สัญญาโฆษณา ท่าทางจะยืดเยื้อ “ทรูวิชั่นส์” บ่ายเบี่ยง จะวางหมากต่ออย่างไร ล่าสุด มุ่งขยายช่องที่ผลิตเอง อีก 2 ช่อง ทะลวงกลุ่มรากหญ้า หวังขยายฐานแตะ 2 ล้านครัวเรือนในสิ้นปี ย้ำรายได้ทรูวิชั่นส์มาจากฐานสมาชิก มากกว่าโฆษณา
นายองอาจ ประภากมล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายคอมเมอร์เชียล บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด เปิดเผยว่า สัญญาโฆษณาที่ทางทรูวิชั่นส์ได้ยื่นเสนอกับทาง อสมท ยอมรับว่า ขณะนี้ยังไม่คืบหน้าแต่อย่างไร อาจจะเป็นเพราะติดขัดปัญหาบางเรื่อง ซึ่งตนไม่สามารถชี้แจงได้ เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ในบริษัทเป็นผู้เข้าไปเจรจา อย่างไรก็ตาม หากสัญญายังไม่สรุปออกมา แผนการขายโฆษณาที่ทางทรูวิชั่นส์จะทำต่อไปหลังจากนี้ จะต้องหยุดชะงักไป รอจนกว่าสัญญาจะสรุปออกมาแน่ชัดเสียก่อน แผนเรื่องโฆษณาจึงจะดำเนินต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับทางเอเยนซีในการโฆษณา และช่องใดบ้างที่จะสามารถให้มีการโฆษณาได้
รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า ทาง ทรูวิชั่นส์ ได้ยื่นเรื่องกับทาง อสมท ว่า จะมีช่องรายการที่สามารถโฆษณาได้ทั้งหมด 20 ช่อง แต่จะเป็นช่องใดบ้างนั้น ยังไม่เปิดเผยออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งการโฆษณาของทางทรูวิชั่นส์นั้น มองว่า ส่วนใหญ่จะเป็นช่องที่ผลิตขึ้นเอง โดยเวลานี้มีจำนวนกว่า 20 ช่อง จากทั้งหมด 86 ช่อง ส่วนช่องที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศ มีความเป็นไปได้ที่จะมีการเจรจาไปทางช่องนั้นๆ เกี่ยวกับการโฆษณาในระดับโลคอลต่อไป เช่น เอชบีโอ (เอชบีโอ)
นายองอาจ กล่าวว่า ระบบทีวีแบบตอบรับสมาชิกอย่างทรูวิชั่นส์ รายได้หลักจะมาจากฐานผู้ชมเป็นหลัก ส่วนรายได้จากโฆษณาเป็นเรื่องรอง อย่างในต่างประเทศที่เคเบิลท้องถิ่นโฆษณาได้นั้น สัดส่วนรายได้จากโฆษณาถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้จากฐานผู้ชม ส่วนของทรูวิชั่นส์เองนั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าถ้าโฆษณาได้แล้ว จะมีรายได้จากโฆษณานี้เท่าไร และเทียบกับรายได้จากฐานสมาชิกจะเป็นเท่าไร ต้องขึ้นอยู่กับสัญญาเรื่องโฆษณาที่เสนอกับทาง อสมท ออกมาเสียก่อน
นายอรรถพล ณ บางช้าง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายรายการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทหันมาให้ความสำคัญกับลูกค้าระดับแมสมากขึ้น ปีนี้ทางบริษัทจึงพยายามเพิ่มช่องรายการที่ผลิตเองมากขึ้น เพื่อเจาะฐานผู้ชมระดับแมส ล่าสุด ได้เพิ่ม 2 ช่อง คือ ทรู เอเชี่ยน ซีรีย์ส “True Asian Series” (ช่อง 22 ในระบบดิจิตอล) เป็นช่องรายการเกี่ยวกับซีรีย์ยอดฮิตในเอเชีย และช่อง เฮฮา “HeyHa” (ช่อง 23 ในระบบดิจิตอล) เป็นช่องสำหรับคนอารมณ์ดี ดูแล้วมีสาระ ซึ่งการเปิดช่องใหม่นี้ ใช้งบประมาณต่อช่องที่ 100 ล้านบาท ทั้งในส่วนซื้อคอนเทนต์ และค่าโครงข่ายเรื่องสัญญาความถี่ที่ยิงขึ้นดาวเทียม และระบบเคเบิล
ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า จากตัวเลขฐานสมาชิก 1.2 ล้านคน ในไตรมาส 2 สิ้นปีนี้จะสามารถแตะที่ 2 ล้านครัวเรือนได้ จากกลยุทธ์การเพิ่มช่องรายการที่ผลิตเองสำหรับกลุ่มแมสมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน มองว่า ปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจมีผลต่อการขยายฐานผู้ชมด้วยเช่นกัน
