สสปน.ฟาดงบปากมัน 913 ล้านบาท เพิ่มจากที่ขอไป 850 ล้านบาท เตรียมแผนปีหน้า ออกงานเทรดโชว์และโรดโชว์ถี่ยิบ 20 งาน พร้อมจัดเมกะโรดโชว์ และ แฟมทริป หวังดันกรุงเทพฯขึ้นชั้น “บางกอก เอ็กซิบิชัน ซิตี้ ออฟ อาเซียน” ชี้ 3 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญวิกฤตซับไพร์ม ราคาน้ำมัน และ การเมืองในประเทศ เร่งทำตลาดเชิงรุก
นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.เปิดเผยว่า สสปน.ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี 2552 จำนวน 913 ล้านบาท มากกว่าที่ สสปน.ยื่นขอไว้ที่ 850 ล้านบาท หรือมากขึ้น 63 ล้านบาท เพราะจากวิกฤตทางการเมืองที่เกิดขึ้น ทำให้ปี 2552 สสปน.ต้องมีภารกิจเพิ่มขึ้น ทั้งเรื่องการประมูลงานในต่างประเทศและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนสู่ประเทศไทยโดยเร็ว ซึ่งมีความสำคัญมากกับนักท่องเที่ยวกลุ่มจัดประชุม สัมมนาและจัดนิทรรศการ หรือ ไมซ์ (MICE)
แผนงานคือ เพิ่มการออกงานเทรดโชว์และโรดโชว์ในต่างประเทศเป็น 20 งาน ครอบคลุมทั่วโลก จากปีนี้ที่มี 18 งาน และจะใช้งบ 10 ล้านบาท จัดเมกะโรดโชว์ไปยัง 2 ประเทศตลาดเป้าหมาย คือ ญี่ปุ่น จัดเดือน ก.พ.2552 และ สวิตเซอร์แลนด์ จัดเดือน พ.ค.52 โดยจะเชิญผู้นำระดับสูง อาทิ นายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ รวมถึงสมาคมภาคเอกชนในอุตสาหกรรมไมซ์ ร่วมเดินทางด้วย
**จัดแฟมทริปเชิญผู้นำชมประเทศ**
นอกจากนั้น จะจัดแฟมทริป เชิญระดับผู้นำในแต่ละประเทศและผู้บริหารระดับสูง เข้ามาเยี่ยมเยียนประเทศไทย เพื่อดูศักยภาพด้านอุตสาหกรรมไมซ์และชมพื้นที่จริงเพื่อให้เชื่อมั่นถึงเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัย โดยในปี 2552 จะประกาศให้ไทยเป็น บางกอก เอ็กซิบิชัน ซิตี้ ออฟ อาเซียน โดยที่ผ่านมา ในหลายเซ็กเมนต์ เช่น ตลาดเอ็กซิบิชัน ไทยเป็นที่ 1 ในอาเซียน ในด้านจำนวนผู้ร่วมงานและจำนวนงาน มาติดต่อกัน 3 ปีแล้ว แซงหน้าประเทศสิงคโปร์ โดยในอนาคต 2-3 ปี จะเป็นที่หนึ่งครอบคลุมทุกตลาดของไมซ์
นายณัฐวุฒิ ยังกล่าวถึงแผนการใช้เงินงบประมาณอีกว่า จะแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ อันดับแรก 250 ล้าน ลงทุนประมูลงานในต่างประเทศให้เข้ามาจัดที่ประเทศไทย, การออกเดินทางไปร่วมงานเทรดโชว์และโรดโชว์ในต่างประเทศ ตลอดจนใช้เงินเพื่อสนับสนุนงานที่จัดขึ้นในประเทศไทย, อันดับสอง 240 ล้านบาท เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างประเทศ โปรโมตประเทศไทยเป็นบางกอก เอ็กซิบิชัน ซิตี้ ออฟ อาเซียน และเป็นไมซ์ เดสติเนชันที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงการจัดแฟมทริป เชิญสื่อต่างประเทศและลูกค้า ซึ่งในที่นี้ คือ บริษัทผู้จัดงานในต่างประเทศ มาเยี่ยมชมประเทศไทยและกรุงเทพฯ และ อันดับสาม 80 ล้านบาท ใช้ในการพัฒนาบุคคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทย จัดสร้างศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ หรือ วันสตอปเซอร์วิส เพื่อให้บริการลูกค้าในเรื่องของการติดต่อประสานงานกับภาคราชการ
