ซีพีเอฟเตรียมนำโรงงานต้นแบบแปรรูปเนื้อหมูที่ฉะเชิงเทราไปสร้างที่รัสเซีย และจีน เผยจับมือกทม.ผลิตสินค้าร่วมกันเพื่อให้โรงเรียนสังกัดกทม.ได้ซื้อเนื้อหมูคุณภาพดีใช้ทำเป็นอาหารกลางให้เด็กนักเรียน
นายนารายณ์ ฉิมมิ รองกรรมการผู้จัดการ ด้านธุรกิจโรงงานแปรรูปสุกร บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ ) เปิดเผยว่า วิสัยทัศน์ของซีพีเอฟที่ต้องการมุ่งสู่การเป็นครัวของโลก จึงได้มีการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์สุกรมากว่า 30ปี ตลอดจนมีการเลี้ยงในระบบโรงเรือนปิดปรับอากาศด้วยระบบระเหยน้ำ และมีโรงงานแปรรูปเนื้อหมูที่แปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา ที่มีการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีด้วยบริษัทเอง ซึ่งถือเป็นโรงงานต้นแบบที่มีกำลังการผลิต 1,600-1,800 ตัว/วัน
โดยโรงงานต้นแบบนี้จะนำมาใช้สร้างโรงงานแปรรูปเนื้อหมูในต่างประเทศทั้งที่จีนและรัสเซีย เนื่องจากทั้งสองประเทศนิยมบริโภคเนื้อหมูมาก ล่าสุด ทางซีพีเอฟอยู่ระหว่างการสร้างโรงงานอาหารสัตว์บกและฟาร์มเลี้ยงหมูคาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปีหน้า ขณะที่จีนก็มีการสร้างฟาร์มเลี้ยงหมูหลายแห่ง
“คนรุ่นใหม่นับวันจะมีความกังวลเกี่ยวกันสารปนเปื้อน ซึ่งการแปรรูปเนื้อหมูซีพีด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย สามารถตรวจย้อนกลับไปถึงการเลี้ยง การชำแหละที่ได้มาตรฐาน โดยเนื้อหมูไม่มีการสัมผัสพื้นหรือมือคนโดยตรงตลอดกระบวนการ ก่อนบรรจุสำเร็จในโรงงานภายใต้แบรนด์ซีพี ”
ปัจจุบันโรงงานแปรรูปเนื้อนี้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 1,450 ตัว/วัน คาดว่าจะผลิตเต็มที่ในปี 2553 โดยบริษัทฯผลิตแล้วป้อนให้บริษัทในเครือซีพีเอฟเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ คิดเป็น 50%ของกำลังการผลิต ส่งออกไปฮ่องกง 15% และที่เหลือจำหน่ายในประเทศผ่าน 3 ช่องทาง คือ ตลาดโมเดิร์นเทรด คิดเป็น 50% ฟู้ด เซอร์วิส 25% อาทิ ร้านเอ็มเค สุกี้ โออิชิ เป็นต้น และตลาดสด 25% ซึ่งในอนาคต บริษัทจะเพิ่มสัดส่วนการขายผ่านช่องทางตลาดโมเดิร์น เทรดและฟู้ด เซอร์วิสมากขึ้น เพื่อลดช่องทางตลาดสดเพราะไม่มีแบรนด์ซีพีและมาร์จินต่ำ
ปัจจุบันไทยยังไม่สามารถส่งออกเนื้อหมูสดไปยังต่างประเทศได้ เนื่องจากติดปัญหาโรคปากเท้าเปื่อย เว้นฮ่องกง ที่บริษัทฯส่งออกเนื้อหมูแช่งแข็งเพื่อจำหน่ายและแปรรูปเป็นไส้กรอกภายใต้แบรนด์ซีพี
