมาก
ปัจจุบันค่าแฟรนไชส์ซีคุมอง อยู่ที่ 24,000 บาท แต่เมื่อรวมการลงทุนทั้งหมดต่อสาขาแล้ว จะต้องใช้งบประมาณราว 7 แสนบาท ที่ผ่านมาต่อปีมีการปิดตัวลงเพียง 1% โดยมาจากหลายๆสาเหตุ ขณะที่จำนวนนักเรียนกว่า 90,000 รายนี้ กว่า 35% จะเป็นระดับอนุบาลจนถึงป.2, อีก45% เป็นระดับ ป.3-6 และอีก 20% เป็นกลุ่มมัธยมไปจนถึงมหาวิทยาลัย โดยมีค่าเล่าเรียนต่อเดือนเริ่มต้นที่ 1,284 บาท ต่อเดือนต่อหลักสูตร ซึ่งคุมองได้เปิดสอนอยู่ทั้งหมด 4 หลักสูตร คือ คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ EFL, ภาษาอังกฤษ EE และภาษาไทย
นายพัธนะชัย กล่าวว่า หลังจากนี้ ทางคุมองจะมีกลยุทธ์ทางตลาด ในลักษณะกลับมาให้ความสำคัญกับพื้นฐานการสอนแบบคุมองในสมัยเริ่มต้น และมุ่งให้ความสำคัญใน 4 ด้านหลักๆ คือ 1.เน้นคุณภาพของศูนย์คุมอง 2.มุ่งพัฒนาหลักสูตร 3.พัฒนาชุมชน และ 4.พัฒนาคุณภาพพนักพนักงาน
อย่างไรก็ตาม ปีนี้บริษัทใช้งบการตลาดกว่า 20 ล้านบาท สำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ จะมีการจัดแคมเปญ กิจกรรมทดลองเรียนฟรีวิชาคณิตศาสตร์ขึ้น ระหว่างวันที่ 17-31 ต.ค.นี้ สำหรับเด็กทั่วประเทศ ให้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสกับระบบคุมอง โดยจะมีการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อให้รับทราบต่อไป
นายพัธนะชัย กมลเนตร ผู้บริหารฝ่ายบริหารและการวางแผน สถาบันคุมอง เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดการศึกษา หรือโรงเรียนกวดวิชาปีนี้มองว่ายังมีอัตราการเติบโต 15-20% เท่ากับปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่า สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจไม่มีผลกระทบกับตลาดดังกล่าว เนื่องจากผู้ปกครองยังให้ความสำคัญกับการศึกษาของบุตรหลาน ส่งผลให้มีการแข่งขันสูงขึ้นในตลาด เพราะมีผู้เล่นรายใหม่ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศเข้ามาเปิดให้บริการมากขึ้น
ในส่วนของคุมอง 9 เดือนที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตจากจำนวนนักเรียนทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 30% คิดเป็นจำนวนรวมกว่า 90,000 คน ตามเป้าที่วางไว้แล้ว ส่วนศูนย์แฟรนไชส์คุมองทั่วประเทศขณะนี้มีกว่า 420 สาขา แบ่งออกเป็น กทม.75% และต่างจังหวัด 25% โดยปีนี้มีการเปิดให้บริการสาขาใหม่เพียง 60 สาขา น้อยกว่าปีก่อน เพราะทางบริษัทฯจะมุ่งเน้นคุณภาพผู้ซื้อแฟรนไชส์มากยิ่งขึ้น
“การขยายสาขาในปีหน้า ทางบริษัทมีแผนที่จะเปิดลดน้อยลงจากปีนี้ด้วย เพราะต้องการเน้นเรื่องของคุณภาพมากกว่า ขณะที่การขยายสาขาหลังจากนี้ จะมุ่งไปยังตลาดต่างจังหวัดมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากกทม.ค่อนข้างหาพื้นที่เปิดได้ยากขึ้น ขณะที่ต่างจังหวัดยังเป็นตลาดที่สามารถเติบโตได้อีกมาก ในหลายๆ จังหวัดยังไม่มีคุมองเข้าไปเปิดให้บริการ อีกครั้งการแข่งขันของโรงเรียนกวดวิชายังมีน้อย ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องของการเรียนพิเศษแก่บุตรหลานมากขึ้นด้วย”
จากผลสำรวจพบว่า ต่างจังหวัดยังไม่ค่อยมีโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงเข้าไปทำตลาดมากนัก ขณะที่คุมองเริ่มเข้าไปเปิดให้บริการ ในช่วง 2-3 เดือนแรก เฉลี่ยมีจำนวนนักเรียนมาสมัครเรียนไม่ต่ำกว่า 50 คน ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจมาก
ปัจจุบันค่าแฟรนไชส์ซีคุมอง อยู่ที่ 24,000 บาท แต่เมื่อรวมการลงทุนทั้งหมดต่อสาขาแล้ว จะต้องใช้งบประมาณราว 7 แสนบาท ที่ผ่านมาต่อปีมีการปิดตัวลงเพียง 1% โดยมาจากหลายๆสาเหตุ ขณะที่จำนวนนักเรียนกว่า 90,000 รายนี้ กว่า 35% จะเป็นระดับอนุบาลจนถึงป.2, อีก45% เป็นระดับ ป.3-6 และอีก 20% เป็นกลุ่มมัธยมไปจนถึงมหาวิทยาลัย โดยมีค่าเล่าเรียนต่อเดือนเริ่มต้นที่ 1,284 บาท ต่อเดือนต่อหลักสูตร ซึ่งคุมองได้เปิดสอนอยู่ทั้งหมด 4 หลักสูตร คือ คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ EFL, ภาษาอังกฤษ EE และภาษาไทย
นายพัธนะชัย กล่าวว่า หลังจากนี้ ทางคุมองจะมีกลยุทธ์ทางตลาด ในลักษณะกลับมาให้ความสำคัญกับพื้นฐานการสอนแบบคุมองในสมัยเริ่มต้น และมุ่งให้ความสำคัญใน 4 ด้านหลักๆ คือ 1.เน้นคุณภาพของศูนย์คุมอง 2.มุ่งพัฒนาหลักสูตร 3.พัฒนาชุมชน และ 4.พัฒนาคุณภาพพนักพนักงาน
อย่างไรก็ตาม ปีนี้บริษัทใช้งบการตลาดกว่า 20 ล้านบาท สำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ จะมีการจัดแคมเปญ กิจกรรมทดลองเรียนฟรีวิชาคณิตศาสตร์ขึ้น ระหว่างวันที่ 17-31 ต.ค.นี้ สำหรับเด็กทั่วประเทศ ให้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสกับระบบคุมอง โดยจะมีการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อให้รับทราบต่อไป