สำหรับปัจจัยลบปีหน้า ยอมรับว่า มีมาก แบ่งเป็น 3 คือ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยต้นทาง หมายถึง กลุ่มลูกค้า ซึ่งตลาดระยะไกล เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งน่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯ ,กลางทาง คือ ค่าน้ำมันที่แพงขึ้น กระทบเรื่องการเดินทาง ขณะเดียวสายการบินก็ปรับลดเที่ยวบิน เพื่อประคองบริษัท และปลายทาง คือประเทศไทย ที่เป็นเดสติเนชันที่จะดึงตลาดไมซ์เข้ามา เรามีความพร้อมด้านความปลอดภัยให้เขาเชื่อถือได้มากแค่ไหน
“การที่ได้งบประมาณเพิ่มเติมเป็น 913 ล้านบาท จะเข้ามาช่วยสนับสนุนงานได้มากขึ้น เพราะยอมรับว่าตั้งแต่เกิดวิกฤตการเมือง รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สสปน.ก็ออกแคมเปญ พลัสโปรแกรมให้ข้อเสนอผู้ที่จะเข้ามาจัดประชุมสัมมนาและเอ็กซิบิชันที่ประเทศไทย รวมถึงผู้ที่จองแล้วและไม่ยกเลิกการเดินทาง สสปน.จะให้การสนับสนุนในหลายรูปแบบ เช่น เพิ่มวันพักให้หลังจากเสร็จงาน เงินสนับสนุนจัดงาน หรือ ดับเบิลอินเซนทีฟ เป็นต้น”
อย่างไรก็ตาม ที่ สสปน.ได้รับจัดสรรงบเพิ่มขึ้น น่าจะมาจากมีตัวเลขแสดงให้เห็นชัดเจนว่าตั้งแต่ปี 2550 ทุก 4.5 บาท จะได้เงินกลับเข้าประเทศ 100 บาท เมื่อมีงบอัดฉีดเพิ่มขึ้น ยิ่งขยายตลาดได้กว้างขึ้น โดยปีนี้ ทุก 4.1 บาท จะสร้างรายได้เข้าประเทศ 100 บาท และปีหน้า คาดว่าจะเป็นทุก 3.8 บาท สร้างรายได้เข้าประเทศได้ 100 บาท โดย สสปน.จะ ทำตลาดเชิงรุก ได้มากและถี่ขึ้น สำหรับปีนี้ยืนยันที่เป้าหมายเดิม คือ 1 ล้านคน สร้างรายได้ 6.5 หมื่นล้านบาท และ ปีหน้าตั้งเป้าเติบโต 20% หรือเป็นจำนวนคน 1.2 ล้านคน รายได้ 7.8 หมื่นล้านบาท ตลาดเป้าหมาย คือ ย่านเอเชีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และ สแกนดิเนเวีย
นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.เปิดเผยว่า สสปน.ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี 2552 จำนวน 913 ล้านบาท มากกว่าที่ สสปน.ยื่นขอไว้ที่ 850 ล้านบาท หรือมากขึ้น 63 ล้านบาท เพราะจากวิกฤตทางการเมืองที่เกิดขึ้น ทำให้ปี 2552 สสปน.ต้องมีภารกิจเพิ่มขึ้น ทั้งเรื่องการประมูลงานในต่างประเทศและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนสู่ประเทศไทยโดยเร็ว ซึ่งมีความสำคัญมากกับนักท่องเที่ยวกลุ่มจัดประชุม สัมมนาและจัดนิทรรศการ หรือ ไมซ์ (MICE)
แผนงานคือ เพิ่มการออกงานเทรดโชว์และโรดโชว์ในต่างประเทศเป็น 20 งาน ครอบคลุมทั่วโลก จากปีนี้ที่มี 18 งาน และจะใช้งบ 10 ล้านบาท จัดเมกะโรดโชว์ไปยัง 2 ประเทศตลาดเป้าหมาย คือ ญี่ปุ่น จัดเดือน ก.พ.2552 และ สวิตเซอร์แลนด์ จัดเดือน พ.ค.52 โดยจะเชิญผู้นำระดับสูง อาทิ นายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ รวมถึงสมาคมภาคเอกชนในอุตสาหกรรมไมซ์ ร่วมเดินทางด้วย
**จัดแฟมทริปเชิญผู้นำชมประเทศ**
นอกจากนั้น จะจัดแฟมทริป เชิญระดับผู้นำในแต่ละประเทศและผู้บริหารระดับสูง เข้ามาเยี่ยมเยียนประเทศไทย เพื่อดูศักยภาพด้านอุตสาหกรรมไมซ์และชมพื้นที่จริงเพื่อให้เชื่อมั่นถึงเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัย โดยในปี 2552 จะประกาศให้ไทยเป็น บางกอก เอ็กซิบิชัน ซิตี้ ออฟ อาเซียน โดยที่ผ่านมา ในหลายเซ็กเมนต์ เช่น ตลาดเอ็กซิบิชัน ไทยเป็นที่ 1 ในอาเซียน ในด้านจำนวนผู้ร่วมงานและจำนวนงาน มาติดต่อกัน 3 ปีแล้ว แซงหน้าประเทศสิงคโปร์ โดยในอนาคต 2-3 ปี จะเป็นที่หนึ่งครอบคลุมทุกตลาดของไมซ์
