ธอส.เชื่อทรัพย์สิน เลห์แมน กว่าจะนำออกขายทอดตลาดได้อีกนาน แนะรอราคานิ่งค่อยซื้อ ฝากความหวังรัฐบาลใหม่เรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ พร้อมรอขุนคลังเซ็นอนุมัติดำเนินธุรกิจประกันสินเชื่อ หวั่นวิกฤตการเงินฉุดแผนซิเคียวรีไทเซชันเกิดยาก
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวถึงผลกระทบกับภาคอสังหาริมทรัพย์หลังจาก เลห์แมน บราเธอร์ส เข้าสูกระบวนการล้มละลายว่า การลงทุนของเลห์แมนในเมืองไทยสวนใหญ่เป็นออฟฟิศ สำนักงาน ให้เช่า และได้ขายสินทรัพย์บางส่วนออกไปแล้วเมื่อ 6 เดือนก่อนหน้านี้ และกระบวนการฟื้นฟูจะต้องมีการพิทักษ์ทรัพย์จึงจะสามารถขายสินทรัพย์ เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้ จึงไม่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ และหากทาง เลห์แมน มีการขายสินทรัพย์ออกมาเชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการไทยเป็นอย่างดี
“อย่างไรก็ตาม เลห์แมน ได้ขายหุ้นอสังหาริมทรัพย์ในไทยไปแล้วเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น กำลังดูว่า ในกลุ่มเลห์แมนยังมีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไทยมากน้อยแค่ไหน ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลจะจัดตั้งกองทุนจำนวน 10,000 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์ของเลห์แมน ที่คาดว่า จะขายออกมาในราคาถูกนั้น เชื่อว่า กว่าจะเข้าสู่กระบวนการขายจะต้องใช้เวลานานพอสมควร และนักลงทุนควรรอให้ราคานิ่งกว่านี้แล้วค่อยซื้อ เพื่อป้องกันความเสี่ยง”
สำหรับการประชุมของนายกรัฐมนตรีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินผลกระทบจากปัญหาเลห์แมน ว่า จะกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือสถาบันการเงินหรือไม่ มากน้อยขนาดไหน นายขรรค์ กล่าวว่า ผลกระทบจากสถาบันการเงินในไทยคงจะมีสัดส่วนน้อยมาก เนื่องจากเลห์แมนจะเน้นทำธุรกิจในสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จึงเชื่อว่าสถาบันการเงินไทยคงได้รับผลกระทบไม่มากนัก
ส่วนกระแสข่าวที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ โดยส่วนตัวต้องการให้ทีมเศรษฐกิจเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ รีบเรียกความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนกลับมาภายหลังจากที่ไทยมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ยอมรับช่วงนี้เป็นสุญญากาศ เพราะกว่าที่คณะรัฐมนตรีชุดนี้จะเริ่มทำงานได้คาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 วัน
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า หลังจากเลห์แมนประสบปัญหาทางการเงิน ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง จะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากต้องไประดมทุนผ่านช่องทางอื่น เช่น การกู้ธนาคารโดยตรง ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่า นอกจากนี้ ในรายที่ออกหุ้นกู้ให้เลห์แมนยังได้รับผลกระทบจากต้นทุนทางการเงินที่ต้องมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดอีกด้วย
ทั้งนี้ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่ เลห์แมน ลงทุนในเมืองไทยนั้น เป็นอาคารสำนักงานให้เช่า โรงแรม และไม่ได้ทุ่มลงทุนมากเหมือนตลาดอื่น หากมีขายทรัพย์สินออกมาเชื่อว่า จะไม่กระทบกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย เพราะราคาจะไม่ปรับลดลงมาก และหากหากมีการเสนอขายชื่อว่า จะมีผู้ประกอบการไทย ระดับเจ้าสัวบางรายที่พร้อมจะซื้อเนื่องจากทรัพย์สินที่ลงทุนนั้นมีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนมือได้ง่าย