นายนารายณ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้บริษัทฯได้มีการเจรจากับกรุงเทพมหานคร(กทม.)เพื่อทำแบรนด์สินค้าร่วมกัน (Co-Brand) เพิ่มช่องทางในการนำผลิตภัณฑ์แปรรูปสุกรที่ถูกสุขอนามัยขายผ่านโรงเรียนในกทม. 400 แห่งภายใต้โครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โดยคาดว่าจะเริ่มเจาะตลาดนี้ได้ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ เบื้องต้นจะขายให้โรงเรียนสังกัดกทม.จำนวน 100 โรงเรียน คิดเป็นปริมาณเนื้อสุกร 5,000 กก./วัน หรือเดือนละประมาณ 10 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื้อสุกรแปรรูปภายใต้แบรนด์สินค้าร่วมกันนี้จะมีราคาต่ำกว่าราคาเนื้อสุกรแปรรูปภายใต้แบรนด์CP ประมาณ 5% ซึ่งเป็นผลจากการลดต้นทุนด้านบรรจุภัณฑ์ ทำให้เด็กนักเรียนได้ทานเนื้อหมูที่สะอาด และได้คุณภาพ
นายนารายณ์ กล่าวต่อไปว่า จากปัญหาการเมืองและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในไทย ส่งผลกระทบต่อการบริโภคเนื้อหมูลดลงพอสมควร ส่งผลให้โรงงานแปรรูปเนื้อหมูแห่งนี้ไม่สามารถเดินเครื่องได้เต็มกำลังการผลิต ซึ่งปัจจุบันผลิตอยู่ที่ 1,450 ตัว/วัน แต่คาดว่าปี 2553 จะผลิตเต็มที่ 1,800 ตัว/วัน ขณะที่รายได้ปีนี้ประมาณ 3 พันล้านบาท แต่ยังขาดทุนอยู่ และคาดว่าจะคุ้มทุนในปี 2553
ล่าสุดราคาหมูเป็นลดลงอยู่ที่กก.ละ 53 บาท เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมทำให้มีการนำหมูที่ไม่ได้ขนาดในฟาร์มที่น้ำท่วมมาจำหน่ายและใกล้ช่วงเทศกาลกินเจด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะราคาหมูเป็นจะปรับขึ้น หลังพ้นช่วงเทศกาลกินเจ
นายนารายณ์ ฉิมมิ รองกรรมการผู้จัดการ ด้านธุรกิจโรงงานแปรรูปสุกร บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ ) เปิดเผยว่า วิสัยทัศน์ของซีพีเอฟที่ต้องการมุ่งสู่การเป็นครัวของโลก จึงได้มีการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์สุกรมากว่า 30ปี ตลอดจนมีการเลี้ยงในระบบโรงเรือนปิดปรับอากาศด้วยระบบระเหยน้ำ และมีโรงงานแปรรูปเนื้อหมูที่แปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา ที่มีการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีด้วยบริษัทเอง ซึ่งถือเป็นโรงงานต้นแบบที่มีกำลังการผลิต 1,600-1,800 ตัว/วัน
โดยโรงงานต้นแบบนี้จะนำมาใช้สร้างโรงงานแปรรูปเนื้อหมูในต่างประเทศทั้งที่จีนและรัสเซีย เนื่องจากทั้งสองประเทศนิยมบริโภคเนื้อหมูมาก ล่าสุด ทางซีพีเอฟอยู่ระหว่างการสร้างโรงงานอาหารสัตว์บกและฟาร์มเลี้ยงหมูคาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปีหน้า ขณะที่จีนก็มีการสร้างฟาร์มเลี้ยงหมูหลายแห่ง
“คนรุ่นใหม่นับวันจะมีความกังวลเกี่ยวกันสารปนเปื้อน ซึ่งการแปรรูปเนื้อหมูซีพีด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย สามารถตรวจย้อนกลับไปถึงการเลี้ยง การชำแหละที่ได้มาตรฐาน โดยเนื้อหมูไม่มีการสัมผัสพื้นหรือมือคนโดยตรงตลอดกระบวนการ ก่อนบรรจุสำเร็จในโรงงานภายใต้แบรนด์ซีพี ”