นายณัฐวุฒิ ยังกล่าวถึงแผนการใช้เงินงบประมาณอีกว่า จะแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ อันดับแรก 250 ล้าน ลงทุนประมูลงานในต่างประเทศให้เข้ามาจัดที่ประเทศไทย, การออกเดินทางไปร่วมงานเทรดโชว์และโรดโชว์ในต่างประเทศ ตลอดจนใช้เงินเพื่อสนับสนุนงานที่จัดขึ้นในประเทศไทย, อันดับสอง 240 ล้านบาท เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างประเทศ โปรโมตประเทศไทยเป็นบางกอก เอ็กซิบิชัน ซิตี้ ออฟ อาเซียน และเป็นไมซ์ เดสติเนชันที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงการจัดแฟมทริป เชิญสื่อต่างประเทศและลูกค้า ซึ่งในที่นี้ คือ บริษัทผู้จัดงานในต่างประเทศ มาเยี่ยมชมประเทศไทยและกรุงเทพฯ และ อันดับสาม 80 ล้านบาท ใช้ในการพัฒนาบุคคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทย จัดสร้างศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ หรือ วันสตอปเซอร์วิส เพื่อให้บริการลูกค้าในเรื่องของการติดต่อประสานงานกับภาคราชการ
สำหรับปัจจัยลบปีหน้า ยอมรับว่า มีมาก แบ่งเป็น 3 คือ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยต้นทาง หมายถึง กลุ่มลูกค้า ซึ่งตลาดระยะไกล เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งน่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯ ,กลางทาง คือ ค่าน้ำมันที่แพงขึ้น กระทบเรื่องการเดินทาง ขณะเดียวสายการบินก็ปรับลดเที่ยวบิน เพื่อประคองบริษัท และปลายทาง คือประเทศไทย ที่เป็นเดสติเนชันที่จะดึงตลาดไมซ์เข้ามา เรามีความพร้อมด้านความปลอดภัยให้เขาเชื่อถือได้มากแค่ไหน
“การที่ได้งบประมาณเพิ่มเติมเป็น 913 ล้านบาท จะเข้ามาช่วยสนับสนุนงานได้มากขึ้น เพราะยอมรับว่าตั้งแต่เกิดวิกฤตการเมือง รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สสปน.ก็ออกแคมเปญ พลัสโปรแกรมให้ข้อเสนอผู้ที่จะเข้ามาจัดประชุมสัมมนาและเอ็กซิบิชันที่ประเทศไทย รวมถึงผู้ที่จองแล้วและไม่ยกเลิกการเดินทาง สสปน.จะให้การสนับสนุนในหลายรูปแบบ เช่น เพิ่มวันพักให้หลังจากเสร็จงาน เงินสนับสนุนจัดงาน หรือ ดับเบิลอินเซนทีฟ เป็นต้น”
อย่างไรก็ตาม ที่ สสปน.ได้รับจัดสรรงบเพิ่มขึ้น น่าจะมาจากมีตัวเลขแสดงให้เห็นชัดเจนว่าตั้งแต่ปี 2550 ทุก 4.5 บาท จะได้เงินกลับเข้าประเทศ 100 บาท เมื่อมีงบอัดฉีดเพิ่มขึ้น ยิ่งขยายตลาดได้กว้างขึ้น โดยปีนี้ ทุก 4.1 บาท จะสร้างรายได้เข้าประเทศ 100 บาท และปีหน้า คาดว่าจะเป็นทุก 3.8 บาท สร้างรายได้เข้าประเทศได้ 100 บาท โดย สสปน.จะ ทำตลาดเชิงรุก ได้มากและถี่ขึ้น สำหรับปีนี้ยืนยันที่เป้าหมายเดิม คือ 1 ล้านคน สร้างรายได้ 6.5 หมื่นล้านบาท และ ปีหน้าตั้งเป้าเติบโต 20% หรือเป็นจำนวนคน 1.2 ล้านคน รายได้ 7.8 หมื่นล้านบาท ตลาดเป้าหมาย คือ ย่านเอเชีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และ สแกนดิเนเวีย