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ (บสก.) กล่าวว่า หากเลห์แมนต้องขายสินทรัพย์ออกมาเพื่อนำเงินไปใช้หนี้จะไม่กระทบกับ บสก.เนื่องจากเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนประเภท อาคารสำนักงาน ต่างจากสินทรัพย์ของ บสก.ซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ประเภทเอ็นพีเอ และกฎหมายของ บสก.สามารถซื้อเอ็นพีเอได้เฉพาะในส่วนของสถาบันการเงินเท่านั้นไม่สามารถซื้อสินทรัพย์ของ เลห์แมน ได้
**หวั่นตั้งมอร์เกจอินชัวรันช์ล่าช้า
สำหรับการจัดตั้งบริษัทประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ มอร์เกจอินชัวรันช์ เชื่อว่า สถานการณ์ในปัจจุบันจะทำให้การดำเนินการล่าช้าออกไปจาก 2 กรณี คือ 1.ขั้นตอนการออกกฎกระทรวงเพื่อให้ ธอส.สามารถดำเนินธุรกิจดังกล่าวได้แม้ว่าจะผ่านกฤษฎีกา แต่ต้องนำกลับมาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เซ็นยินยอมอีกครั้ง ขณะนี้เรื่องอยู่ที่กระทรวงการคลัง แต่ต้องรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนใหม่เซ็นอนุมัติ นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ธุรกิจประกันของสหรัฐอเมริกา ประสบปัญหาด้านการเงินจากวิกฤตซัปไพรม์ อาจกระทบต่อความเชื่อมั่น ของบริษัทประกันในการรับประกันสินเชื่อต่อ ทำให้บริษัทประกันชะลอการลงทุนออกไปได้
อย่างไรก็ตาม หลังจากเลห์แมนเข้าสู่กระบวนการล้มละลายจะส่งผลให้ตลาดเงินปิดตัว ซึ่งจะกระทบกับแผนการระดมทุนด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซิเคียวริไทเซชัน) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ของธนาคารต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า ผลกระทบเกิดขึ้นจะทำให้สถาบันการเงินส่วนใหญ่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้การขยายตัวของธุรกิจทำได้ยากขึ้นด้วย
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวถึงผลกระทบกับภาคอสังหาริมทรัพย์หลังจาก เลห์แมน บราเธอร์ส เข้าสูกระบวนการล้มละลายว่า การลงทุนของเลห์แมนในเมืองไทยสวนใหญ่เป็นออฟฟิศ สำนักงาน ให้เช่า และได้ขายสินทรัพย์บางส่วนออกไปแล้วเมื่อ 6 เดือนก่อนหน้านี้ และกระบวนการฟื้นฟูจะต้องมีการพิทักษ์ทรัพย์จึงจะสามารถขายสินทรัพย์ เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้ จึงไม่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ และหากทาง เลห์แมน มีการขายสินทรัพย์ออกมาเชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการไทยเป็นอย่างดี
“อย่างไรก็ตาม เลห์แมน ได้ขายหุ้นอสังหาริมทรัพย์ในไทยไปแล้วเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น กำลังดูว่า ในกลุ่มเลห์แมนยังมีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไทยมากน้อยแค่ไหน ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลจะจัดตั้งกองทุนจำนวน 10,000 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์ของเลห์แมน ที่คาดว่า จะขายออกมาในราคาถูกนั้น เชื่อว่า กว่าจะเข้าสู่กระบวนการขายจะต้องใช้เวลานานพอสมควร และนักลงทุนควรรอให้ราคานิ่งกว่านี้แล้วค่อยซื้อ เพื่อป้องกันความเสี่ยง”
สำหรับการประชุมของนายกรัฐมนตรีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินผลกระทบจากปัญหาเลห์แมน ว่า จะกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือสถาบันการเงินหรือไม่ มากน้อยขนาดไหน นายขรรค์ กล่าวว่า ผลกระทบจากสถาบันการเงินในไทยคงจะมีสัดส่วนน้อยมาก เนื่องจากเลห์แมนจะเน้นทำธุรกิจในสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จึงเชื่อว่าสถาบันการเงินไทยคงได้รับผลกระทบไม่มากนัก