นายองอาจ ประภากมล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายคอมเมอร์เชียล บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด เปิดเผยว่า สัญญาโฆษณาที่ทางทรูวิชั่นส์ได้ยื่นเสนอกับทาง อสมท ยอมรับว่า ขณะนี้ยังไม่คืบหน้าแต่อย่างไร อาจจะเป็นเพราะติดขัดปัญหาบางเรื่อง ซึ่งตนไม่สามารถชี้แจงได้ เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ในบริษัทเป็นผู้เข้าไปเจรจา อย่างไรก็ตาม หากสัญญายังไม่สรุปออกมา แผนการขายโฆษณาที่ทางทรูวิชั่นส์จะทำต่อไปหลังจากนี้ จะต้องหยุดชะงักไป รอจนกว่าสัญญาจะสรุปออกมาแน่ชัดเสียก่อน แผนเรื่องโฆษณาจึงจะดำเนินต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับทางเอเยนซีในการโฆษณา และช่องใดบ้างที่จะสามารถให้มีการโฆษณาได้
รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า ทาง ทรูวิชั่นส์ ได้ยื่นเรื่องกับทาง อสมท ว่า จะมีช่องรายการที่สามารถโฆษณาได้ทั้งหมด 20 ช่อง แต่จะเป็นช่องใดบ้างนั้น ยังไม่เปิดเผยออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งการโฆษณาของทางทรูวิชั่นส์นั้น มองว่า ส่วนใหญ่จะเป็นช่องที่ผลิตขึ้นเอง โดยเวลานี้มีจำนวนกว่า 20 ช่อง จากทั้งหมด 86 ช่อง ส่วนช่องที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศ มีความเป็นไปได้ที่จะมีการเจรจาไปทางช่องนั้นๆ เกี่ยวกับการโฆษณาในระดับโลคอลต่อไป เช่น เอชบีโอ (เอชบีโอ)
นายองอาจ กล่าวว่า ระบบทีวีแบบตอบรับสมาชิกอย่างทรูวิชั่นส์ รายได้หลักจะมาจากฐานผู้ชมเป็นหลัก ส่วนรายได้จากโฆษณาเป็นเรื่องรอง อย่างในต่างประเทศที่เคเบิลท้องถิ่นโฆษณาได้นั้น สัดส่วนรายได้จากโฆษณาถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้จากฐานผู้ชม ส่วนของทรูวิชั่นส์เองนั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าถ้าโฆษณาได้แล้ว จะมีรายได้จากโฆษณานี้เท่าไร และเทียบกับรายได้จากฐานสมาชิกจะเป็นเท่าไร ต้องขึ้นอยู่กับสัญญาเรื่องโฆษณาที่เสนอกับทาง อสมท ออกมาเสียก่อน
นายอรรถพล ณ บางช้าง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายรายการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทหันมาให้ความสำคัญกับลูกค้าระดับแมสมากขึ้น ปีนี้ทางบริษัทจึงพยายามเพิ่มช่องรายการที่ผลิตเองมากขึ้น เพื่อเจาะฐานผู้ชมระดับแมส ล่าสุด ได้เพิ่ม 2 ช่อง คือ ทรู เอเชี่ยน ซีรีย์ส “True Asian Series” (ช่อง 22 ในระบบดิจิตอล) เป็นช่องรายการเกี่ยวกับซีรีย์ยอดฮิตในเอเชีย และช่อง เฮฮา “HeyHa” (ช่อง 23 ในระบบดิจิตอล) เป็นช่องสำหรับคนอารมณ์ดี ดูแล้วมีสาระ ซึ่งการเปิดช่องใหม่นี้ ใช้งบประมาณต่อช่องที่ 100 ล้านบาท ทั้งในส่วนซื้อคอนเทนต์ และค่าโครงข่ายเรื่องสัญญาความถี่ที่ยิงขึ้นดาวเทียม และระบบเคเบิล
ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า จากตัวเลขฐานสมาชิก 1.2 ล้านคน ในไตรมาส 2 สิ้นปีนี้จะสามารถแตะที่ 2 ล้านครัวเรือนได้ จากกลยุทธ์การเพิ่มช่องรายการที่ผลิตเองสำหรับกลุ่มแมสมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน มองว่า ปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจมีผลต่อการขยายฐานผู้ชมด้วยเช่นกัน