หอการค้าฯ ชี้ วิกฤต ศก.ในสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย เตือนหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย เตือนผู้ส่งออกเร่งหาตลาดใหม่รองรับ ส่วนข้าวคงไม่กระทบมากนัก
วันนี้ (16 ก.ย.) นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า วิกฤตทางการเงินของสหรัฐฯจะกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้าไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและกลุ่มสินค้าที่ไทยเข้าร่วมกับพันธมิตรกับผู้ส่งออกในกลุ่มเอเชียด้วยกัน
ดังนี้น จึงอยากเตือนผู้ส่งออกของไทยจะต้องปรับตัวเร่งหาตลาดใหม่ๆ เพื่อชดเชยตลาดหลัก และยังคิดว่าวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐฯในครั้งนี้ ในที่สุดเชื่อว่ารัฐบาลกลางของสหรัฐฯจะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ โดยยังไม่รู้ว่าจะมีมาตรการอะไรออกมาบ้าง แต่คิดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่า เนื่องจากสหรัฐฯจะมีการระดมทุนและใช้เงินทุนสูงเพื่อนำเงินเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้อยู่ในสภาพคล่องที่ดีขึ้นได้
ด้าน นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกไทย กล่าวว่า ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯนี้ โดยภาพรวมยังไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไปในตลาดสหรัฐฯมากนัก ซึ่งแต่ละปีไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปตลาดสหรัฐฯปีละประมาณ 3-3.5 แสนตัน หากปัญหาสหรัฐฯลดปริมาณนำเข้าข้าวไทยเพียงร้อยละ 10 ก็ถือว่าไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า การประสบปัญหาวิกฤตการเงินของ บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ในสหรัฐอเมริกา จะมีผลทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรป เข้าสู่ภาวะถดถอยและคงมีผลต่อประเทศไทยในทางอ้อมเท่านั้น เนื่องจากสถาบันการเงินของไทยมีการลงทุนในตราสารซีดีโอ (Collateralised Debt Obligation) น้อยมาก
โดยในระยะสั้นจะผลกระทบโดยตรงต่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ปรับตัวลดลงอยู่ในระดับแนวรับที่ 600 จุด และเงินบาทอ่อนค่าลงแกว่งตัว ในระดับ 35 บาท / 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปในปีนี้ ให้ขยายตัวได้ไม่ถึงร้อยละ 1 และทำให้การส่งออกของไทยในปีหน้า ชะลอตัวลงไปอีกด้วย โดยอยู่ในกรอบร้อยละ 8-10 โดยปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯ ยังคงมีความรุนแรงและการเมืองในประเทศ ไม่มีความมั่นคงจะเป็นตัวฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ให้ขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 5 หรืออยู่ในกรอบร้อยละ 4.5-5 ได้
วันนี้ (16 ก.ย.) นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า วิกฤตทางการเงินของสหรัฐฯจะกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้าไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและกลุ่มสินค้าที่ไทยเข้าร่วมกับพันธมิตรกับผู้ส่งออกในกลุ่มเอเชียด้วยกัน
ดังนี้น จึงอยากเตือนผู้ส่งออกของไทยจะต้องปรับตัวเร่งหาตลาดใหม่ๆ เพื่อชดเชยตลาดหลัก และยังคิดว่าวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐฯในครั้งนี้ ในที่สุดเชื่อว่ารัฐบาลกลางของสหรัฐฯจะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ โดยยังไม่รู้ว่าจะมีมาตรการอะไรออกมาบ้าง แต่คิดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่า เนื่องจากสหรัฐฯจะมีการระดมทุนและใช้เงินทุนสูงเพื่อนำเงินเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้อยู่ในสภาพคล่องที่ดีขึ้นได้
ด้าน นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกไทย กล่าวว่า ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯนี้ โดยภาพรวมยังไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไปในตลาดสหรัฐฯมากนัก ซึ่งแต่ละปีไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปตลาดสหรัฐฯปีละประมาณ 3-3.5 แสนตัน หากปัญหาสหรัฐฯลดปริมาณนำเข้าข้าวไทยเพียงร้อยละ 10 ก็ถือว่าไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า การประสบปัญหาวิกฤตการเงินของ บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ในสหรัฐอเมริกา จะมีผลทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรป เข้าสู่ภาวะถดถอยและคงมีผลต่อประเทศไทยในทางอ้อมเท่านั้น เนื่องจากสถาบันการเงินของไทยมีการลงทุนในตราสารซีดีโอ (Collateralised Debt Obligation) น้อยมาก
โดยในระยะสั้นจะผลกระทบโดยตรงต่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ปรับตัวลดลงอยู่ในระดับแนวรับที่ 600 จุด และเงินบาทอ่อนค่าลงแกว่งตัว ในระดับ 35 บาท / 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปในปีนี้ ให้ขยายตัวได้ไม่ถึงร้อยละ 1 และทำให้การส่งออกของไทยในปีหน้า ชะลอตัวลงไปอีกด้วย โดยอยู่ในกรอบร้อยละ 8-10 โดยปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐฯ ยังคงมีความรุนแรงและการเมืองในประเทศ ไม่มีความมั่นคงจะเป็นตัวฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ให้ขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 5 หรืออยู่ในกรอบร้อยละ 4.5-5 ได้