ส่วนกระแสข่าวที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ โดยส่วนตัวต้องการให้ทีมเศรษฐกิจเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ รีบเรียกความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนกลับมาภายหลังจากที่ไทยมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ยอมรับช่วงนี้เป็นสุญญากาศ เพราะกว่าที่คณะรัฐมนตรีชุดนี้จะเริ่มทำงานได้คาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 วัน
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า หลังจากเลห์แมนประสบปัญหาทางการเงิน ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง จะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากต้องไประดมทุนผ่านช่องทางอื่น เช่น การกู้ธนาคารโดยตรง ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่า นอกจากนี้ ในรายที่ออกหุ้นกู้ให้เลห์แมนยังได้รับผลกระทบจากต้นทุนทางการเงินที่ต้องมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดอีกด้วย
ทั้งนี้ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่ เลห์แมน ลงทุนในเมืองไทยนั้น เป็นอาคารสำนักงานให้เช่า โรงแรม และไม่ได้ทุ่มลงทุนมากเหมือนตลาดอื่น หากมีขายทรัพย์สินออกมาเชื่อว่า จะไม่กระทบกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย เพราะราคาจะไม่ปรับลดลงมาก และหากหากมีการเสนอขายชื่อว่า จะมีผู้ประกอบการไทย ระดับเจ้าสัวบางรายที่พร้อมจะซื้อเนื่องจากทรัพย์สินที่ลงทุนนั้นมีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนมือได้ง่าย
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ (บสก.) กล่าวว่า หากเลห์แมนต้องขายสินทรัพย์ออกมาเพื่อนำเงินไปใช้หนี้จะไม่กระทบกับ บสก.เนื่องจากเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนประเภท อาคารสำนักงาน ต่างจากสินทรัพย์ของ บสก.ซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ประเภทเอ็นพีเอ และกฎหมายของ บสก.สามารถซื้อเอ็นพีเอได้เฉพาะในส่วนของสถาบันการเงินเท่านั้นไม่สามารถซื้อสินทรัพย์ของ เลห์แมน ได้
**หวั่นตั้งมอร์เกจอินชัวรันช์ล่าช้า
สำหรับการจัดตั้งบริษัทประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ มอร์เกจอินชัวรันช์ เชื่อว่า สถานการณ์ในปัจจุบันจะทำให้การดำเนินการล่าช้าออกไปจาก 2 กรณี คือ 1.ขั้นตอนการออกกฎกระทรวงเพื่อให้ ธอส.สามารถดำเนินธุรกิจดังกล่าวได้แม้ว่าจะผ่านกฤษฎีกา แต่ต้องนำกลับมาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เซ็นยินยอมอีกครั้ง ขณะนี้เรื่องอยู่ที่กระทรวงการคลัง แต่ต้องรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนใหม่เซ็นอนุมัติ นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ธุรกิจประกันของสหรัฐอเมริกา ประสบปัญหาด้านการเงินจากวิกฤตซัปไพรม์ อาจกระทบต่อความเชื่อมั่น ของบริษัทประกันในการรับประกันสินเชื่อต่อ ทำให้บริษัทประกันชะลอการลงทุนออกไปได้
อย่างไรก็ตาม หลังจากเลห์แมนเข้าสู่กระบวนการล้มละลายจะส่งผลให้ตลาดเงินปิดตัว ซึ่งจะกระทบกับแผนการระดมทุนด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซิเคียวริไทเซชัน) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ของธนาคารต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า ผลกระทบเกิดขึ้นจะทำให้สถาบันการเงินส่วนใหญ่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้การขยายตัวของธุรกิจทำได้ยากขึ้นด้วย