ปัจจุบันโรงงานแปรรูปเนื้อนี้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 1,450 ตัว/วัน คาดว่าจะผลิตเต็มที่ในปี 2553 โดยบริษัทฯผลิตแล้วป้อนให้บริษัทในเครือซีพีเอฟเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ คิดเป็น 50%ของกำลังการผลิต ส่งออกไปฮ่องกง 15% และที่เหลือจำหน่ายในประเทศผ่าน 3 ช่องทาง คือ ตลาดโมเดิร์นเทรด คิดเป็น 50% ฟู้ด เซอร์วิส 25% อาทิ ร้านเอ็มเค สุกี้ โออิชิ เป็นต้น และตลาดสด 25% ซึ่งในอนาคต บริษัทจะเพิ่มสัดส่วนการขายผ่านช่องทางตลาดโมเดิร์น เทรดและฟู้ด เซอร์วิสมากขึ้น เพื่อลดช่องทางตลาดสดเพราะไม่มีแบรนด์ซีพีและมาร์จินต่ำ
ปัจจุบันไทยยังไม่สามารถส่งออกเนื้อหมูสดไปยังต่างประเทศได้ เนื่องจากติดปัญหาโรคปากเท้าเปื่อย เว้นฮ่องกง ที่บริษัทฯส่งออกเนื้อหมูแช่งแข็งเพื่อจำหน่ายและแปรรูปเป็นไส้กรอกภายใต้แบรนด์ซีพี
นายนารายณ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้บริษัทฯได้มีการเจรจากับกรุงเทพมหานคร(กทม.)เพื่อทำแบรนด์สินค้าร่วมกัน (Co-Brand) เพิ่มช่องทางในการนำผลิตภัณฑ์แปรรูปสุกรที่ถูกสุขอนามัยขายผ่านโรงเรียนในกทม. 400 แห่งภายใต้โครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โดยคาดว่าจะเริ่มเจาะตลาดนี้ได้ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ เบื้องต้นจะขายให้โรงเรียนสังกัดกทม.จำนวน 100 โรงเรียน คิดเป็นปริมาณเนื้อสุกร 5,000 กก./วัน หรือเดือนละประมาณ 10 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื้อสุกรแปรรูปภายใต้แบรนด์สินค้าร่วมกันนี้จะมีราคาต่ำกว่าราคาเนื้อสุกรแปรรูปภายใต้แบรนด์CP ประมาณ 5% ซึ่งเป็นผลจากการลดต้นทุนด้านบรรจุภัณฑ์ ทำให้เด็กนักเรียนได้ทานเนื้อหมูที่สะอาด และได้คุณภาพ
นายนารายณ์ กล่าวต่อไปว่า จากปัญหาการเมืองและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในไทย ส่งผลกระทบต่อการบริโภคเนื้อหมูลดลงพอสมควร ส่งผลให้โรงงานแปรรูปเนื้อหมูแห่งนี้ไม่สามารถเดินเครื่องได้เต็มกำลังการผลิต ซึ่งปัจจุบันผลิตอยู่ที่ 1,450 ตัว/วัน แต่คาดว่าปี 2553 จะผลิตเต็มที่ 1,800 ตัว/วัน ขณะที่รายได้ปีนี้ประมาณ 3 พันล้านบาท แต่ยังขาดทุนอยู่ และคาดว่าจะคุ้มทุนในปี 2553
ล่าสุดราคาหมูเป็นลดลงอยู่ที่กก.ละ 53 บาท เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมทำให้มีการนำหมูที่ไม่ได้ขนาดในฟาร์มที่น้ำท่วมมาจำหน่ายและใกล้ช่วงเทศกาลกินเจด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะราคาหมูเป็นจะปรับขึ้น หลังพ้นช่วงเทศกาลกินเจ